Loading

 

หนึ่งวันกับกิจวัตรในเดือนเราะมะฎอน

หนึ่งวันกับกิจวัตรในเดือนเราะมะฎอน

 

 

ละหมาดศุบหฺ

ให้กล่าวตามการอะซาน(ทุกประโยค ยกเว้นเมื่อรับประโยค “หัยยะอะลัศเศาะลาฮฺ” กับ “หัยยะอะลัลฟะลาหฺ” ให้กล่าวว่า
 (لَا حَوْلَ وَلَا قُوَّةَ إلَّا بِالله) (อ่านว่า ลาเหาละ วะลา กุว์วะตะ อิลลา บิลลาฮฺ) ทั้งนี้เพื่อที่จะได้รับผลบุญเหมือนกับผู้อะซาน -ผู้แปล) แล้วให้เศาะละวาตแก่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม  หลังจากนั้นก็ให้อ่านดุอาอ์ อัล-วะสีละฮฺ (ดุอาอ์หลังจากอะซาน) ว่า

«اللهم رَبَّ هَذِهِ الدَّعوَةِ التَّامَّةِ، وَالصَّلاةِ القَائمَةِ، آتِ مُـحَـمَّداً الوَسِيلَةَ وَالفَضِيلَةَ، وَابْعَثْهُ مَقَاماً مَـحْـمُوداً الَّذِي وَعَدْتَـهُ» (البخاري برقم 614، 4719)

“อัลลอฮุมมะ ร็อบบะ ฮาซิฮิดดะอฺวะติตต๊ามมะฮฺ วัศเศาะลาติล กออิมะฮฺ อาติ มุหัมมะดะนิลวะสีละฮฺ วัลฟะฎีละฮฺ วับอัษฮุ มะกอมัน มะหฺมูดะนิลละซี วะอัดตะฮฺ”

ความว่า “โอ้อัลลอฮฺ พระเป็นเจ้าแห่งการเชิญชวนอันสมบูรณ์ และการละหมาดที่กำลังจะปฏิบัติอยู่นี้ ขอพระองค์ทรงโปรดประทานความดี ประเสริฐ และขอพระองค์ทรงโปรดนำมุหัมมัดสู่ตำแหน่งที่ได้รับการสรรเสริญ ซึ่งพระองค์ได้ทรงสัญญาไว้ด้วยเถิด”

(ท่านนบีกล่าวว่า ใครที่กล่าวเช่นนี้) “เขาจะได้รับการชะฟาอะฮฺจากฉันในวันกิยามะฮฺ” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 614,4719)

 

ดุอาอ์ระหว่างการอะซานกับอิกอมะฮฺจะไม่ถูกผลักไส ดังนั้นจงฉกฉวยช่วงเวลาแห่งการตอบรับนี้เถิด และพึงทราบเถิดว่า ดุอาอ์ของผู้ที่ถือศีลอดก็ไม่ถูกผลักไสเช่นเดียวกัน ดังที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม  ได้กล่าวว่า  

«ثَلَاثَةٌ لَا تُرَدُّ دَعْوَتُهُمْ: الصَّائِمُ حَتَّى يُفْطِرَ ، وَالإِمَامُ العَادِلُ ، وَدَعْوَةُ المَظْلُومِ يَرْفَعُهَا اللَّهُ فَوْقَ الغَمَامِ وَيَفْتَحُ لَهَا أَبْوَابَ السَّمَاءِ، وَيَقُولُ الرَّبُّ: وَعِزَّتِي لَأَنْصُرَنَّكِ وَلَوْ بَعْدَ حِينٍ» (الترمذي برقم 3598،  وضعفه الألباني في ضعيف الترغيب والترهيب برقم 597)

ความว่า “บุคคลสามประเภทที่การขอดุอาอ์ของเขาจะไม่ถูกผลักไส นั้นคือ ผู้ที่ถือศีลอดกระทั่งเขาได้ละศีลอด อิมามที่เที่ยงธรรม และดุอาอ์ของผู้ถูกอธรรม ซึ่งอัลลอฮฺจะดุอาอ์นั้นขึ้นเหนือเมฆ และให้ประตูแห่งฟากฟ้าทั้งหลายเปิดเพื่อรับดุอาอ์นั้น และอัลลอฮฺจะตรัสว่า ด้วยกับเกียรติของข้า แน่แท้ฉันต้องช่วยเหลือเจ้าอย่างแน่นอน แม้มันจะผ่านไปแล้วก็ตาม” (บันทึกโดยอัต-ติรมิซีย์ : 3598, อัล-อัลบานีย์ กล่าวว่าเป็นหะดีษเฎาะอีฟ ดู เฎาะอีฟ อัต-ตัรฆีบ วัต-ตัรฮีบ 597 ถึงแม้นว่าหะดีษข้างต้นนี้อยู่ในทัศนะที่เฎาะอีฟ แต่ก็ยังมีหะดีษอื่นๆ ที่มีเนื้อหาที่คล้ายคลึงกันเช่น

« ثَلَاثُ دَعَوَاتٍ مُسْتَجَابَاتٌ: دَعْوَةُ الصَّائِمِ، وَدَعْوَةُ الْمَظْلُومِ، وَدَعْوَةُ الْمُسَافِرِ»  (الدعاء الطبراني برقم 1313، وصححه الألباني في صحيح الجامع برقم 3030)

ความว่า “ดุอาอ์ของบุคคลสามประเภทต่อไปนี้เป็นดุอาอ์ที่ถูกตอบรับ ได้แก่ ดุอาอ์ของผู้ถือศีลอด ดุอาอ์ของผู้ถูกอธรรม และดุอาอ์ของผู้เดินทาง” (อัด-ดุอาอ์ โดยท่านอัฏ-ฏ็อบรอนีย์ ชัยคฺอัล-อัลบานีย์มีทัศนะว่า เศาะฮีหฺ ในหนังสือ เศาะฮีหฺ อัล-ญามิอฺ 3030  -ผู้แปล)

 

ก่อนที่จะละหมาดศุบหฺ ก็ให้ละหมาดสุนัตเราะวาติบสองร็อกอัตก่อนศุบหฺก่อน ซึ่งสุนัตเราะวาติบนั้นมีทั้งหมด 12 ร็อกอัต ดังที่ท่านอิมามมุสลิมได้บันทึกในหนังสือเศาะฮีหฺของท่าน จากท่านหญิงอุมมุหะบีบะฮฺ ภรรยาของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม  ได้เล่าว่า

«مَا مِنْ عَبْدٍ مُسْلِمٍ يُصَلِّي لِلهِ كُلَّ يَوْمٍ ثِنْتَيْ عَشْرَةَ رَكْعَةً تَطَوُّعًا غَيْرَ فَرِيضَةٍ إِلَّا بَنَى اللهُ لَهُ بَيْتًا فِي الْجَنَّةِ» (مسلم برقم 728)

ความว่า “ไม่มีบ่าวมุสลิมคนไหนที่ได้ละหมาดสุนัตวันละ 12 ร็อกอัต นอกจากอัลลอฮฺจะสร้างบ้านให้เขาหลังหนึ่งในสวนสวรรค์” (บันทึกโดยมุสลิม : 728)

และการละหมาดสุนัตเราะวาติบที่บ้านย่อมเป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุด

 

ให้ละหมาดศุบหฺเป็นญะมาอะฮฺ ดังที่ท่านอิมามมุสลิม 657 ได้รายงานจากท่านญุนดุบ บิน อับดุลลอฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม  ได้กล่าวว่า

«مَنْ صَلَّى الصُّبْحَ فَهُوَ فِي ذِمَّةِ اللهِ، فَلَا يَطْلُبَنَّكُمُ اللهُ مِنْ ذِمَّتِهِ بِشَيْءٍ فَيُدْرِكَهُ فَيَكُبَّهُ فِي نَارِ جَهَنَّمَ» (مسلم برقم 657)

ความว่า “ผู้ใดที่ละหมาดศุบหฺ เขาก็จะได้อยู่ในความคุ้มครองของอัลลอฮฺ ดังนั้นพวกเจ้าจงอย่าสร้างความเดือดร้อนใดๆ แก่ผู้ที่อัลลอฮฺได้ให้ความคุ้มครองแก่เขาเถิด ไม่เช่นนั้น เขาก็จะพบเจอกับการลงโทษด้วยกับการคว่ำใบหน้าลากสู่นรกญะฮันนัม” (บันทึกโดยมุสลิม : 657)

 

ท่านอัน-นะวะวีย์ ได้กล่าวในหนังสือ “ชัรหุนมุสลิม (5/158)” ว่า الذمة ณ ที่นี้ หมายถึง “คุ้มครองหรือให้ความปลอดภัย” 

 

หลังละหมาดศุบหฺ

อ่านอัซการฺ(บทซิกิรฺต่างๆ เพื่อรำลึกถึงอัลลอฮฺ)หลังจากได้ให้สลามของการละหมาด

หลังจากละหมาดแล้วก็ให้นั่งอยู่ในมัสญิด(สำหรับผู้หญิงก็ให้นั่ง ณ ที่เธอได้ละหมาด) จนกระทั่งดวงอาทิตย์ขึ้น ซึ่งผลบุญของมันนั้นคือเสมือนการทำหัจญ์และอุมเราะฮฺอย่างสมบูรณ์ ทั้งนี้ก็ให้ขะมักเขม้นในช่วงเวลานี้ด้วยการอ่านอัลกุรอาน และให้สัมผัสถึงคำดำรัสของอัลลอฮฺ อัซซะวะญัลลาที่ว่า

﴿وَقُرۡءَانَ ٱلۡفَجۡرِۖ إِنَّ قُرۡءَانَ ٱلۡفَجۡرِ كَانَ مَشۡهُودٗا ٧٨﴾ [الإسراء : 78]

ความว่า “และการอ่านยามรุ่งอรุณ แท้จริงการอ่านยามรุ่งอรุณนั้นเป็นพยานยืนยันเสมอ” (สูเราะฮฺ อัล-อิสรออ์ 78)

 

อ่านอัซการยามเช้า และละหมาดฎุฮา(นั้นคือ หลังจากที่ดวงอาทิตย์ขึ้นประมาณ 20 นาที) จำนวนร็อกอัตที่น้อยที่สุดคือ สองร็อกอัต แต่ถ้าต้องการที่จะเพิ่มจำนวนร็อกอัตอีก ก็ให้ละหมาดทีละสองๆ ตามที่อัลลอฮฺทรงประสงค์

 

ช่วงเดินทางไปทำงาน

การที่ท่านได้เดินทางไปทำงานนั้น ก็ถือว่าท่านอยู่ในช่วงอิบาดะฮฺ ดังนั้นจงกอบโกยผลบุญต่างๆ จนกระทั่งท่านได้รับผลบุญตลอดช่วงเวลาที่ท่านทำงาน (ท่านยังสามารถใช้ช่วงเวลาที่เดินทางไปทำงานนั้นด้วยการอิสติฆฟารฺ(ขออภัยโทษ), ตัสบีหฺ(สรรเสริญอัลลอฮฺ), หรือฟังอัลกุรอาน) พึงยำเกรงต่ออัลลอฮฺเถิด และจงรักษาลิ้นของท่าน อวัยวะต่างๆของท่าน และหากว่ายังมีช่วงเวลาที่ว่างจากการทำงานเหลืออีกก็ให้ฉกฉวยโอกาสนั้นด้วยการอ่าน
อัลกุรอาน

 

 

ละหมาดซุฮฺริ

สุนัตให้กล่าวตามการอะซาน

การดุอาอ์ระหว่างการอะซานและอิกอมะฮฺนั้นจะไม่ถูกผลักไส ดังนั้นจงฉกฉวยช่วงเวลาแห่งการตอบรับนี้เถิด

ให้ละหมาดสุนัตเราะวาติบสี่ร็อกอัตก่อนละหมาด(สองสลาม)

ให้ฉกฉวยช่วงเวลานี้ด้วยการอ่านอัลกุรอานจนกระทั่งได้ยืนละหมาด (ส่งเสริมให้ใช้อัลกุรอานเล่มเล็ก ฉบับพกพา  เพื่อให้มันอยู่กับท่านตลอดเวลาไม่ว่าจะอยู่ที่ทำงานหรือโรงเรียนหรือที่อื่นๆ)

หลังจากละหมาดก็ให้อ่านอัซการฺหลังจากที่ได้ให้สลามของการละหมาด

ให้ละหมาดสุนัตเราะวาติบสองร็อกอัตหลังจากละหมาดฟัรฎุซุฮฺริ

สำหรับคนที่ไม่มีภารกิจอะไรที่ต้องทำในช่วงเวลานี้ ก็ให้เขาฉกฉวยโอกาสนี้ด้วยการทำอิบาดะฮฺต่างๆ ที่มีความหลากหลาย แต่ให้อ่านอัลกุรอานให้มากที่สุด

 

ละหมาดอัศริ

สุนัตให้กล่าวตามการอะซาน

ให้ดุอาอ์ระหว่างการอะซานและอิกอมะฮฺ

ไม่มีการละหมาดสุนัตก่อนและหลังละหมาดอัศริ แต่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม  ได้กล่าวว่า

«رَحِمَ اللهُ امْرَأً صَلَّى قَبْلَ الْعَصْرِ أَرْبَعاً» (أبو داود برقم 1271 وحسنه الألباني في صحيح الترغيب والترهيب 588)  

ความว่า “อัลลอฮฺทรงเมตตาผู้ที่ละหมาดก่อนอัศริสี่ร็อกอัต” (บันทึกโดยอบูดาวูด 1271 ชัยคฺอัล-อัลบานีย์มีทัศนะว่า หะสัน ในหนังสือ เศาะฮีหฺ อัต-ตัรฆีบ วัต-ตัรฮีบ 588)

 

แล้วผู้ใดกันบ้างในหมู่พวกเรา ที่ไม่ต้องการความเมตตาจากอัลลอฮฺ ??? หลังจากนั้นก็ให้อ่านอัลกุรอานจนกระทั่งได้ยืนขึ้นละหมาด

หลังจากละหมาดฟัรฎูไปแล้ว ก็ให้อ่านอัซการฺหลังจากที่ได้ให้สลามจากการละหมาด และถ้าหากมีการเรียนการสอนในมัสญิด ก็ให้เข้าไปร่วมฟังด้วย โดยแน่นอนอิบาดะฮฺที่ประเสริฐที่สุดในเดือนเราะมะฎอนนั้นคือการอ่านอัลกุรอาน แต่ผู้ใดที่สามารถผนวกความดีงามอื่นกับการอ่านอัลกุรอานด้วยก็เป็นสิ่งที่ดี

หลังจากที่ได้เรียนที่มัสญิดแล้ว ก็ให้นั่งอยู่ในมัสญิดต่อเพื่ออ่านอัลกุรอานต่อ ดังที่ท่าน อบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันได้เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม  ได้กล่าวว่า

«لا يَزَالُ العَبْدُ فِي صَلاةٍ مَا كَانَ فِي مُصَلَّاهُ يَنْتَظِرُ الصَّلاةَ وَتَقُولُ المَلائِكَةُ: اللَّهُـمَّ اغْفِرْ لَـهُ اللهم ارْحَـمْهُ حَتَّى يَنْصَرِفَ أَوْ يُـحْدِثَ»  (مسلم برقم 649)

ความว่า “ถือว่าบ่าวคนหนึ่งยังคงละหมาดอยู่ ตราบใดที่เขายังอยู่ในที่ละหมาดของเขาเพื่อคอยที่จะละหมาดเวลาต่อไป และมลาอิกะฮฺจะกล่าวว่า โอ้อัลลอฮฺ ได้โปรดให้อภัยแก่เขา โอ้อัลลอฮฺได้โปรดให้ความปรานีต่อเขา จนกว่าเขาจะลุกขึ้นไปหรือจนกว่าเขาจะมีหะดัษ(สิ้นน้ำละหมาด)” (มุสลิม : 649)

 

ก่อนอะซานมัฆริบ

(ก่อนเข้าเวลาละหมาด) 20 นาที ให้กลับบ้านแล้วอาบน้ำละหมาด

ตามด้วยการอ่านอัซการฺยามเย็น และให้มั่นอิสติฆฟารฺและตัสบีหฺต่ออัลลอฮฺให้มากๆ

ดังที่อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ตรัสว่า

﴿فَٱصۡبِرۡ عَلَىٰ مَا يَقُولُونَ وَسَبِّحۡ بِحَمۡدِ رَبِّكَ قَبۡلَ طُلُوعِ ٱلشَّمۡسِ وَقَبۡلَ ٱلۡغُرُوبِ ٣٩﴾ [ق : 39]

ความว่า “ดังนั้น เจ้าจงอดทนต่อสิ่งที่พวกเขากล่าวถึง และจงแซ่ซ้องด้วยการสรรเสริญพระเจ้าของเจ้าก่อนการขึ้นของดวงอาทิตย์และก่อนการตก(ของมัน)” (สูเราะฮฺก็อฟ 39)

 

และสำหรับผู้ที่ถือศีลอดนั้นการดุอาอ์ของเขาในขณะที่เขาได้ละศีลอดนั้นย่อมไม่ถูกผลักไสอย่างแน่นอน ดังนั้นจงฉกฉวยช่วงเวลาที่มีค่านี้เถิด

อย่าลืมก่อนถึงเวลามัฆริบเล็กน้อย ให้มีส่วนร่วมในการเลี้ยงอาหารละศีลอดของพี่น้อง(ด้วยการเลี้ยงอาหารหรือเครื่องดื่มแก่พวกเขา เช่นอินทผลัม -ผู้แปล) ซึ่งผู้ใดก็ตามที่เลี้ยงอาหารแก่ผู้ที่ถือศีลอด เขาจะได้รับผลบุญเท่ากับผลบุญของผู้ถือศีลอด(ที่เขาให้​อาหาร) (โดยที่ผลบุญนั้น ไม่ได้ลดน้อยลงไปจากผู้ถือศีลอดนั้นแต่อย่างใด-ผู้แปล) และพยายามให้มี(ส่วนร่วม)ในการเลี้ยงละศีลอด(ของพี่น้อง)ในแต่ละวันด้วย

สำหรับสตรีนั้นในช่วงเวลาเย็น เธอก็จะได้รับผลบุญในส่วนของการจัดเตรียมอาหาร  โดยแน่นอนในทุกๆ หยาดเหงื่อย่อมมีผลบุญ และเธอยังสามารถใช้ช่วงเวลานี้ในการเตรียมอาหารไปพร้อมๆ กับการอิสติฆฟารฺ การสรรเสริญต่อัลลอฮฺ การเศาะละวาตต่อท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม  และยังสามารถรับฟังเทปซิกิรฺต่างๆ ซึ่งมันก็เป็นการทำอิบาดะฮฺนั้นเอง หรืออาจจะฟังอัลกุรอานก็ได้

 

ละหมาดมัฆริบ

เมื่ออะซานแล้ว ส่งเสริมให้รีบเร่งในการละศีลอด(นั้นคือเมื่อถึงเวลาละศีลอดแล้ว ก็ให้รีบละศีลอดโดยทันที) ดังที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม  ได้กล่าวว่า

«لاَ يَزَالُ النَّاسُ بِخَيْرٍ مَا عَجَّلُوا الفِطْرَ» (البخاري برقم 1957،  ومسلم برقم 1098)

ความว่า “มนุษย์ยังคงได้รับความดีงาม ตราบใดที่เขารีบเร่งในการละศีลอด (เมื่อถึงเวลา)” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ 1957 และมุสลิม 1098 )

และให้อ่านดุอาอ์ว่า

«ذَهَبَ الظَّمَأُ وَابْتَلَّتِ الْعُرُوقُ، وَثَبَتَ الْأَجْرُ إِنْ شَاءَ اللَّهُ» (أبو داود برقم 2010، صحيح سنن أبي داود رقم 2066 : حسن)

“ซะฮะบัซ เซาะมะอุ, วับตัลละติล อุรูก, วะษะบะตัล อัจญ์รุ, อินชาอัลลอฮฺ

ความว่า “ความกระหายได้ดับลงแล้ว เส้นโลหิตก็เปียกชื้น และผลบุญก็ได้มั่นคงแล้ว อินชาอัลลอฮฺ (หากอัลลอฮฺทรงประสงค์)” (รายงานโดย อบู ดาวูด หมายเลข 2010 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อบี ดาวูด หมายเลข 2066 เป็นหะดีษหะสัน)”

 

ให้ทำตามแบบฉบับของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม  ในการละศีลอด ด้วยการละศีลอดด้วยกับผลอินทผลัมสด(รุฏ็อบ) หากไม่มีก็ให้ละด้วยอินทผลัมแห้ง(ตะมัรฺ) หากไม่มีก็ให้ละศีลอด้วยกับน้ำ และให้จัดเตรียมสำรับอาหารเพียงน้อยนิดเท่านั้น เพราะมันจะช่วยให้ท่านละหมาดตั้งแต่เนิ่นๆ (ซึ่งผลบุญของการกินและพักผ่อนนั้นก็จะถูกคำนวน เนื่องด้วยท่านมีความยำเกรง ด้วยเหตุนั้นการเคารพเชื่อฟังนั้นคือการอิบาดะฮฺและเป็นการเข้าใกล้อัลลอฮฺ)

ให้กล่าวตามการอะซาน

ให้ขอดุอาอ์ระหว่างการอะซานและอิกอมะฮฺ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น

ให้ละหมาดสุนัตเราะวาติบหลังจากละหมาดมัฆริบสองร็อกอัต

 

ละหมาดอิชาอ์

เดินทางไปละหมาดอิชาอ์ตั้งแต่เนิ่นๆ ก่อนถึงเวลาสักประมาณ 20 นาที แล้วใช้ช่วงเวลานั้นในการอ่านอัลกุรอาน สนับสนุนให้อ่านส่วนของอัลกุรอานที่จะอ่านในละหมาดตะรอวีหฺ และให้ทวนบรรดาอายะฮฺที่มีอิทธิผลต่อความรู้สึก (อย่างนี้แหละ ที่จะช่วยให้ท่านมีความคุชูอฺหรือมีสมาธิในการละหมาดตะรอวีหฺ)

ให้กล่าวตามอะซาน

ให้ขอดุอาอ์ระหว่างการอะซานและอิกอมะฮฺ

ละหมาดฟัรฎูอิชาอ์ ซึ่งมีบันทึกในเศาะฮีหฺมุสลิม จากการรายงานของท่านอุษมาน อิบนุอัฟฟาน เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า

«مَنْ صَلَّى الْعِشَاءَ فِي جَمَاعَةٍ فَكَأَنَّمَا قَامَ نِصْفَ اللَّيْلِ، وَمَنْ صَلَّى الصُّبْحَ فِي جَمَاعَةٍ فَكَأَنَّمَا صَلَّى اللَّيْلَ كُلَّهُ»  (مسلم برقم 656)

ความว่า “ผู้ใดละหมาอิชาอ์เป็นญะมาอะฮฺเสมือนเขาได้ละหมาดครึ่งคืน และผู้ใดละหมาดศุบหฺเป็นญะมาอะฮฺ เสมือนเขาได้ละหมาดตลอดทั้งคืน” (บันทึกโดยมุสลิม : 656)

 

อ่านอัซการ(บทรำลึกต่างๆ)หลังจากได้ให้สลามของการละหมาด

ให้ละหมาดสุนัตเราะวาติบหลังละหมาดอิชาอ์ 2 ร็อกอัต

ให้ละหมาดตะรอวีหฺพร้อมกับอิมามจนกระทั่งเสร็จสิ้นไปพร้อมกัน เนื่องจากมีหะดีษของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม  ได้กล่าวว่า

«مَنْ قَامَ مَعَ الْإِمَامِ حَتَّى يَنْصَرِفَ، كَتَبَ اللَّهُ لَهُ قِيَامَ لَيْلَةٍ » (النسائي برقم 1605، وصححه الألباني في صلاة التراويح : 6)

ความว่า “ผู้ใดก็ตามที่ละหมาดพร้อมกับอิมาม(ละหมาดตะรอวีหฺ) จนอิมามเสร็จสิ้นจากการละหมาด อัลลอฮฺจะบันทึกผลบุญแก่เขาเสมือนเขาได้ละหมาดทั้งคืน” (บันทึกโดยอัน-นะสาอีย์ : 1605  ชัยคฺอัล-อัลบานีย์ มีทัศนะว่าเศาะฮีหฺ ในหนังสือ เศาะลาฮฺ อัต-ตะรอวีหฺ : 6)

ดังนั้นจงพยายามรักษาผลบุญเสมือนได้ละหมาดทั้งคืน ด้วยการปฏิบัติตามหะดีษนี้เถิด โดยที่ท่านไม่ควรเลิกละหมาดก่อนอิมาม

 

หลังละหมาดตะรอวีหฺ

ให้กลับไปที่บ้านโดยทันที เพื่อรับประทานอาหาร(อิฟฎอรฺ)ให้สมบูรณ์ และเพื่อเป็นการเจริญรอยตามแบบอย่างของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม  แต่ก็ให้รับประทานอาหารอย่างพอประมาณ ซึ่งท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม  ได้กล่าวว่า

«مَا مَلَأَ ابْنُ آدَمَ وِعَاءً شَرًّا مِنْ بَطْنٍ، حَسْبُ ابْنِ آدَمَ أُكُلَاتٌ يُقِمْنَ صُلْبَهُ، فَإِنْ كَانَ لَا مَحَالَةَ، فَثُلُثُ طَعَامٍ، وَثُلُثُ  شَرَابٍ، وَثُلُثٌ لِنَفْسِهِ» (أحمد برقم 4132، وصححه الألباني في صحيح الجامع 5674)

ความว่า “ไม่มีภาชนะใดที่มนุษย์ใส่อาหารจนเต็มจะเลวร้ายไปกว่าท้องของมนุษย์เอง เพียงพอเเล้วโอ้มนุษย์เอ๋ย เเค่สองสามคําที่จะทําให้กระดูกสันหลังของท่านเเข็งเเรง  ถ้าหากจําเป็นต้องกินก็ขอให้แบ่งสามส่วน  หนึ่งส่วนสามสำหรับอาหารของเขา  หนึ่งส่วนสามสำหรับเครื่องดื่มของเขา และหนึ่งส่วนสามสําหรับลมหายใจของเขา” (บันทึกโดยอะหฺมัด : 4132 ชัยคฺอัล-อัลบานีย์มีทัศนะว่าเศาะฮีหฺ ในหนังสือ เศาะฮีหฺ อัล-ญามิอฺ : 5674)

 

ให้ใช้เวลาที่เหลือด้วยการทำอิบาดะฮฺต่างๆ เช่น สัมพันธ์เครือญาติ, อ่านหนังสือตัฟสีรอัลกุรอาน, อ่านหนังสือชีวประวัติของท่านนบี, ทบทวนความรู้ต่างๆ, การดะอฺวะฮฺไปสู่อัลลอฮฺ, เยี่ยมเยียนคนเจ็บป่วย, ให้ความช่วยเหลือผู้ที่ร้องขอความช่วยเหลือ, นั่งร่วมในวงที่มีการรำลึกถึงอัลลอฮฺ และอื่นๆ อีกมากมาย

ให้รำลึกถึงอัลลอฮฺในทุกสภาพการณ์ของท่าน ไม่ว่าจะเป็นช่วงที่ท่านเดินทางไปหรือกลับจากมัสญิด และให้พยายามรักษาอัซการฺต่างๆ ในทุกๆ สภาพการณ์และความเหมาะสม เช่น ช่วงที่ออกหรือเข้าบ้าน ตอนสวมเสื้อผ้า หรืออัซการก่อนนอน และอื่นอีกมากมาย (ให้ไปดูคู่มือรวมบทดุอาอ์สำหรับมุสลิม “หิศนุลมุสลิม”)

 

นอน

ให้เข้านอนเวลา 23.00 น. โดยประมาณ และพยายามทำให้การนอนนั้นเป็นไปเพื่ออัลลอฮฺ เพื่อจะได้เพิ่มการฏออะฮฺต่อพระองค์ และเพื่อเป็นการเปลี่ยนจากการนอนที่เป็นปรกติวิสัยเป็นการนอนที่เป็นอิบาดะฮฺ และทำให้ได้รับผลบุญ

 

ตะฮัจญุด

ให้ตื่นในช่วงสุดท้ายของค่ำคืน ซึ่งเป็นช่วงเวลาของการดุอาอ์และการทำความดีทั้งหลายนั้นจะเป็นที่ตอบรับ

 

สะหูรฺ

มีรายงานจากท่านอิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ว่า

أَنَّ رَسُولَ اللهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيه وَسَلَّم بَعَثَ أَبَا مُوسَى فِي سَرِيَّةٍ فِي الْبَحْرِ، فَبَيْنَا هُمْ كَذَلِكَ قَدْ رَفَعُوا الشِّرَاعَ فِي لَيْلَةٍ مُظْلِمَةٍ، إِذَا هَاتِفٌ مِنْ فَوْقِهِمْ يَهْتِفُ بِأَهْلِ السَّفِينَةِ : قِفُوا أُخْبِرُكُمْ بِقَضَاءٍ قَضَاهُ اللَّهُ عَلَى نَفْسِهِ، فَقَالَ أَبُو مُوسَى: أَخْبِرْ إِنْ كُنْتَ مُخْبِرًا، قَالَ: إِنَّ اللَّهَ تَبَارَكَ وَتَعَالَى قَضَى عَلَى نَفْسِهِ أَنَّهُ مَنْ أَعْطَشَ نَفْسَهُ لَهُ فِي يَوْمٍ صَائِفٍ سَقَاهُ اللَّهُ يَوْمَ الْعَطَشِ.  (البزار برقم 4974،  وضعفه الألباني في ضعيف الترغيب والترهيب 577)، وفي رواية  «أن من عطش نفسه لله في يوم حار كان حقا على الله أن يرويه يوم القيامة»، قال المنذري: رواه البزار بإسناد حسن إن شاء الله، وحسنه الألباني في صحيح الترغيب (10/412)

ความว่า “ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม  ได้ส่งท่านอบีมูซาไปยังกองเรือในทะเล ซึ่งระหว่างที่พวกเราอยู่ในนั้น พวกเขาก็ได้แล่นเรือในค่ำคืนอันมืดมิด ครั้นแล้วก็มีผู้ประกาศที่อยู่เหนือพวกเขาได้ป่าวประกาศแก่ผู้คนที่อยู่ในเรือว่า พวกท่านจงหยุดเถิด ฉันจะแจ้งข่าวแก่พวกท่านในกิจการที่อัลลอฮฺทรงกำหนดแก่พระองค์เอง ดังนั้นท่านอบูมูซาจึงกล่าวว่า ท่านจงแจ้งข่าวเถิด ถ้าท่านเป็นผู้แจ้งข่าวจริงๆ เขาจึงกล่าวว่า แท้จริงอัลลอฮฺ ตะบาเราะกะ วะตะอาลา ได้กำหนดแก่พระองค์ท่านเองว่า ผู้ใดก็ตามที่มีปรารถนาความกระหาย(ถือศีลอด)ในช่วงเวลาที่ร้อนจัด อัลลอฮฺก็จะให้เขาได้ดื่มน้ำในวันที่มีความกระหาย(ในวันกิยามะฮฺ) ” (บันทึกโดยมุสนัดอัล-บัซซาร 4974 ชัยคฺอัล-อัลบานีย์มีทัศนะว่า เฎาะอีฟ ในหนังสือ เฎาะอีฟ อัต-ตัรฆีบ วัต-ตัรฮีบ 577 ) ในสายรายงานอื่นได้กล่าวว่า “ผู้ใดที่ทำให้ตัวเองมีความกระหายเพื่ออัลลอฮฺในวันที่ร้อนจัด เป็นหน้าที่ของอัลลอฮฺที่จะดูแลเขาในวันกิยามะฮฺ” ท่านอัล-มุนซิรีย์ มีทัศนะว่าหะสัน และมีบันทึกในอัล-บัซซารฺด้วยสายรายงานที่หะสัน อินชาอัลลอฮฺ ซึ่งชัยคฺอัล-อัลบานีย์มีทัศนะว่าหะสัน ในหนังสือเศาะฮีหฺ อัต-ตัรฆีบ วัต-ตัรฮีบ 10/412

 

อย่าลืม

ห่างไกลจากสิ่งต้องห้ามและไร้สาระทั้งหลาย และระมัดระวังจากทุกๆ สิ่งที่ไม่ให้ประโยชน์ใดๆ ในตัวมันเลย และให้พยายามรักษาการถือศีลอด และการกิยาม(ละหมาดตะรอวีหฺ)ในเราะมะฎอน และให้มีความขะมักเขม้นตลอดทั้งเดือน โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงสิบคืนสุดท้ายของเดือน ทั้งนี้ก็เพื่อพบกับความประเสริฐของค่ำคืนลัยละตุลก็อดรฺ

ขอให้อัลลอฮฺทรงให้เราและท่าน เป็นผู้ที่ถือศีลอด และยืนละหมาดในยามค่ำคืน ด้วยกับการได้รับความพึงพอพระทัยจากพระองค์แก่เราทั้งหลายด้วยเถิด

 

นี่คือ เป้าประสงค์บางประการที่เกี่ยวข้องกับการถือศีลอดพร้อมกับหลักฐานของทุกเป้าประสงค์

 

เป้าประสงค์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเดือนเรามะฎอน

การปฏิบัติในหลักประการพื้นฐานต่างๆของอิสลาม

ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม  ได้กล่าวว่า

«بُنِيَ الْإِسْلَامُ عَلَى خَمْسٍ، شَهَادَةِ أَنْ لَا إِلَهَ إِلَّا اللهُ وَأَنَّ مُحَمَّدًا رَسُولُ اللهِ، وَإِقَامِ الصَّلَاةِ، وَإِيتَاءِ الزَّكَاةِ، وَالْحَجِّ، وَصَوْمِ رَمَضَانَ» (البخاري برقم 8، ومسلم برقم 122)

ความว่า “ศาสนาอิสลามนั้นถูกสถาปนาบนหลักห้าประการ นั่นคือ การปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺและมุหัมมัดนั้นเป็นศาสนทูตของอัลลอฮฺ การดำรงไว้ซึ่งการละหมาด การจ่ายซะกาต การทำหัจญ์ และการถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 8,  และมุสลิม : 122)

 

การวอนขอเพื่อเข้าสู่สวนสวรรค์อันสถาพร

ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม  ได้กล่าวว่า

«اتَّقُوا اللَّهَ رَبَّكُمْ، وَصَلُّوا خَمْسَكُمْ، وَصُومُوا شَهْرَكُمْ، وَأَدُّوا زَكَاةَ أَمْوَالِكُمْ، وَأَطِيعُوا ذَا أَمْرِكُمْ تَدْخُلُوا جَنَّةَ رَبِّكُمْ» (الترمذي برقم 616، وصححه الألباني في سلسلة الأحاديث الصحيحة 867)

ความว่า “พวกท่านจงยำเกรงพระเจ้าของพวกท่าน, จงละหมาดห้าเวลาของพวกท่าน, จงถือศีลอดเดือน(เราะมะฎอน)ของพวกท่าน, จงจ่ายซะกาตทรัพย์สินของพวกท่านและจงเชื่อฟังบรรดาผู้นำของพวกท่าน พวกท่านก็จะได้เข้าสวรรค์ของพระเจ้าของพวกท่าน” (บันทึกโดยอัต-ติรมิซีย์ : 616 ชัยคฺอัล-อัลบานีย์ มีทัศนะว่าเศาะฮีหฺ ในหนังสือสัลสะละฮฺ อัล-อะหาดีษ อัศ-เศาะฮีหะฮฺ : 867)      

 

การวอนขอเพื่อได้รับการอภัยโทษในความผิดบาปทั้งหลาย

ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม  ได้กล่าวว่า

«مَنْ صَام رَمَضَانَ إيمَاناً وَاحْتِسَاباً غُفِرَ لَـهُ مَا تَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِـهِ» (البخاري برقم 38، ومسلم برقم 760)

ความว่า “ผู้ใดที่ถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนด้วยความศรัทธามั่นและหวังในผลบุญ เขาผู้นั้นจะได้รับการอภัยโทษบาปที่ผ่านมา” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 38 และมุสลิม : 760)

 

การวอนขอเพื่อให้รอดพ้นจากไฟนรก

ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม  ได้กล่าวว่า

«وَلِلهِ عُتَقَاءُ مِنَ النَّارِ، وَذَلكَ كُلُّ لَيْلَةٍ». (الترمذي برقم 618، وحسنه الألباني في صحيح الجامع الصغير 759)

ความว่า  “และสำหรับอัลลอฮฺนั้นมีผู้ที่พระองค์จะทรงปลดปล่อยพวกเขาจากนรก สิ่งเหล่านั้น(การเรียกร้องและการปลดปล่อย) จะเกิดขึ้นทุกค่ำคืน(ของเดือนเราะมะฎอน)”  (บันทึกโดย อัต-ติรฺมิซีย์ : 618 ชัยคฺอัล-อัลบานีย์ มีทัศนะว่าหะสัน ในหนังสือเศาะฮีหฺ อัล-ญามิอฺ 759)

เป้าประสงค์ของการถือศีลอดทั่วไป (ซึ่งเกี่ยวข้องกับเดือนเราะมะฎอนเช่นกัน)

 

เป้าประสงค์ต่างๆเพื่อได้รับในโลกอาคีเราะฮฺ

การวอนขอความเบิกบานในโลกอาคีเราะฮฺ

ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม  ได้กล่าวว่า

«لِلصَّائِمِ فَرْحَتَانِ يَفْرَحُهُمَا، إِذَا أَفْطَرَ فَرِحَ بِفِطْرِهِ وَإِذَا لَقِيَ رَبَّهُ فَرِحَ بِصَوْمِهِ». (البخاري برقم 7492، ومسلم برقم 1151)

ความว่า “สำหรับผู้ถือศีลอดนั้นมีความเบิกบานใจอยู่สองครั้ง เมื่อเขาละศีลอดเขาจะเบิกบานใจกับการละศีลอดนั้น และเมื่อเขาได้พบองค์อภิบาลของเขา เขาจะเบิกบานใจกับ(ผลบุญที่ได้จาก)การถือศีลอดของเขา”  (รายงานโดยอัล-บุคอรีย์ : 7492 มุสลิม :1151)

 

การวอนขอเพื่อได้เข้าสวนสวรรค์จากประตู อัร-ร็อยยาน

ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม  ได้กล่าวว่า

«إِنَّ فِي الْجَنَّةِ بَابًا يُقَالُ لَهُ الرَّيَّانُ، يَدْخُلُ مِنْهُ الصَّائِمُونَ يَوْمَ الْقِيَامَةِ لاَ يَدْخُلُ مِنْهُ أَحَدٌ غَيْرُهُمْ، يُقَالُ أَيْنَ الصَّائِمُونَ؟ فَيَقُومُونَ، لاَ يَدْخُلُ مِنْهُ أَحَدٌ غَيْرُهُمْ، فَإِذَا دَخَلُوا أُغْلِقَ فَلَمْ يَدْخُلْ مِنْهُ أَحَدٌ» وزِيْدَ عند ابن ماجه : «وَمَنْ دَخَلَهُ لَمْ يَظْمَأْ أَبَدًا». (البخاري برقم 1763، مسلم برقم 1947، ابن ماجه برقم 1630)

ความว่า “แท้จริง ในสวรรค์นั้นมีประตูหนึ่งมีชื่อเรียกว่า อัรฺ-ร็อยยาน ในวันกิยามะฮฺผู้ถือศีลอดจะเข้าสวรรค์จากประตูนี้ ไม่มีผู้ใดสักคนเข้าจากประตูนี้นอกจากพวกเขา จะมีเสียงถามขึ้นมาว่า ‘ไหนเล่าบรรดาผู้ถือศีลอด?’ (เพื่อเรียกให้พวกเขาได้เข้าสวรรค์จากประตูนี้) แล้วพวกเขาก็จะยืนขึ้น ไม่มีผู้ใดสักคนเข้าจากประตูนี้นอกจากพวกเขา เมื่อพวกเขาได้เข้าไปหมดแล้ว ประตูนี้ก็จะถูกปิด จึงไม่มีผู้ใดได้เข้าไปจากประตูนี้อีกนอกจากพวกเขา” มีสำนวนเพิ่มเติมจากสายรายงานของอิบนุ มาญะฮฺว่า “ผู้ใดที่ได้เข้าจากประตูนี้ เขาจะไม่กระหายอีกเลยชั่วนิรันดร์” (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์ เลขที่ 1763, มุสลิม เลขที่ 1947 และอิบนุ มาญะฮฺ เลขที่ 1630)

 

การวอนขอเพื่อได้รับการช่วยเหลือ(ชะฟาอะฮฺ)ของการถือศีลอด

ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม  ได้กล่าวว่า

«الصِّيَامُ وَالْقُرْآنُ يَشْفَعَانِ لِلْعَبْدِ يَوْمَ الْقِيَامَةِ، يَقُولُ الصِّيَامُ : أَيْ رَبِّ مَنَعْتُهُ الطَّعَامَ وَالشَّهَوَاتِ بِالنَّهَارِ، فَشَفِّعْنِي فِيهِ، وَيَقُولُ الْقُرْآنُ : مَنَعْتُهُ النَّوْمَ بِاللَّيْلِ فَشَفِّعْنِي فِيهِ»، قَالَ : «فَيُشَفَّعَانِ». (مسند الإمام أحمد برقم 6337، وصححه الألباني في صحيح الجامع الصغير 3882)

ความว่า “การถือศีลอดและอัลกุรอานนั้นจะมาให้ความช่วยเหลือแก่บ่าวในวันกิยามะฮฺ การถือศีลอดจะพูดว่า ‘โอ้ผู้อภิบาลแห่งข้า ข้าได้สกัดกั้นเขาจากอาหารและการสนองความใคร่ในยามกลางวัน ดังนั้นได้โปรดให้ข้าช่วยเหลือเขาด้วยเถิด’ อัลกุรอานก็จะพูดว่า ‘โอ้ผู้อภิบาลแห่งข้า ข้าได้สกัดกั้นเขาจากการหลับนอนในยามค่ำคืน ดังนั้นได้โปรดให้ข้าช่วยเหลือเขาด้วยเถิด’ แล้วทั้งสองก็ได้รับอนุญาตเพื่อให้ความช่วยเหลือ”  (รายงานโดย อะหฺมัด : 6337 ชัยคฺอัล-อัลบานีย์มีทัศนะว่า เศาะฮีหฺ ในหนังสือ เศาะฮีหฺ อัล-ญามิอฺ 3882)

 

การวอนขอเพื่อได้รับการช่วยเหลือ(ชะฟาอะฮฺ)ของคนศอลิหฺทั้งหลาย

ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม  ได้กล่าวว่า

«وَإِذَا رَأَوْا أَنَّهُمْ قَدْ نَجَوْا فِي إِخْوَانِهِمْ ، يَقُولُونَ : رَبَّنَا إِخْوَانُنَا ، كَانُوا يُصَلُّونَ مَعَنَا ، وَيَصُومُونَ مَعَنَا ، وَيَعْمَلُونَ مَعَنَا ، فَيَقُولُ اللَّهُ تَعَالَى : اذْهَبُوا ، فَمَنْ وَجَدْتُمْ فِي قَلْبِهِ مِثْقَالَ دِينَارٍ مِنْ إِيمَانٍ فَأَخْرِجُوهُ ، وَيُحَرِّمُ اللَّهُ صُوَرَهُمْ عَلَى النَّارِ. فَيَأْتُونَهُمْ وَبَعْضُهُمْ قَدْ غَابَ فِي النَّارِ إِلَى قَدَمِهِ ، وَإِلَى أَنْصَافِ سَاقَيْهِ ، فَيُخْرِجُونَ مَنْ عَرَفُوا. » (البخاري برقم 7439، مسلم برقم 183)

ความว่า “เมื่อพวกเขาเห็นว่า พวกเขาปลอดภัยแน่แล้วในหมู่พี่น้องของพวกเขา พวกเขาต่างกล่าวว่า 'โอ้พระผู้เป็นเจ้าของเรา ยังมีพวกพี่น้องของพวกเราที่ได้ละหมาดร่วมกับพวกเรา ได้ถือศีลอดร่วมกับพวกเราและได้กระทำกิจกรรมต่างๆ (ทางศาสนาที่ดี) ร่วมกับพวกเรา' ดังนั้นอัลลอฮฺจึงตรัสว่า 'พวกท่านจงไปดูเถิด บุคคลใดที่พวกท่านพบว่า ในหัวใจของพวกเขามีความศรัทธาเท่าน้ำหนักเพียงหนึ่งดีนาร์ก็จงนำพวกเขาออกมา' อัลลอฮฺก็จะทรงห้ามไฟไม่ให้ไหม้ร่างของพวกเขาเหล่านั้น(ที่ออกไปหาพี่น้องของพวกเขาในนรก) พวกเขาเหล่านั้นก็จะไปหาพี่น้องของพวกเขา(ในนรก) บางส่วนในหมู่ชาวนรกนั้นจมอยู่ในนรกแค่เท้าของพวกเขา บ้างก็ถึงหน้าแข้งของพวกเขา ใครที่พวกเขารู้จักพวกเขาก็จะนำคนเหล่านั้นออกมา” (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ : 7439 และมุสลิม : 183)

 

การวอนขอเพื่อได้รับผลตอบแทนจากอัลลอฮฺ

ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม  ได้กล่าวว่า

«كُلُّ عَمَلِ ابْنِ آدَمَ يُضَاعَفُ، الْحَسَنَةُ عَشْرُ أَمْثَالِهَا إِلَى سَبْعمِائَة ضِعْفٍ، قَالَ اللَّهُ عَزَّ وَجَلَّ إِلاَّ الصَّوْمَ فَإِنَّهُ لِي وَأَنَا أَجْزِي بِهِ، يَدَعُ شَهْوَتَهُ وَطَعَامَهُ مِنْ أَجْلِي، لِلصَّائِمِ فَرْحَتَانِ فَرْحَةٌ عِنْدَ فِطْرِهِ وَفَرْحَةٌ عِنْدَ لِقَاءِ رَبِّهِ، وَلَخُلُوفُ فِيهِ أَطْيَبُ عِنْدَ اللَّهِ مِنْ رِيحِ الْمِسْكِ» (البخاري برقم 1894، مسلم برقم 1151)

ความว่า "ทุกๆ การงานของลูกหลานอาดัมจะเพิ่มพูนถึงสิบเท่าจนถึงเจ็ดร้อยเท่า อัลลอฮฺได้ตรัสว่า นอกจากการถือศีลอด แท้จริงมันเป็นสิทธิของข้าและข้าจะตอบแทนมันเอง(โดยไม่กำหนดตายตัวว่าเพิ่มขึ้นเท่าใด) เขาได้ละทิ้งตัณหาและอาหารเพื่อข้า สำหรับผู้ที่ถือศีลอดนั้นมีสองความสุข(เบิกบานใจ) ความสุขแรกตอนที่เขาละศีลอด และความสุขที่สองตอนที่ได้พบกับพระผู้เป็นเจ้าของเขา และแท้จริงกลิ่นปากของผู้ที่ถือศีลอด ณ อัลลอฮฺนั้นหอมยิ่งกว่ากลิ่นของชะมดเชียงเสียอีก"  (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 1894 และมุสลิม :1151)

 

เป็นการได้มาซึ่งอะมัลที่ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือน

ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม  ได้กล่าวว่า

أَتَيْتُ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَقُلْتُ: مُرْنِي بِعَمَلٍ يُدْخِلُنِي الْجَنَّةَ. قَالَ: «عَلَيْكَ بِالصَّوْمِ؛ فَإِنَّهُ لَا عِدْلَ لَهُ» . ثُمَّ أَتَيْتُهُ الثَّانِيَةَ فَقَالَ لِي: «عَلَيْكَ بِالصِّيَامِ» (مسند الإمام أحمد برقم 22149، وصححه الألباني في صحيح الترغيب والترهيب 986)

ความว่า “ฉันได้ไปหาท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม แล้วฉันก็ได้กล่าวแก่ท่านว่า "ท่านจงสั่งใช้ฉันซึ่งการงานที่ทำให้ฉันได้เข้าสวรรค์ด้วยเถิด" ท่านนบีตอบว่า: "ท่านจงถือศีลอด เพราะไม่มีสิ่งใดจะเทียมเท่ามัน"หลังจากนั้นฉันได้ไปหาท่านครั้งที่สอง และท่านก็ยังคงกล่าวว่า: "ท่านจงถือศีลอด" (รายงานโดย อะหฺมัด : 22149 ชัยคฺอัล-อัลบานีย์มีทัศนะว่า เศาะฮีหฺ  ในหนังสือ เศาะฮีหฺ อัต-ตัรฆีบ วัต-ตัรฮีบ 986)

 

เป็นการลบล้างความชั่วร้ายและฟิตนะฮฺบททดสอบต่างๆ

ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม  ได้กล่าวว่า

«فِتْنَةُ الرَّجُلِ فِي أَهْلِهِ وَمَالِهِ وَوَلَدِهِ وَجَارِهِ، تُكَفِّرُهَا الصَّلاَةُ وَالصَّوْمُ وَالصَّدَقَةُ، وَالأَمْرُ وَالنَّهْيُ» (البخاري برقم 525، مسلم برقم 144)

ความว่า “ฟิตนะฮฺของชายคนหนึ่งที่มีต่อครอบครัวของเขา ทรัพย์สินของเขา ลูกของเขา และเพื่อนบ้านของเขา จะถูกลบล้างออกไปด้วยการละหมาด การถือศีลอด การบริจาคทาน การสั่งใช้ในความดีงาม และการห้ามในสิ่งที่ชั่วร้าย” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 525 และมุสลิม : 144)

 

การวอนขอเพื่อให้ใบหน้าห่างไกลจากนรก

ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม  ได้กล่าวว่า

«مَا مِنْ عَبْدٍ يَصُومُ يَوْمًا فِي سَبِيلِ اللهِ، إِلَّا بَاعَدَ اللهُ بِذَلِكَ الْيَوْمِ وَجْهَهُ عَنِ النَّارِ سَبْعِينَ خَرِيفًا» (مسلم برقم 1153)

ความว่า “ไม่มีบ่าวผู้ใดที่ถือศีลอดเพื่ออัลลอฮฺเพียงวันเดียว เว้นแต่อัลลอฮฺจะทำให้เขาห่างไกลปลอดภัยจากนรกด้วยเหตุแห่งการถือศีลอดในวันนั้น เป็นระยะห่างถึงเจ็ดสิบปี” (บันทึกโดยมุสลิม : 1153)

 

เป้าประสงค์ต่างๆเพื่อได้รับในโลกดุนยา

การวอนขอเพื่อเป็นสิ่งป้องกันและปกป้องจากการทำมะอฺศิยะฮฺ

ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม  ได้กล่าวว่า

«الصِّيَامُ جُنَّةٌ، فَلاَ يَرْفُثْ وَلاَ يَجْهَلْ، وَإِنِ امْرُؤٌ قَاتَلَهُ أَوْ شَاتَمَهُ فَلْيَقُلْ إِنِّي صَائِمٌ ـ مَرَّتَيْنِ». (البخاري برقم1761)

ความว่า “การถือศีลอดนั้นเป็นโล่ป้องกัน (คือป้องกันไม่ให้ผู้ถือศีลอดประพฤติสิ่งที่ไม่ดี หรือป้องกันเขาจากการต้องเข้านรก) ดังนั้น(เมื่อผู้ใดถือศีลอด)แล้ว เขาอย่าได้พูดจาหยาบโลนและอย่าได้ประพฤติเยี่ยงผู้ที่ไร้จริยธรรม และหากแม้นมีผู้ใดต้องการทะเลาะเบาะแว้งหรือกล่าวด่าว่าร้ายเขา ก็ให้เขากล่าวแก่คนผู้นั้นว่า ‘แท้จริงฉันเป็นผู้ถือศีลอด แท้จริงฉันเป็นผู้ถือศีลอด’ (คือให้กล่าวเพียงเท่านี้ โดยไม่ต้องตอบโต้ด้วยคำพูดอื่นที่อาจจะทำให้การถือศีลอดบกพร่อง)” (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์ เลขที่ 1761)

 

การวอนขอเพื่อได้ถือศีลอดตลอดทั้งปี

ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม  ได้กล่าวว่า

«شَهْرُ الصَّبْرِ، وَثَلَاثَةُ أَيَّامٍ مِنْ كُلِّ شَهْرٍ صَوْمُ الدَّهْرِ» (النسائي برقم 2408، وصححه الألباني في صحيح الجامع 3718)

ความว่า “(การถือศีลอดใน)เดือนแห่งการอดทน(เราะมะฎอน) และสามวันของทุกๆ เดือนนั้น(เท่ากับ)การถือศีลอตลอดทั้งปี” (บันทึกโดย อัน-นะสาอีย์ : 2408 ชัยคฺอัล-อัลบานีย์ มีทัศนะว่า เศาะฮีหฺ ในหนังสือ เศาะฮีหฺ อัล-ญามิอฺ 3718)

 

การวอนขอเพื่อการวิงวอน(ดุอาอ์)ถูกตอบรับ

ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม  ได้กล่าวว่า

« ثَلَاثُ دَعَوَاتٍ مُسْتَجَابَاتٌ: دَعْوَةُ الصَّائِمِ، وَدَعْوَةُ الْمَظْلُومِ، وَدَعْوَةُ الْمُسَافِرِ»  (الدعاء للطبراني برقم 1313، وصححه الألباني في صحيح الجامع 3030)

ความว่า “ดุอาอ์ของบุคคลสามประเภทต่อไปนี้เป็นดุอาอ์ที่ถูกตอบรับ ได้แก่ ดุอาอ์ของผู้ถือศีลอด ดุอาอ์ของผู้ถูกอธรรม และดุอาอ์ของผู้เดินทาง” (อัด-ดุอาอ์ โดยท่านอัฏ-ฏ็อบรอนีย์ ชัยคฺอัล-อัลบานีย์มีทัศนะว่า เศาะฮีหฺ ในหนังสือ เศาะฮีหฺ อัล-ญามิอฺ 3030)

 

การวอนขอความเบิกบานในโลกดุนยา

ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม  ได้กล่าวว่า

«لِلصَّائِمِ فَرْحَتَانِ  يَفْرَحُهُمَا إِذَا أَفْطَرَ فَرِحَ بِفِطْرِهِ وَإِذَا لَقِيَ رَبَّهُ فَرِحَ بِصَوْمِهِ». (البخاري برقم 7492،  ومسلم برقم 1151)

ความว่า “สำหรับผู้ถือศีลอดนั้นมีความเบิกบานใจอยู่สองครั้ง เมื่อเขาละศีลอดเขาจะเบิกบานใจกับการละศีลอดนั้น และเมื่อเขาได้พบองค์อภิบาลของเขา เขาจะเบิกบานใจกับ(ผลบุญที่ได้จาก)การถือศีลอดของเขา”  (รายงานโดยอัล-บุคอรีย์ : 7492 มุสลิม :1151)

 

การวอนขอเพื่อจบชีวิตด้วยกับสิ่งที่ดีงาม

ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม  ได้กล่าวว่า

«مَنْ خُتِمَ لَهُ بِصِيَامِ يَوْمٍ دَخَلَ الْجَنَّةَ» (مسند البزار برقم 2854، وصححه الألباني في صحيح الجامع 6224)

ความว่า “ผู้ใดที่จบชีวิตด้วยกับการถือศีลอดในวันหนึ่ง เขาจะได้เข้าสวรรค์” (บันทึกโดยมุสนัดอัล-บัซซาร 2854 ชัยคฺอัล-อัลบานีย์ มีทัศนะว่า เศาะฮีหฺ ในหนังสือ เศาะฮีหฺ อัล-ญามิอฺ 6224 )

 

การวอนขอเพื่อลมปากที่หอมหวล

ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม  ได้กล่าวว่า

«وَلَخُلُوفُ فِيهِ أَطْيَبُ عِنْدَ اللَّهِ مِنْ رِيحِ الْمِسْكِ» (البخاري برقم 1894، مسلم برقم 1151)

ความว่า “และแท้จริงกลิ่นปากของผู้ที่ถือศีลอด ณ อัลลอฮฺนั้นหอมยิ่งกว่ากลิ่นของชะมดเชียงเสียอีก" (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 1894 และมุสลิม :1151)

 

การวอนขอเพื่อให้ได้ความยำเกรง

อัลลอฮฺ ได้ดำรัสว่า

﴿يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ كُتِبَ عَلَيۡكُمُ ٱلصِّيَامُ كَمَا كُتِبَ عَلَى ٱلَّذِينَ مِن قَبۡلِكُمۡ لَعَلَّكُمۡ تَتَّقُونَ ١٨٣ ﴾ (البقرة : 183)

ความว่า “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย! การถือศีลอดนั้นได้ถูกกำหนดแก่พวกเจ้าแล้ว เช่นเดียวกับที่ได้ถูกกำหนดแก่บรรดาผู้ก่อนหน้าพวกเจ้ามาแล้ว เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้ยำเกรง” (สูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 183)

 

เป็นการเข้าใกล้อัลลอฮฺ ตะอาลา

ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม  ได้กล่าวว่า อัลลอฮฺได้ดำรัสว่า

«وَمَا تَقَرَّبَ إِلَيَّ عَبْدِي بِشَيْءٍ أَحَبَّ إِلَيَّ مِمَّا افْتَرَضْتُ عَلَيْهِ» (البخاري برقم 6502)

ความว่า “และไม่มีสิ่งใดที่บ่าวของฉันได้(ปฏิบัติตน)เข้าใกล้กับฉันด้วยการงานหนึ่งที่ฉันโปรดปรานยิ่ง กว่าการปฏิบัติในสิ่งที่ฉันกำหนดเป็นฟัรฎู” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ 6502)

 

การวอนขอเพื่อได้รับตำแหน่งแห่งความอดทน

ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม  ได้กล่าวว่า

«شَهْرُ الصَّبْرِ، وَثَلَاثَةُ أَيَّامٍ مِنْ كُلِّ شَهْرٍ صَوْمُ الدَّهْرِ» (النسائي برقم 2408،  وصححه الألباني في صحيح الجامع 3718)

ความว่า “(การถือศีลอดใน)เดือนแห่งการอดทน(เราะมะฎอน) และสามวันของทุกๆ เดือนนั้น(เท่ากับ)การถือศีลอตลอดทั้งปี” (บันทึกโดย อัน-นะสาอีย์ : 2408 ชัยคฺอัล-อัลบานีย์ มีทัศนะว่า เศาะฮีหฺ ในหนังสือ เศาะฮีหฺ อัล-ญามิอฺ 3718)

 

ท่านอิบนุลก็อยยิม เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวถึง “การอดทน” ว่า “คือการอดทนในการเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺและการอดทนต่ออารมณ์ความใคร่”

 

..................................................

แปลโดย : แวมูฮัมหมัดซาบรี แวยะโก๊ะ

ตรวจทานโดย : ซุฟอัม  อุษมาน

คัดลอกจาก http://IslamHouse.com/364702

 

 

 

 

Maintained by: e-Daiyah Group (1429 H - 2008).