Loading

 

มรดกของทารกในครรภ์มารดา

มรดกของทารกในครรภ์มารดา

 

อัล-หัมลฺ  คือ  ทารกในครรภ์มารดา

 

ทารกในครรภ์จะได้รับมรดกเมื่อใด

ทารกในครรภ์จะได้รับมรดกก็ต่อเมื่อทารกถูกคลอดออกมาและมีเสียงร้อง   และเขาได้อยู่ในมดลูกขณะที่เจ้ามรดกได้เสียชีวิตไป  ถึงแม้ว่าทารกจะเป็นเพียงหยดน้ำอสุจิก็ตาม  และสัญญาณคือ  ทารกมีเสียง, จาม หรือร้องไห้  เป็นต้น

จากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า:  ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า:

«مَا مِنْ بَنِي آدَمَ مَوْلُودٌ إِلَّا يَمَسُّهُ الشَّيْطَانُ حِينَ يُولَدُ فَيَسْتَهِلُّ صَارِخًا مِنْ مَسِّ الشَّيْطَانِ غَيْرَ مَرْيَمَ وَابْنِهَا».

ความว่า: “ไม่มีลูกหลานอาดัมคนใดที่ถือกำเนิดออกมา  นอกจากชัยฏอนจะสัมผัสถูกตัวของเขา  และเขาก็จะร้อง  นอกจากมัรยัมและบุตรของนาง” (มุตตะฟะกุลอะลัยฮฺ รายงานโดย อัล-บุคอรีย์ เลขที่ 3441, สำนวนเป็นของท่าน, และมุสลิม  เลขที่ 2366)

 

บุคคลที่เสียชีวิตและได้ทิ้งทารกในครรภ์ไว้นั้น   มีสองกรณี

1.     

ให้รอจนกระทั่งคลอด  และเมื่อทราบว่าทารกเป็นชายหรือหญิง  จึงแบ่งมรดก

 

2.   หรือถ้าหากมีการร้องขอให้แบ่งมรดกก่อนคลอด, เราก็ต้องสมมุติจำนวนมากไว้ก่อนเช่น เป็นชายสองคน หรือหญิงสองคน หากคลอดมาเป็นชายก็จะได้รับสิทธิ์ลูกชาย และผู้รับมรดกคนอื่นก็ได้รับสิทธิ์ของเขา  และทายาทบางคนที่ทารกไม่ได้กั้นสิทธิ์  เขาก็จะได้สิทธิ์ของเขา  เช่น ย่าหรือยาย และทายาทบางคนถูกลดสิทธิ์  ก็ต้องรับน้อยลงไป เช่น ภรรยาและมารดา   และบางคนไม่ได้รับเลย  เช่น พี่น้องผู้ตาย

 

 

...........................................................

 

 

 

แปลโดย : ซอบิร อับดุลกอดิร อูมา

ตรวจทานโดย : ฟัยซอล อับดุลฮาดี

คัดลอกจาก : http://IslamHouse.com/371092

 

 

 

Maintained by: e-Daiyah Group (1429 H - 2008).