Loading

 

ความประเสริฐของเดือนเราะมะฎอน

 ความประเสริฐของเดือนเราะมะฎอน

 

การสรรเสริญทั้งมวลเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ การเศาะละวาตและความศานติจงมีแด่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺเพียงพระองค์เดียว โดยไม่มีภาคีหุ้นส่วนอันใดสำหรับพระองค์ และฉันขอปฏิญาณว่าท่านนบีมุหัมมัดคือบ่าวและศาสนทูตของพระองค์...     

อัลลอฮฺสุบหานะฮูวะตะอะลาได้ให้ความประเสริฐแก่ประการหนึ่งเหนือกว่าอีกประการหนึ่ง และได้เลือกเฟ้นอย่างใดอย่างหนึ่งตามความประสงค์ของพระองค์ ดังที่ได้ทรงเลือกบรรดาศาสนทูตจากมวลมนุษย์ ได้เลือกมัสยิดเป็นสถานที่ประเสริฐจากสถานที่ต่างๆ ได้ทรงเลือกเดือนเราะมะฎอนจากเดือนทั้งสิบสองเดือน ดังที่ได้กล่าวว่า

﴿ وَرَبُّكَ يَخۡلُقُ مَا يَشَآءُ وَيَخۡتَارُۗ مَا كَانَ لَهُمُ ٱلۡخِيَرَةُۚ سُبۡحَٰنَ ٱللَّهِ وَتَعَٰلَىٰ عَمَّا يُشۡرِكُونَ ﴾ (القصص :  68)

ความว่า “และพระเจ้าของเจ้าทรงสร้างสิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์และทรงเลือก สำหรับพวกเขาไม่มีสิทธิ์ในการเลือก มหาบริสุทธิ์ยิ่งแด่อัลลอฮฺ และพระองค์ทรงสูงส่งจากสิ่งที่พวกเขาตั้งภาคี” (อัล-เกาะศ็อศ  : 185)

               

อัลลอฮฺได้ให้เดือนเราะมะฎอนมีความประเสริฐและมีความพิเศษมากมายหลายประการ ดังที่จะกล่าวต่อไปนี้ 

1.      

อัลลอฮฺได้เลือกเอาเดือนนี้ในการประทานอัลกุรอานลงมาเพื่อเป็นทางนำแก่มนุษยชาติ และนี่คือเหตุผลที่สำคัญที่สุด

﴿شَهۡرُ رَمَضَانَ ٱلَّذِيٓ أُنزِلَ فِيهِ ٱلۡقُرۡءَانُ هُدٗى لِّلنَّاسِ وَبَيِّنَٰتٖ مِّنَ ٱلۡهُدَىٰ وَٱلۡفُرۡقَانِۚ فَمَن شَهِدَ مِنكُمُ ٱلشَّهۡرَ فَلۡيَصُمۡهُۖ وَمَن كَانَ مَرِيضًا أَوۡ عَلَىٰ سَفَرٖ فَعِدَّةٞ مِّنۡ أَيَّامٍ أُخَرَۗ يُرِيدُ ٱللَّهُ بِكُمُ ٱلۡيُسۡرَ وَلَا يُرِيدُ بِكُمُ ٱلۡعُسۡرَ وَلِتُكۡمِلُواْ ٱلۡعِدَّةَ وَلِتُكَبِّرُواْ ٱللَّهَ عَلَىٰ مَا هَدَىٰكُمۡ وَلَعَلَّكُمۡ تَشۡكُرُونَ﴾ (البقرة :  185)

ความว่า “เดือนเราะมะฎอนเป็นเดือนที่อัลลอฮฺได้ประทานอัลกุรอานลงมา เพื่อเป็นข้อแนะนำสำหรับมนุษย์ และเป็นหลักฐานอันชัดแจ้งเกี่ยวกับข้อแนะนำนั้น และเกี่ยวกับสิ่งที่จำแนกระหว่างความจริงกับความเท็จ ดังนั้นเมื่อเดือนเราะมะฎอนมาถึง พวกเจ้าจงถือศีลอดเถิด ส่วนผู้ใดที่ป่วยหรืออยู่ในการเดินทาง ก็จงถือใช้ในวันอื่นแทน อัลลอฮฺประสงค์ให้มีความสะดวกแก่พวกเจ้า และไม่ต้องการให้พวกเจ้าลำบาก และเพื่อที่พวกเจ้าจะได้นับวันของเดือนเราะมะฎอนให้ครบถ้วน และเพื่อที่พวกเจ้าจะให้ความเกรียงไกรแด่อัลลอฮฺในสิ่งที่พระองค์ทรงแนะนำแก่พวกเจ้า และเพื่อพวกเจ้าจะได้ขอบคุณ” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ  : 185)

 

นักวิชาการบางท่านกล่าวว่า ในโองการนี้อัลลอฮฺได้บอกถึงเหตุผลที่ทรงเลือกให้เราะมะฎอนเป็นเดือนแห่งการถือศีลอด นั่นก็คือเพราะเดือนนี้เป็นเดือนที่พระองค์ได้ประทานอัลกุรอานลงมานั่นเอง อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

﴿ إِنَّآ أَنزَلۡنَٰهُ فِي لَيۡلَةِ ٱلۡقَدۡرِ ١ ﴾ (القدر : 1)

ความว่า “แท้จริงเราได้ประทานอัลกุรอานลงมาในคืน ลัยละตุล ก็อดรฺ“( อัล-ก็อดรฺ : 1)

                เป็นที่ทราบกันดีว่า ลัยละตุล ก็อดรฺ เป็นค่ำคืนหนึ่งของเดือนเราะมะฎอน จึงเป็นการสมควรแก่มวลมุสลิมที่จะต้องอ่านอัลกุรอานเป็นอย่างยิ่งในเดือนที่มันถูกประทานลงมานี้

                มีรายงานจากท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า

«كَانَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَجْوَدَ النَّاسِ، وَكَانَ أَجْوَدُ مَا يَكُونُ فِي رَمَضَانَ حِينَ يَلْقَاهُ جِبْرِيلُ، وَكَانَ يَلْقَاهُ فِي كُلِّ لَيْلَةٍ مِنْ رَمَضَانَ فَيُدَارِسُهُ الْقُرْآنَ، فَلَرَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَجْوَدُ بِالْخَيْرِ مِنْ الرِّيحِ الْمُرْسَلَةِ» (رواه البخاري برقم 6، ومسلم برقم 2308)

ความว่า “ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เป็นผู้ที่เอื้ออารีที่สุด และท่านยิ่งมีจิตเมตตาในเดือนเราะมะฎอนขณะที่มะลาอิกะฮฺญิบรีลมาพบกับท่าน  ญิบรีลจะมาหาท่านทุกๆ คืน แล้วได้สอนทบทวนอัลกุรอานแก่ท่าน เมื่อนั้นเองคือช่วงที่ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จะมีจิตกุศลยิ่งกว่าลมที่พัดโชยมา“(บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 6  และมุสลิม : 2308)

 

2.      

เมื่อเข้าสู่เดือนเราะมะฎอนอัลลอฮฺได้บัญชาให้เปิดประตูสวรรค์และปิดประตูนรก

ท่านบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

«إِذَا كَانَ أَوَّلُ لَيْلَةٍ مِنْ شَهْرِ رَمَضَانَ صُفِّدَتْ الشَّيَاطِينُ وَمَرَدَةُ الْجِنِّ، وَغُلِّقَتْ أَبْوَابُ النَّارِ فَلَمْ يُفْتَحْ مِنْهَا بَابٌ، وَفُتِّحَتْ أَبْوَابُ الْجَنَّةِ فَلَمْ يُغْلَقْ مِنْهَا بَابٌ، وَيُنَادِي مُنَادٍ يَا بَاغِيَ الْخَيْرِ أَقْبِلْ وَيَا بَاغِيَ الشَّرِّ أَقْصِرْ، وَلِلَّهِ عُتَقَاءُ مِنْ النَّارِ، وَذَلكَ كُلُّ لَيْلَةٍ»  (رواه الترمذي برقم 682)

ความว่า “เมื่อคืนแรกของเราะมะฎอนมาถึง บรรดาชัยฏอนและญินที่เกเรทั้งหลายจะถูกพันธนาการ ประตูนรกจะถูกปิกลงทุกบาน และประตูสวรรค์จะถูกเปิดออกทั้งหมด มีผู้เรียกบอกว่า โอ้ผู้แสวงหาความดีจงรีบกอบโกยเถิด โอ้ผู้ต้องการทำชั่วจงยับยั้งก่อนเถิด และอัลลอฮฺจะปลดปล่อยชาวนรกให้เป็นไท ซึ่งมันจะเกิดขึ้นทุกคืนของเราะมะฎอน” ( บันทึกโดยอัต-ติรมิซีย์ : 682)

 

3.      

ในเดือนเราะมะฎอนจะมีค่ำคืนหนึ่งที่การปฏิบัติอะมัลมีความประเสริฐมากกว่าอะมัลในช่วงเวลาอื่นถึงหนึ่งพันเดือน

﴿ وَمَآ أَدۡرَىٰكَ مَا لَيۡلَةُ ٱلۡقَدۡرِ ٢ لَيۡلَةُ ٱلۡقَدۡرِ خَيۡرٞ مِّنۡ أَلۡفِ شَهۡرٖ ٣﴾  (القدر:  2- 3)

ความว่า “และอะไรเล่าจะทำให้เจ้ารู้ได้ว่าคืน ลัยละตุล ก็อดรฺ นั้นคืออะไร  คืน ลัยละตุล ก็อดรฺ นั้นดียิ่งกว่าหนึ่งพันเดือน“(อัล-ก็อดรฺ : 2-3)

 

ท่านนบี  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

«مَنْ قَامَ لَيْلَةَ القَدْرِ إِيمَانًا وَاحْتِسَابًا غُفِرَ لَهُ مَا تَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِهِ» (رواه البخاري برقم 1901، ومسلم برقم 759)

ความว่า “ ผู้ใดที่ละหมาดคืน ลัยละตุล ก็อดรฺ ด้วยความศรัทธามั่นและหวังต่อการตอบแทน เขาจะได้รับการอภัยในความผิดที่ผ่านมา“ (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 1901  และมุสลิม : 759)

 

4.      

เป็นห้วงเวลาที่อัลลอฮฺจะตอบรับการขอดุอาอฺ จากผู้ที่ขอต่อพระองค์

ท่านบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม  กล่าวว่า

«إِنَّ لِلَّهِ في كُلِّ يَوْمٍ وَلَيْلَةٍ عُتَقَاءُ مِنْ النَّارِ – يعني في رمضان -  وَإِنَّ لِكُلِّ مُسْلِمٍ في كُلِّ يَوْمٍ وَلَيْلَةٍ دَعْوَةً يَدْعُو بِهَا فَيُسْتَجَابُ لَهُ» (كشف الأستار برقم 962، وصححه الألباني في صحيح الترغيب والترهيب ص 419)

ความว่า “ในทุกๆ วันและคืนของเดือนเราะมะฎอน อัลลอฮฺจะปลดปล่อยชาวนรก และในทุกๆ วันและคืนของเดือนเราะมะฎอน จะมีดุอาอ์ประการหนึ่งของมุสลิมที่เขาขอแล้วอัลลอฮฺจะทรงรับ“ (กัชฟุล อัสตารฺ : 962 อัล-อัลบานีย์ วินิจฉัยว่าเป็นหะดีษเศาะฮีหฺ ดู เศาะฮีหฺ อัต-ตัรฆีบ หน้า 419)

 

5.      

กลิ่นปากผู้ที่ถือศีลอดจะมีความหอมยิ่งกว่าชะมดเชียง ณ อัลลอฮฺ ตะอาลา

ท่านบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

«كُلُّ عَمَلِ ابْنِ آدَمَ يُضَاعَفُ، الْحَسَنَةُ عَشْرُ أَمْثَالِهَا إِلَى سَبْعمِائَة ضِعْفٍ، قَالَ اللَّهُ عَزَّ وَجَلَّ: إِلَّا الصَّوْمَ فَإِنَّهُ لِي وَأَنَا أَجْزِي بِهِ، يَدَعُ شَهْوَتَهُ وَطَعَامَهُ مِنْ أَجْلِي، لِلصَّائِمِ فَرْحَتَانِ : فَرْحَةٌ عِنْدَ فِطْرِهِ، وَفَرْحَةٌ عِنْدَ لِقَاءِ رَبِّهِ، وَلَخُلُوفُ فِيهِ أَطْيَبُ عِنْدَ اللَّهِ مِنْ رِيحِ الْمِسْكِ» (رواه البخاري برقم 1904، ومسلم برقم 1151)

ความว่า “การงานที่ดีของมนุษย์ทั้งหมดจะได้รับผลตอบแทนทวีคูณเป็นสิบเท่าถึงเจ็ดร้อยเท่า อัลลอฮฺได้กล่าวว่า นอกจากผลบุญของการถือศีลอดที่ฉันจะตอบแทนให้ตามที่ฉันประสงค์ เนื่องจากเขา(บ่าว)ได้ระงับอารมณ์และอาหารเพื่อฉัน ผู้ถือศีลอดจะมีความปลื้มปิติสองครั้งด้วยกัน คือ เมื่อเขาละศีลอดและเมื่อเขาได้เจอกับพระเจ้าของเขา แน่นอนว่ากลิ่นปากผู้ที่ถือศีลอดจะมีความหอมยิ่งกว่าชะมดเชียง ณ อัลลอฮฺ ตะอาลา” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 1904  และมุสลิม : 1151)

 

6.      

การประกอบพิธีอุมเราะฮฺในเดือนนี้จะได้รับผลตอบแทนเท่ากับการประกอบพิธีหัจญ์ 

ท่านบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

«إِنَّ عُمْرَةً فِي رَمَضَانَ تَقْضِي حَجَّةً أَوْ حَجَّةً مَعِي»  (رواه البخاري برقم 1782، ومسلم برقم 1256)

ความว่า “ การประกอบพิธีอุมเราะฮฺในเดือนเราะมะฎอนจะได้รับผลตอบแทนเท่ากับการทำหัจญ์ หรือการทำหัจญ์พร้อมกับฉัน“ (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 1782 และมุสลิม : 1256)

 

7.      

อัลลอฮฺจะให้อภัยและปลดเปลื้องความผิดของบ่าวเมื่อเข้าสู่เดือนเราะมะฎอน 

عن مالك بن الحسن بن مالك بن الحويرث عن أبيه عن جده قال : صَعِدَ رَسُولُ اللهِ صلى الله عليه وسلم المِنْبَرَ، فَلَمَّا رَقِيَ عَتَبَةً قال : «آمين»،  ثُمَّ رَقِيَ عَتَبَةً أُخْرٰى فقال : «آمين»،  ثم رَقِيَ عَتَبَةً ثَالِثَةً فقال : «آمين»، ثم قال : « أَتَانِي جِبْرِيلُ فقال : يَا مُحَمَّدُ، مَنْ أَدْرَكَ رَمَضَانَ فَلَمْ يُغْفَرْ لَهُ، فَأَبْعَدَهُ اللَّهُ، قُلْتُ : آمين، قال : و مَنْ أَدْرَكَ وَالِدَيْهِ أو أَحَدَهُمَا فَدَخَلَ النَّارَ ، فَأَبْعَدَهُ اللَّهُ، قلت : آمين، فقال : وَمَنْ ذُكِرْتَ عِنْدَهُ فَلَمْ يُصَلِّ عَلَيْكَ فَأَبْعَدَهُ اللَّهُ، قُلْ : آمين، فَقُلْتُ : آمين» (ابن حبان برقم 409، وانظر صحيح الجامع للألباني برقم 75)

ความว่า จากมาลิก บิน อัล-หะสัน บิน มาลิก อัล-หุวัยริษ เล่าจากบิดาของเขา(อัล-หะสัน) ซึ่งเล่าจากปู่ของเขา(มาลิก) เล่าว่า “ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ขึ้นมิมบัรฺ เมื่อท่านขึ้นไปขั้นหนึ่งท่านก็กล่าวว่า อามีน เมื่อก้าวขึ้นไปอีกขั้นหนึ่งท่านกล่าวว่า อามีน และเมื่อก้าวขึ้นขั้นที่สามท่านก็กล่าวว่าอามีนอีก จากนั้นท่านก็บอกว่า “ญิบรีลได้มาหาฉันแล้วบอกว่า ‘ใครก็ตามที่เขาอยู่ในเดือนเราะมะฏอน แต่เขาก็ไม่ได้รับการอภัยโทษ อัลลอฮฺทรงให้เขาห่างไกลจากความเมตตาของพระองค์’ ฉันจึงกล่าวว่าอามีน ญิบรีลกล่าวต่อไปว่า ‘และใครก็ตามที่เขามีโอกาสได้อยู่ร่วมกับบิดามารดาหรือคนหนึ่งคนใด (แต่เขาไม่มีความกตัญญู) ทำให้เขาตกนรก และอัลลอฮฺทรงให้เขาห่างไกลจากความเมตตาของพระองค์’ ฉันจึงกล่าวว่าอามีน  ญิบรีลกล่าวต่อไปอีกว่า ‘และใครก็ตามที่ชื่อของเจ้าถูกเอ่ยขึ้นต่อหน้าเขา แต่เขาก็ไม่กล่าวเศาะละวาตแก่เจ้า อัลลอฮฺก็จะทรงให้เขาห่างไกลจากความเมตตาของพระองค์’ ฉันจึงกล่าวว่าอามีน“ (บันทึกโดย อิบนุ หิบบาน : 409 ดู เศาะฮีหฺ อัล-ญามิอฺ 75)

 

ท่านบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

«مَنْ قَامَ لَيْلَةَ القَدْرِ  إِيمَانًا وَاحْتِسَابًا غُفِرَ لَهُ مَا تَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِهِ، ومَنْ صَامَ رَمَضَانَ إِيمَانًا وَاحْتِسَابًا غُفِرَ لَهُ مَا تَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِهِ»  (رواه البخاري برقم 1901، ومسلم برقم 759)

ความว่า “ผู้ใดที่ละหมาดในคืน ลัยละตุล ก็อดรฺ ด้วยความศรัทธามั่นและหวังในการตอบแทน เขาจะได้รับการอภัยในความผิดที่ผ่านมา และผู้ใดที่ถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนด้วยความศรัทธามั่นและหวังในการตอบแทน เขาจะได้รับการอภัยในความผิดที่ผ่านมา” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 1901  และมุสลิม : 759)

 

และท่านบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

«مَنْ قَامَ رمضان  إِيمَانًا وَاحْتِسَابًا غُفِرَ لَهُ مَا تَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِهِ» (رواه البخاري برقم 2009، ومسلم برقم 759)

ความว่า “ผู้ใดที่ละหมาดในค่ำคืนเดือนเราะมะฎอนด้วยความศรัทธามั่นและหวังในการตอบแทน เขาจะได้รับการอภัยในความผิดที่ผ่านมา”  (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 2009  และมุสลิม : 759)

 

และความหมายของคำว่าإيمانا واحتسابا    การศรัทธาและหวังผลบุญ หมายถึง มีความเชื่อมั่นว่าการถือศีลอดว่าเป็นฟัรฎูเหนือตัวเขา  และหวังผลตอบแทนในการถือศีลอด เขาจึงถือศีลอดด้วยหัวใจที่เปี่ยมไปด้วยความยินดี ไม่ได้รู้สึกหนักใจต่อการอดอาหาร และไม่มีความรู้สึกหนักอึ้งต่อการละหมาดในยามค่ำคืน

ต่างจากบางคนที่อาจจะถือศีลอดเนื่องจากว่าเห็นผู้อื่นทำตัวเองจึงทำตามบ้าง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง หากเป็นเช่นนี้เขาก็จะไม่ได้รับผลตอบแดนดังที่กล่าวมาข้างต้น เว้นแต่เขาจะมีความบริสุทธิ์ใจต่ออัลลอฮฺและปราถนาผลบุญจากพระองค์เท่านั้น

 

والحمد لله رب العالمين ، وصلى الله وسلم على نبينا محمد وعلى آله وصحبه أجمعين.  

 

...............................

แปลโดย : อับดุศศอมัด อัดนาน

ตรวจทานโดย : ซุฟอัม  อุษมาน

คัดลอกจาก  http://IslamHouse.com/364678

 

 

Maintained by: e-Daiyah Group (1429 H - 2008).