Loading

 

จุดยืนของมุสลิมกับ "ภาวะโลกร้อน"

พี่น้องผู้ร่วมศรัทธาทุกท่าน
พวกเราทั้งหลายคงเคยได้ยินและได้ฟังข่าวคราวเกี่ยวกับ "ภาวะโลกร้อน" หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า “global warming” กันมาบ้างแล้ว ซึ่งบางคนก็มองว่าเป็นเรื่องไกลตัวจึงไม่ค่อยให้ความสำคัญเท่าใดนัก ในขณะที่อีกหลายๆคนมองว่าเป็นเรื่องที่จะต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง จะมองข้ามไม่ได้เลย


ปัจจุบันจะเห็นได้ว่า "ภาวะโลกร้อน" กลายเป็นประเด็นสำคัญที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดคุยและนำเสนอในสื่อต่างๆเกือบทุกวันทั้งวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และอินเทอร์เนต อีกทั้งยังได้มีการจัดประชุมสัมมนาในเรื่องดังกล่าวหลายต่อหลายครั้งด้วยกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประชุมครั้งใหญ่ที่สุด ซึ่งจัดขึ้นโดยองค์การสหประชาชาติ ณ เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ระหว่างวันที่ 3-14 ธันวาคม 2550 เมื่อสามเดือนที่แล้ว ซึ่งสำนักข่าวเอเอฟพีและเอพีได้รายงานว่ามีผู้แทนและนักวิทยาศาสตร์จากกว่า 190 ประเทศทั่วโลก บวกกับนักรณรงค์และผู้สื่อข่าว รวมแล้วกว่า 10,000 คนเข้าร่วมประชุมสัมมนาในหัวข้อ ภาวะโลกร้อน ภายใต้กรอบอนุสัญญาแม่บทว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ (UN Framework Convention on Climate Change : UNFCCC) โดยทางสหประชาชาติหวังให้เกิดกระบวนการแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว และสร้างสนธิสัญญาสากลใหม่เพื่อต่อสู้กับภัยสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ อันเป็นผลจากภาวการณ์เปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ให้ได้ภายในปี 2552


การประชุมที่เกาะบาหลีในครั้งนี้ นับเป็นสุดยอดแห่งความร่วมมือในการแก้ปัญหาสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงที่กำลังเข้าขั้นวิกฤติ โดยรายงานฉบับสุดท้ายอันเป็นสรุปของคณะกรรมการรัฐบาลนานาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือ IPCC (Intergovernmental Panel on Climate Change)ได้มีผลสรุปว่าโลกเรามีเทคโนโลยีที่ดีพอที่จะชะลอ สภาวะโลกร้อน และต้องเดินหน้าอย่างเร่งด่วนที่สุด
ท่านผู้มีเกียรติทั้งหลาย


ภาวะโลกร้อนคืออะไร? มีสาเหตุเกิดมาจากอะไร? และมีผลกระทบต่อมนุษย์และสภาพแวดล้อมอย่างไรบ้าง? ล้วนเป็นคำถามที่นักวิทยาศาสตร์ต่างก็พยายามค้นหาคำตอบ และพอจะสรุปได้ว่า ความหมายของ ภาวะโลกร้อน นั้นก็หมายถึงการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกของอากาศที่ระดับใกล้ผิวโลกและน้ำในมหาสมุทรในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา รวมถึงการพยากรณ์หรือการคาดการณ์ในการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิอย่างต่อเนื่อง
หรืออีกความหมายหนึ่งหมายถึง การที่ อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นจากภาวะเรือนกระจก ซึ่งมีต้นเหตุจากการที่มนุษย์ได้เพิ่มปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จาก การเผาไหม้เชื้อเพลิงต่างๆ การขนส่ง และ การผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม นอกจากการที่มนุษย์ตัดและทำลายป่าไม้จำนวนมหาศาลเพื่อสร้างสิ่งอำนวย ความสะดวก ทำให้กลไกในการดึงเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกไป จากระบบบรรยากาศถูกลดทอนประสิทธิ ภาพลง และในที่สุดสิ่งต่างๆที่มนุษย์เราได้กระทำ ต่อโลกได้หวนกลับมาสู่ตัวมนุษย์เองในลักษณะของ ภาวะโลกร้อน


ท่านผู้มีเกียรติทั้งหลาย
สาเหตุที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์เหล่านี้ ซึ่งทางวิทยาศาสตร์ เรียกว่า เป็น “ภาวะโลกร้อน” นั้น ก็มีสาเหตุหลักก็คือ เกิดจากการกระทำของมนุษย์ที่ได้ปล่อยก๊าซพิษต่าง ๆ จากโรงงานอุตสาหกรรม และจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงไม่ว่าจะเป็นถ่านหิน น้ำมันเชื้อเพลิง หรือ ก๊าซธรรมชาติ เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า อันเป็นผลทำให้มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซ อื่น ๆ ที่มีคุณสมบัติดักจับความร้อนออกไปยังบรรยากาศของโลกเป็นจำนวนมาก ก๊าซเหล่านี้จะรวมตัวกันจนกลายเป็นผ้าห่มหนา ๆ ดักจับความร้อนของดวงอาทิตย์ และทำให้โลกมีอุณหภูมิร้อนขึ้น ยิ่งก๊าซเหล่านี้เพิ่มมากขึ้น ความร้อนก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ทำให้แสงอาทิตย์ส่องทะลุผ่านชั้นบรรยากาศมาสู่พื้นโลกได้มากขึ้น ซึ่งเรียกกันว่า สภาวะเรือนกระจก


ท่านผู้มีเกียรติทั้งหลาย
ส่วนผลกระทบของภาวะโลกร้อนต่อมนุษย์และสภาพแวดล้อมนั้น เป็นที่ทราบแล้วว่าภาวะโลกร้อนส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการกระทำของมนุษย์ ซึ่งส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่องให้อุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้นในทุกหนทุกแห่ง ประมาณ 1.4-5.8 องศาเซลเซียส สภาพภูมิอากาศไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปทีละเล็กทีละน้อย หากแต่เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงและบ่อยครั้ง และรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดไ ด้แก่ ความแห้งแล้งอย่างรุนแรง วาตภัย อุทกภัย พายุฝนฟ้าคะนอง แผ่นดินถล่ม แผ่นดินไหวและการเกิดพายุรุนแรงฉับพลัน จากภาวะอันตรายเหล่านี้พบว่า ผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ที่เสี่ยงกับการเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งได้รับผลกระทบมากกว่าพื้นที่ส่วนอื่นๆ ยังไม่ได้รับการเอาใจใส่และช่วยเหลือเท่าที่ควร นอกจากนี้ ยังมีการคาดการณ์ว่าอุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้นเป็นเหตุให้ปริมาณผลผลิตเพื่อการบริโภคโดยรวมลดลง ซึ่งทำให้จำนวนผู้อดอยากหิวโหยเพิ่มขึ้นอีกด้วย


ได้มีการทำวิจัยซึ่งมีเนื้อหา กว่า 1,000 หน้าจากนักวิทยาศาสตร์หลายๆคน ว่าด้วยกรณีภาวะโลกร้อนจะ แตกต่างกันในแต่ละประเทศแต่ละส่วนของโลก ดังนี้

1. ผลกระทบด้านนิเวศวิทยา แถบขั้วโลกได้รับผลกระทบมากสุดและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งภูเขาน้ำแข็งขั้วโลกและบนยอดเขาสูงจะละลายอย่างรวดเร็ว ทำให้ปริมาณ น้ำทะเลทางขั้วโลกเพิ่มสูงขึ้น และไหลลงสู่มหาสมุทรทั่วโลก ทำให้เกิดน้ำท่วมได้ทุกทวีป นอกจากนี้จะพลอยทำให้สัตว์ทางทะเลเสียชีวิตเพราะระบบนิเวศเปลี่ยนแปลงไป พื้นที่ชายฝั่งทะเลได้รับผลกระทบ บางพื้นที่อาจจมหายไปอย่างถาวร และมนุษย์อาจจะเจอคลื่นความร้อนที่มีอำนาจทำลายล้างแรงยิ่งกว่าที่เคยพบมา
ในทวีปยุโรป และยุโรปใต้ภูมิประเทศจะกลายเป็นพื้นที่ลาดเอียงเกิดความแห้งแล้ง ในหลายพื้นที่ปัญหาอุทกภัยจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากธารน้ำแข็งบนบริเวณยอดเขาสูงที่ปกคลุมด้วยหิมะจะละลายจนหมด


ในขณะที่ทวีปเอเชียอุณหภูมิจะสูงขึ้นเกิดฤดูกาลที่แห้งแล้ง มีน้ำท่วม ผลิตผลทางอาหารลดลง ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นสภาวะอากาศ แปรปรวนอาจทำให้เกิดพายุต่าง ๆ มากมายเข้าไปทำลายบ้านเรือนที่อยู่อาศัยของมนุษย์ ซึ่งปัจจุบันก็เห็นผลกระทบได้อย่างชัดเจน
ประเทศไทยเอง ก็ได้มีการจัดตั้งโครงการพลังงานต่างๆมากมาย และการดำเนินงานของโครงการเหล่านี้ ได้ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์อย่างเห็นได้ชัด ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงของฝนที่ไม่ตกตามฤดูกาล และปริมาณน้ำฝนที่ตกในแต่ละช่วงได้เปลี่ยนแปลงไป ระดับน้ำทะเลและอุณหภูมิของน้ำทะเลที่สูงขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่อระบบนิเวศน์ตามแนวชายฝั่ง และการที่อุณหภูมิของน้ำทะเลสูงขึ้น ได้ทำให้น้ำทะเลเปลี่ยนสี และ แนวปะการังได้รับผลกระทบและถูกทำลายด้วยเช่นกัน นอกจากนั้นยังเจอภาวะน้ำท่วม หรือแม้กระทั่งแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นที่ จ.เชียงใหม่และเชียงราย เมื่อไม่นานมานี้


2.ผลกระทบด้านสุขภาพ ภาวะโลกร้อนไม่เพียง ทำให้ระบบนิเวศเปลี่ยนแปลงไป แต่มีสิ่งซ่อนเร้นที่แอบแฝงมาด้วย ปรากฏการณ์นี้จะสร้างสภาวะที่พอเหมาะพอควรให้เชื้อโรคเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว นักนิเวศวิทยาคนหนึ่งแห่งมหาวิทยาลัยคอร์แนลในสหรัฐอเมริกา ระบุว่าโลกร้อนขึ้นจะก่อให้เกิด สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การฟักตัวของเชื้อโรคและศัตรูพืช โรคที่ฟักตัวได้ดีในสภาพร้อนชื้นของโลก จะสามารถเพิ่มขึ้นมากในอีก 20 ปีข้างหน้า ทั้งจะมีการติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นและอาหารเป็นพิษ นักวิทยาศาสตร์ในที่ประชุมองค์การอนามัยโลกได้แถลงว่า ในแต่ละปีประชาชนราว 160,000 คนเสียชีวิตเพราะได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ตั้งแต่โรคมาลาเรีย ไปจนถึงการขาดแคลนสุขอนามัยที่ดี และตัวเลขผู้เสียชีวิตนี้อาจเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าตัวในอีกหลายปีข้างหน้า
แถลงการณ์ของคณะแพทย์ระดับโลกระบุว่า เด็กในประเทศกำลังพัฒนาจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงมากที่สุด เช่นในประเทศแถบแอฟริกา ละตินอเมริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่จะต้องเผชิญกับการแพร่ขยายของการขาดแคลนสุขอนามัยท่ามกลางอุณหภูมิโลกร้อนขึ้น และ เนื่องจากอุณหภูมิและความชื้นที่สูงขึ้นนี้ส่งผลให้มีจำนวนยุงเพิ่มขึ้น นำไปสู่การแพร่ระบาดของไข้มาเลเรียและไข้เลือดออก นอกจากนี้โรคที่เกี่ยวข้องกับน้ำ เช่น อหิวาห์ตกโรค ซึ่งจัดว่าเป็นโรคที่แพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็วโรคหนึ่งในภูมิภาคนี้ คาดว่าจะแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง


ท่านผู้มีเกียรติทั้งหลาย
ปรากฏการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นกำลังเตือนภัยอะไรให้แก่พวกเราชาวโลก ซึ่งหากเรายังปล่อยให้เกิด "ภาวะโลกร้อน" อยู่เช่นนี้ เชื่อได้ว่า อาจเกิดปรากฎการณ์ ช็อกหัวใจชาวโลกขึ้นอีกครั้งอย่างแน่นอน ทางแก้ที่ดีที่สุดก็คือ ทุกคนต้องลดใช้พลังงาน และลดระดับการใช้งานเครื่องใช้ ไฟฟ้า อันเป็นบ่อเกิดของมลพิษเพื่อให้โลกได้ปรับสมดุล และช่วยกันปลูกป่า เพื่อให้ธรรมชาติกลับคืนมาโดยเร็วที่สุด มิเช่นนั้น หากเกิน 10 ปี โลกเราอาจเข้าสู่จุดที่ไม่ สามารถกลับตัวได้อีก สำหรับกทม.ในฐานะเมืองหลวงของประเทศไทย มีประชากรอาศัยอยู่ อย่างหนาแน่น ซึ่งมีการใช้พลังงานค่อนข้างมาก ไม่น้อยไปกว่าเมืองใหญ่ๆ ทั่ว โลก ได้ร่วมมือกับ WWF และเครือข่ายพันธมิตรร่วมกันรณรงค์ลด ปัญหาภาวะโลกร้อน โดยที่ กทม. และเมืองใหญ่ๆ อีก 23 แห่งทั่วโลก จะร่วมกันปิดไฟ ในวันเสาร์ที 29 มี.ค.นี้ เวลา 20.00-21.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นของแต่ละเมือง


ท่านผู้มีเกียรติทั้งหลาย
ทั้งหมดที่ได้กล่าวมาข้างต้นเป็นความเห็นของบรรดานักวิทยาศาสตร์และนักนิเวศวิทยาที่ได้มีการศึกษาและวิจัย สำหรับพวกเราในฐานะมุอ์มินีนที่ศรัทธาต่อเอกองค์อัลลอฮฺ(สุบฮาฯ)จะมีจุดยืนอย่างไรในเรื่องดังกล่าว? แน่นอนว่า เราจะต้องไม่ตื่นตระหนกจนเกินไป แต่ก็ต้องมีการตื่นตัวและนำเรื่องดังกล่าวมาศึกษาประกอบกับหลักการของอิสลาม ทั้งนี้เนื่องจากว่า ในหลักการของอิสลามนั้นได้มีการกล่าวถึงทุกเรื่องอยู่แล้วทั้งที่เป็นการกล่าวถึงโดยรวมและอย่างละเอียดถี่ถ้วน ดังที่อัลลอฮฺได้ตรัสว่า


(???????????? ???????? ?????????? ?????????? ???????? ?????? ??????? ?????????? ????????? ???????????????) (????? : 89 )

ความว่า และเราได้ให้คัมภีร์อัลกุรอานแก่เจ้า เพื่อชี้แจงทุกสิ่งทุกอย่าง อีกทั้งเพื่อเป็นทางนำ ความเมตตา และเป็นข่าวดีแก่บรรดามุสลิมอีกด้วย

 

และเมื่อเราพิจารณาจากสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ก็จะพบว่าส่วนใหญ่เกิดจากน้ำมือของมนุษย์นั้นเอง ซึ่งสอดคล้องกับอายะฮฺที่อัลลอฮฺได้ตรัสว่า


(?????? ?????????? ??? ???????? ??????????? ????? ???????? ??????? ???????? ???????????? ?????? ??????? ???????? ??????????? ???????????) (????? : 41 )

ความว่า การบ่อนทำลายได้เกิดขึ้นทั้งทางบกและทางน้ำ เนื่องด้วยน้ำมือของมนุษย์ที่ได้ก่อขึ้นไว้ ทั้งนี้เพื่อให้พวกเขาได้ลิ้มรสในสิ่งที่พวกเขาได้กระทำไว้ โดยที่หวังจะให้พวกเขากลับเนื้อกลับตัว

 

อิมามอัลบัยฎอวีย์ ได้อธิบายว่า ความหมายของการบ่อนทำลายคือ ความแห้งแล้ง อัคคีภัย อุทกภัย วาตภัยและภัยอื่นๆ ตลอดจนความเจริญที่ลดน้อยลงไปนั้น ก็เนื่องมาจากการกระทำบาปของมนุษย์นั้นเอง

ท่านผู้มีเกียรติทั้งหลาย
จุดยืนของผู้ศรัทธาในเรื่องดังกล่าวนี้ กระผมมีความเห็นว่า เราจะต้องมีจุดยืนตามหลักการอิสลาม ๒ ประการด้วยกัน ประการแรกหลักการอิสลามได้กำหนดให้พวกเราดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม นอกจากที่เราได้ใช้ประโยชน์จากมันแล้ว การอนุรักษ์และดูแลรักษาก็ถือเป็นภาระหน้าที่ของเราอย่างหนึ่งที่จะปฏิเสธไม่ได้เช่นกัน ดังที่อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

???????? ????????? ??? ?????????? ??? ?????? ????????? ????? ????????? ????????? ????????? ?????????????) (???????? : 105 )

ความว่า และแท้จริงเราได้บันทึกไว้ในคัมภีร์อัซซะบูรฺ หลังจากที่เราได้บันทึกไว้ในลูหฺมะหฺฟูซว่า แผ่นดินหรือโลกนั้นป่วงบ่าวของเราที่ศอลิหฺ ที่ดีมีคุณธรรมจะเป็นผู้สืบทอดมรดก(ในการดูแลรักษามันไว้)

 

ท่านซัยยิด กุฏุบ (4/2004) ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า อัลลอฮฺมิได้อนุญาตให้มนุษย์แสวงหาปัจจัยยังชีพและใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมเพียงอย่างเดียว หากแต่ต้องมีการอนุรักษ์และดูแลรักษามันอีกด้วย


พระองค์ได้ตรัสอีกว่า


(????? ???????? ?????? ?????????? ??? ??????? ???? ?????????) (??????? : 128 )

ความว่า แท้จริงแผ่ดินนั้นเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ ซึ่งพระองค์จะทรงให้มันได้รับการสืบทอดแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์จากปวงบ่าวของพระองค์

 

ท่านผู้มีเกียรติทั้งหลาย
เกี่ยวกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมนั้น อิสลามมีหลักการอย่างชัดเจนที่มุสลิมทุกคนต้องนำมาปฏิบัติในชีวิตประจำวัน นอกจากจะสร้างความสุขในการดำรงชีวิตเราแล้ว ยังสามารถยับยั้งไม่ให้เกิดภาวะโลกร้อนได้อีกด้วย

หลักการของอิสลามเกี่ยวกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้
๑. หน้าที่เคาะลีฟะฮฺ ในที่นี้หมายถึง ตัวแทนของอัลลอฮฺบนโลกใบนี้ เป็นหน้าที่ของมนุษย์ที่จะต้องดูแลมนุษย์ด้วยกันเองและสรรพสิ่งที่อยู่รอบๆตัวพวกเขา พวกเขาจะต้องรับผิดชอบต่ออัลลอฮฺสำหรับการได้รับความไว้วางใจและถูกมอบหมายให้เป็นอามานะฮฺ พวกเขามีหน้าที่จะต้องดูแลเอาใจใส่ตัวเองและสิ่งต่างๆที่อยู่รอบๆตัวพวกเขาด้วย อัลลอฮฺได้ตรัสในอัลกุรอานไว้ว่า

 
(????? ????????????? ????????? ??? ???????? ??? ????????? ????????? ?????? ???????????) (???? : 14 )

ความว่า “แล้วเราก็ได้แต่งตั้งพวกเจ้าให้เป็นตัวแทนในผืนแผ่นดินนี้ (หลังจากพวกเขาเหล่านั้น) เพื่อเราจะได้เฝ้าดูว่าพวกเจ้าจะปฏิบัติตนกันอย่างไร” (โองการที่ 14 ซูเราะฮฺ ยูนุส)

ในซูเราะฮฺ อัลอันอามอายะฮฺที่ 165 อัลลอฮฺได้ตรัสว่า


(?????? ??????? ?????????? ????????? ???????? ???????? ?????????? ?????? ?????? ????????? ??????????????? ??? ??? ???????? ????? ??????? ??????? ?????????? ????????? ????????? ????????) (??????? : 165 )

ความว่า “และพระองค์นั้นคือผู้ที่ทรงให้พวกเจ้าเป็นผู้สืบแทนในผืนแผ่นดินนี้ และได้ทรงกำหนดบางคนของพวกเจ้าเหนือกว่าอีกบางคนหลายชั้น เพื่อที่พระองค์จะทรงทดสอบพวกเจ้าในสิ่งที่พระองค์ได้ทรงประทานแก่พวกเจ้า แท้จริงพระเจ้าของเจ้านั้น เป็นผู้รวดเร็วในการลงโทษ และแท้จริงพระองค์นั้นเป็นผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรง เมตตาเสมอ”

 

๒.ห้ามไม่ให้สร้างความเสียหายต่อระบบความสมดุลของระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม จากสรรพสิ่งที่เอกองค์อัลลอฮฺได้ทรงสร้างมาทั้งหมด เพื่ออำนวยประโยชน์และอำนวยความสุขแก่มนุษย์ ซึ่งหากเกิดความเสียหายแล้วมนุษย์ก็จะได้รับผลกระทบไปด้วย ดังที่พระองค์ได้ตรัสว่า


(????? ??????????? ??? ???????? ?????? ???????????? ?????????? ??????? ????????? ????? ???????? ?????? ??????? ????? ??????????????) (??????? : 56 )

ความว่า “พวกเจ้าอย่าได้สร้างความเสียหายขึ้นในผืนแผ่นดินนี้ หลังจากที่มันได้ถูกปรับปรุงแก้ไขอย่าง เหมาะสมแล้ว และจงวิงวอนขอต่อพระองค์ด้วยความยำเกรงและความปรารถนาอันแรงกล้า แท้จริงความเมตตาของอัลลอฮฺนั้นอยู่เคียงข้างกับผู้กระทำดีทั้งหลาย”

 

พระองค์ได้ตรัสอีกว่า


(??????? ???????? ????? ??? ???????? ?????????? ??????? ?????????? ????????? ??????????? ???????? ??? ??????? ?????????) (?????? : 205 )

ความว่า “และเมื่อเขาหันหลังไปแล้ว เขาก็เพียรพยายามในผืนแผ่นดินนี้ เพื่อก่อความเสียหายและทำลายพืชผล และเผ่าพันธุ์ และอัลลอฮฺนั้นไม่ทรงชอบการก่อความเสียหายดังกล่าว” (ซูเราะฮฺอัลบากอเราะฮฺ โองการที่ 205)


ท่านศาสดามูฮัมหมัด (ซ.ล.) ได้กล่าวไว้

 
?? ??? ??? ????

มีความว่า “ต้องไม่ทำให้ตัวเองและผู้อื่นต้องเดือดร้อน

 

วจนะของศาสดาบทนี้มีความหมายกว้างมาก โดยห้ามทุกอย่างที่ทำให้เกิดความเดือดร้อนทั้งต่อตนเองสังคม ตลอดจนสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้เพราะการทำลายสิ่งแวดล้อมหรือสร้างมลภาวะที่ทำให้เสียความสมดุลของธรรมชาติทำให้เกิดความหายนะที่ยิ่งใหญ่กับมนุษยชาติไม่เฉพาะในช่วงเวลาของผู้กระทำเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบถึงชั่วลูกชั่วหลานอีกด้วย

 

๓. ห้ามตัดต้นไม้ ฆ่าสัตว์โดยไม่จำเป็น ท่านคอลีฟะฮฺอบูบักรฺ ได้สั่งเสียแก่กองทหารของอุซามะฮฺ อิบนุ ซัยด์ ที่กำลังยกทัพสู้กับเมืองชามมีความว่า : “ท่านทั้งหลายอย่าตัดต้นไม้ที่มีผล อย่าทำลายบ้านเรือน อย่าเชือดแกะและอูฐนอกจากเพื่อเป็นอาหาร”

 

๔. ห้ามทิ้งสิ่งปฏิกูลลงในแม่น้ำ ลำคลอง แม้ในยุคของท่านนบีจะไม่มีปัญหาเรื่องน้ำเสียจากสิ่งปฏิกูล ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมปล่อยน้ำเสียลงในแม่น้ำ ลำคลอง แต่มาตรการการป้องกันและรักษาเป็นไปอย่างเข้มงวดและเด็ดขาด การปัสสาวะหรือ อุจจาระลงในแม่น้ำเป็นสิ่งต้องห้าม ดังที่ท่านนบีได้กล่าวว่า


???? ????? ?????????? ???? ?????????? ?????? ??????? ???????? ????????? ????? ??? ?????????? ?????????? ??? ???????? ?????????? ??????? ??? ??????? ????? ?????????? ?????

ความว่า “คนใดคนหนึ่งในหมู่พวกท่านจงอย่าได้ปัสสาวะลงในแม่น้ำที่ไม่ไหล หลังจากนั้นก็ไปอาบน้ำในนั้นอีก” รายงานโดย อัลบุคอรี

 

๕.ให้มีการจัดเก็บขยะมูลฝอย อิสลามยังให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของผู้สัญจรบนท้องถนนและรักษาทัศนียภาพของสิ่งแวดล้อม จึงได้กำหนดมาตรการการเก็บขยะหรือสิ่งที่เป็นอันตรายต่อผู้สัญจรบนท้องถนน ให้ถือเป็นส่วนหนึ่งการศรัทธา ดังที่ท่านนบีได้กล่าวว่า


???? ????? ?????????? ????? ????? ??????? ??????? ?????? ??????? ???????? ????????? ??????????? ?????? ??????????? ???????? ????????????? ?????? ??? ?????? ?????? ??????? ???????????? ????????? ???????? ???? ?????????? (???? ????)

ความว่า อีมานนั้นมีประมาณ ๗๐ กว่าระดับ และสิ่งที่ประเสริฐมากหรือสูงที่สุดคือการปฏิญาณตนว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่แท้จริงนอกจากอัลลอฮฺ และสิ่งที่ประเสริฐน้อยที่สุดก็คือการเก็บสิ่งที่ไม่พึงประสงค์(สิ่งที่ไม่ดี ที่เป็นอันตราย) ออกจากทางเดิน
จะเห็นได้ว่าการเก็บขยะหรือสิ่งปฏิกูลบนท้องถนนก็นับเป็นส่วนหนึ่งของความศรัทธา

 

๖.ใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดรู้คุณค่าและไม่ฟุ่มเฟือย อิสลามได้สอนให้มนุษย์รู้จักใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดรู้คุณค่าและไม่ฟุ่มเฟือย โดยถือว่าผู้ละเมิดเป็นพวกพ้องของมารร้ายชัยฏอน ดังที่อัลลอฮฺได้ตรัสไว้อัลกุรอานว่า


(????? ????????? ?????????? ? ????? ??????????????? ???????? ????????? ????????????? ??????? ???????????? ????????? ????????) (??????? : 26-27 )

ความว่า “และเจ้าอย่าฟุ่มเฟือย แท้จริงบรรดาผู้ฟุ่มเฟือยเป็นพวกของมารซัยฏอน และมารชัยฏอนนั้นเป็นผู้เนรคุณต่อผู้อภิบาลของมัน” (อัลอิสรออฺ โองการที่ 26-27)


ในทางปฏิบัติของท่านศาสดาได้ปฏิบัติเป็นแบบอย่างอย่างชัดเจน ครั้งหนึ่งท่านศาสดาเดินผ่านซะอัดขณะที่เขากำลังอาบน้ำละหมาดอยู่ ท่านศาสดาทักเขาว่า “ทำไมใช้น้ำฟุ่มเฟือยเช่นนี้?” เขาถามว่า “ในการอาบน้ำละหมาดมีความฟุ่มเฟือยกระนั้นหรือ?” ท่านศาสดาตอบอย่างเน้นย้ำว่า “มีสิ ถึงแม้ท่านจะอยู่ข้างแม่น้ำไหลผ่านอยู่ก็ตาม” (รายงานโดย อิบนุ มาญะฮฺ)

 

๗. ส่งเสริมให้มีการปลูกต้นไม้ หรือปลูกป่าทดแทน กล่าวคือผู้ที่ทำการปลูกต้นไม้หรือหว่านเมล็ดพืชลงในดิน หากมีมนุษย์ สัตว์หรือนกได้มากินพืชผลเหล่านั้นเขาก็จะได้รับผลบุญเป็นค่าตอบแทน ท่านนบีได้กล่าวว่า


????? ??????? ??????? ?????? ??????? ???????? ????????? ??? ???? ???????? ???????? ??????? ???? ???????? ??????? ?????????? ?????? ?????? ???? ????????? ???? ????????? ?????? ????? ???? ???? ????????

มีความว่า : “ มุสลิมคนหนึ่งคนใดที่ได้ปลูกตันไม้ยืนต้นหรือล้มลุก แล้วมีบรรดานก คนหรือสัตว์ต่างๆ มากินมัน เขาจะได้รับผลบุญในสิ่งที่เขาได้กระทำไว้” ( บันทึกโดยอัลบุคอรี)

 

ท่านผู้มีเกียรติทั้งหลาย
จุดยืนอีกประการหนึ่ง นอกจากที่เราได้รู้ถึงภาระหน้าที่ต่อสิ่งแวดล้อมดังที่กล่าวมาแล้ว เราก็ยังสามารถนำเรื่องภาวะโลกร้อนมาเป็นบทเรียน เป็นอุทธาหรณ์ หรือเป็นการเตือนสติได้อีกว่าโลกเรากำลังเข้าสู่วันแห่งการสิ้นสลายหรือวันกิยามัต และปรากฏการณ์ดังกล่าวก็ได้บอกเราว่ามันกำลังใกล้เข้ามาแล้ว และถือเป็นสัญญาณส่วนหนึ่งของวันกิยามัตอีกด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการเพิ่มพลังแห่งความตักวาต่อเอกอวค์อัลลอฮฺและเตรียมพร้อมทั้งตัวและหัวใจในการรับมือกับเหตุการณ์ในวันนั้น โดยไม่ไปเป็นส่วนหนึ่งของบรรดาผู้ที่เพิกเฉยหรือเฉยเมย ดังที่อัลลอฮฺได้ตรัสว่า


(??????? ???????? ????? ???????? ???? ????????? ????????????) (???? : 92 )

ความว่า และแท้จริงมนุษย์ส่วนใหญ่เฉยเมยต่อสัญญาณต่างๆของเรา

 

(????????? ????????? ??????????? ?????? ??? ???????? ????????????) (???????? : 1 )

ความว่า เวลาแห่งการสอบสวนของมนุษย์ได้ใกล้เข้ามาแล้ว ในขณะที่พวกเขาอยู่ในสภาพหลงลืมและเป็นผู้ผินหลังให้

 

พี่น้องผู้ร่วมศรัทธาทุกท่าน
ปรากฏการณ์โลกร้อน ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป และไม่ใช่เรื่องของคนใดคนหนึ่ง หรือองค์กรใดองค์กรหนึ่ง แต่ทุกคนจะต้องมีส่วนร่วมและมีความรับผิดชอบในฐานะบ่าวที่ดีของอัลลอฮฺคนหนึ่งเท่าที่สามารถจะทำได้ และ ณ โอกาสนี้ก็ขอให้อัลลอฮฺได้ทรงตอบแทนความดีงามและประทานบะเราะกะฮฺแก่ทุกท่านที่มีส่วนร่วมในเรื่องดังกล่าวนี้ด้วยเช่นกัน

???? ???? ?? ???? ?? ?????? ??????? ?????? ?????? ??? ??? ?? ?????? ?????? ??????? ????? ??? ????? ??????? ??? ?? ?????? ??????. ??????? ???? ?? ???? ?? ?? ??? ????????? ??? ?? ?????? ??????.

 


โดย อัสมัน แตอาลี อาจารย์ประจำภาควิชาอิสลามศึกษา วอศ. มอ.ปัตตานี

Maintained by: e-Daiyah Group (1429 H - 2008).