Loading

 

อรรถรสของอายะฮฺอัลกุรอาน ในวิถีชีวิตของกัลยาณชนชาวสะลัฟ

อรรถรสของอายะฮฺอัลกุรอาน

ในวิถีชีวิตของกัลยาณชนชาวสะลัฟ

 

            เป็นความจริงที่ว่าบรรพชนชาวสะลัฟ อัศ-ศอลิหฺ หรือกัลยาณชนรุ่นแรกของเรานั้นมีความรู้สึกที่สุขใจต่ออายะฮฺอัลกุรอานและสุนนะฮฺของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม  ทำให้พวกเขาได้ปฏิบัติมันในวิถีชีวิตของแต่ละวัน ซึ่งไม่เคยปรากฏว่าวิถีชีวิตนอกมัสญิดนั้นได้ทำให้พวกเขาหลุดพ้นจากสภาพเช่นนั้น วิถีชีวิตในแต่ละวันของพวกเขานั้นจะไม่แยกให้เป็นส่วนหนึ่งและแยกศาสนาออกเป็นส่วนหนึ่ง ทว่าทั้งสองส่วนนั้นได้เติมเต็มความสมบูรณ์ซึ่งกันและกัน โดยที่การนำอายะฮฺอัลกุรอานและสุนนะฮฺของท่านนบีไปใช้นั้นได้ฉายให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมในการเคลื่อนไหวและการดำเนินชีวิตของพวกเขา ซึ่งนี่คือเรื่องราวของท่านอับดุลลอฮฺ บินอุมัร ที่ท่านได้ตอบสนองในคำดำรัสของอัลลอฮฺ ตะอาลา ที่ว่า

﴿لَن تَنَالُواْ ٱلۡبِرَّ حَتَّىٰ تُنفِقُواْ مِمَّا تُحِبُّونَۚ ٩٢﴾ [آل عمران : 92]

ความว่า “พวกเจ้าจะไม่ได้คุณธรรมเลยจนกว่าพวกเจ้าจะบริจาคจากสิ่งที่พวกเจ้าชอบ” (สูเราะฮฺ อาลิ อิมรอน : 92)

            เมื่อท่านรู้สึกประทับใจในทรัพย์สินที่ท่านมีอยู่ ท่านก็จะใช้มันให้เป็นไปเพื่อสร้างความใกล้ชิดกับอัลลอฮฺ อัซซะวะญัลลา กระทั่งบรรดาทาสรับใช้ของท่านต่างก็รับรู้ในเรื่องนี้กัน จึงมีทาสรับใช้บางคนถึงกับพำนึกอยู่แต่ในมัสญิด ซึ่งเมื่อท่านอิบนุอุมัรเห็นเขาในสภาพเช่นนั้น ท่านก็ได้ปลดปล่อยเขาจากการเป็นทาสรับใช้โดยทันที กระทั่งมีบางคนได้กล่าวกับท่านว่า “ทาสรับใช้เหล่านั้น ต่างก็หลอกลวงท่านเท่านั้น” แต่ท่านอิบนุอุมัร กลับตอบว่า “ผู้ใดก็ตามที่หลอกลวงฉันเพื่ออัลลอฮฺ ฉันก็จะหลอกลวงตัวฉันเองเพื่อเขา” และปรากฏว่าท่านอิบนุอุมัรเองเคยครอบครองทาสสาวคนหนึ่งที่ท่านรักนางมาก แต่แล้วท่านก็ปลดปล่อยนางให้เป็นอิสระแล้วให้นางแต่งงานกับนาฟิอฺ ซึ่งเป็นทาสรับใช้คนหนึ่งที่ท่านเคยปลดปล่อยให้เป็นอิสระก่อนหน้านี้แล้ว และท่านได้กล่าวว่า แท้จริงอัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ดำรัสว่า  

﴿لَن تَنَالُواْ ٱلۡبِرَّ حَتَّىٰ تُنفِقُواْ مِمَّا تُحِبُّونَۚ ٩٢﴾ [آل عمران : 92]

ความว่า “พวกเจ้าจะไม่ได้คุณธรรมเลยจนกว่าพวกเจ้าจะบริจาคจากสิ่งที่พวกเจ้าชอบ” (สูเราะฮฺ อาลิ อิมรอน : 92)

            ครั้งหนึ่ง ท่านอิบนุอุมัรซื้ออูฐเพศผู้ตัวหนึ่งแล้วท่านรู้สึกประทับใจเมื่อได้ขี่มัน เมื่อเป็นเช่นนั้นท่านจึงกล่าวว่า โอ้นาฟิอฺเอ๋ย ! จงให้มันเป็นอูฐที่เศาะดะเกาะฮฺเถิด

            ท่านอิบนุญะอฺฟัร เคยมอบเงินให้ท่านอิบนุอุมัร 10,000 ดิรฮัม หรือมากกว่านั้นเพื่อที่จะซื้อตัวนาฟิอฺ แต่ท่านอิบนุอุมัรกลับตอบว่า “ฉันได้ปลดปล่อยให้เขาเป็นอิสระแล้ว เขาได้เป็นอิสระเพื่ออัลลอฮฺแล้ว”

            ท่านอิบนุอุมัรเคยซื้อเด็กน้อยคนหนึ่งด้วยราคา 40,000 ดิรฮัม แล้วท่านก็ได้ปล่อยให้เขาเป็นอิสระ เด็กน้อยคนนั้นจึงกล่าวต่อท่านว่า “โอ้เจ้านายของฉัน แน่แท้ท่านได้ปล่อยให้ฉันเป็นอิสระแล้ว ดังนั้นจงมอบเงินให้แก่ฉัน เพื่อที่ฉันจะใช้มันในการใช้ชีวิตต่อไปเถิด” ดังนั้นท่านจงมอบเงินให้แก่เขาเป็นจำนวนเงินถึง 40,000 ดิรฮัม

            และครั้งหนึ่ง ท่านเคยซื้อทาสรับใช้ถึง 5 คน ซึ่งเมื่อท่านได้ละหมาดพวกเขาทั้งหลายก็ได้ละหมาดตามหลังท่านด้วย ท่านจึงกล่าวแก่พวกเขาหลังจากละหมาดเสร็จว่า พวกเจ้าละหมาดเพื่อใครกระนั้นหรือ ? พวกเขาได้ตอบว่า เพื่ออัลลอฮฺ ท่านอิบนุอุมัรจึงกล่าวว่า พวกเจ้าทั้งหลายเป็นอิสระเพื่อผู้ที่พวกเจ้าได้ละหมาดแล้ว ดังนั้นท่านอิบนุอุมัรก็ปลดปล่อยให้พวกเขาเป็นอิสระทุกคน” (อัล-บิดายะฮฺ วัน-นิฮายะฮฺ 6 : 9)

            ดังนั้น อายะฮฺข้างต้นนี้

﴿لَن تَنَالُواْ ٱلۡبِرَّ حَتَّىٰ تُنفِقُواْ مِمَّا تُحِبُّونَۚ ٩٢﴾ [آل عمران : 92]

ความว่า “พวกเจ้าจะไม่ได้คุณธรรมเลยจนกว่าพวกเจ้าจะบริจาคจากสิ่งที่พวกเจ้าชอบ” (สูเราะฮฺ อาลิ อิมรอน : 92)

            หากมันได้รับการปฏิบัติในยุคของเราในปัจจุบันนี้ แน่แท้เราจะไม่พบคนยากไร้ หรือคนที่ถูกทอดทิ้งท่ามกลางพี่น้องมุสลิมที่มีอยู่อย่างมากมาย และแม้ว่ามุสลิมได้ปฏิบัติสิ่งนี้เพียงแค่ 10 % ก็ตาม เนื่องจากการกระทำดังกล่าวนั้นมันอยู่นอกเหนือจากการบังคับให้จ่ายซะกาตที่เป็นภาคบังคับ แต่มันเป็นการกระทำที่เปิดกว้างนั่นคือการบริจาคทาน(เศาะดะเกาะฮฺ) และมันเป็นสนามที่เปิดกว้างนั่นคือสนามที่ผู้คนสามารถใช้จ่ายทรัพย์สินเงินทองตามที่ตนปรารถนา และเป็นการออมทรัพย์สำหรับตัวของเขาเองด้วย

            ท่านอะลี บินอัล-หุสัยนฺ ได้ตอบสนองในคำดำรัสของอัลลอฮฺ ตะอาลา ที่ว่า

﴿وَٱلۡكَٰظِمِينَ ٱلۡغَيۡظَ وَٱلۡعَافِينَ عَنِ ٱلنَّاسِۗ وَٱللَّهُ يُحِبُّ ٱلۡمُحۡسِنِينَ ١٣٤﴾ [آل عمران : 134]

ความว่า “และบรรดาผู้ข่มโทษและบรรดาผู้ให้อภัยแก่เพื่อนมนุษย์และอัลลอฮฺนั้นทรงรักผู้กระทำดีทั้งหลาย” (สูเราะฮฺ อาลิอิมรอน : 134)

ซึ่งท่านอับดุรร็อซซาก ได้เล่าเรื่องนี้ว่า “ทาสสาวของท่านอะลี บินอัล-หะสัน ได้เทน้ำเพื่อให้ท่านอาบน้ำละหมาด ทันใดนั้นเหยือกน้ำนั้นก็ได้ร่วงหล่นจากมือของนางแล้วไปโดนหน้าของท่านอะลีเกิดแผล ท่านจึงเงยหน้ามองไปยังนาง เมื่อเป็นเช่นนั้นทาสสาวคนนั้นจึงกล่าวว่า “แท้จริงอัลลอฮฺ ได้ดำรัสว่า “และบรรดาผู้ข่มโทษ” ท่านอะลีจึงกล่าวว่า “ฉันกำลังข่มโทษตัวเองอยู่” นางจึงกล่าวว่า “และบรรดาผู้ให้อภัยแก่เพื่อนมนุษย์” ท่านอะลีจึงกล่าวตอบว่า “หวังว่าอัลลอฮฺจะทรงอภัยความผิดของเธอ” นางจึงกล่าวต่อว่า “และอัลลอฮฺนั้นทรงรักผู้กระทำดีทั้งหลาย” ท่านอะลีจึงกล่าวต่อว่า “เจ้าได้เป็นอิสระ(จากการเป็นทาส)เพื่อความโปรดปรานของอัลลอฮฺ ตะอาลาแล้ว” (มุศ็อนนิฟ อับดุรร็อซซาก : 8317)

และนี่คือเรื่องราวของท่านอุมัร บินอับดุลอะซีซ ที่ท่านได้ตอบสนองในดำรัสของอัลลอฮฺ ตะอาลา ที่ว่า

﴿إِنَّ وَلِـِّۧيَ ٱللَّهُ ٱلَّذِي نَزَّلَ ٱلۡكِتَٰبَۖ وَهُوَ يَتَوَلَّى ٱلصَّٰلِحِينَ ١٩٦﴾ [الأعراف : 196]

ความว่า “แท้จริงผู้คุ้มครองฉันนั้นคือ อัลลอฮฺผู้ทรงประทานคัมภีร์ลงมา และพระองค์ก็ทรงคุ้มครองบรรดาผู้ประพฤติดีทั้งหลาย” (สูเราะฮฺ อัล-อะอฺรอฟ : 196)

มีคนกล่าวแก่ท่านอุมัร บินอับดุลอะซีซในขณะที่ท่านนอนบนเตียงใกล้เสียชีวิตว่า “พวกเขาเป็นลูกๆของท่าน(ซึ่งมีจำนวน 12 คน) ท่านจะไม่สั่งเสียบางสิ่งบางอย่างแก่พวกเขา เพราะพวกเขาเป็นผู้ยากไร้ดอกหรือ ?” ท่านจึงกล่าวว่า “แท้จริงผู้คุ้มครองฉันนั้นคืออัลลอฮฺ ผู้ทรงประทานคัมภีร์ลงมา และพระองค์ก็ทรงคุ้มครองบรรดาผู้ประพฤติดีทั้งหลาย ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ ฉันจะไม่มอบสิ่งใดที่เป็นสิทธิ์ของผู้อื่นแก่พวกเขาเป็นอันขาด เพราะพวกเขาอยู่ระหว่างบุคคลสองประเภท บางทีเขาอาจจะเป็นผู้ประพฤติดี ดังนั้นอัลลอฮฺก็ทรงคุ้มครองบรรดาผู้ประพฤติดีทั้งหลาย และบางทีเขาอาจจะเป็นผู้ที่ประพฤติไม่ดี ซึ่งฉันจะไม่ช่วยเหลือการกระทำที่ฝ่าฝืน(ฟาสิก)ของเขา –ด้วยการให้ทรัพย์สินเงินทองอย่างแน่นอน(ผู้แปล)- ฉันไม่สนใจว่าเขาจะไปตายที่หุบเขาใด และฉันจะไม่ทิ้งสิ่งใดเพื่อเขาจะใช้มันในการฝ่าฝืนอัลลอฮฺ(มุอฺศิยะฮฺ) กระทั่งฉันกลายเป็นผู้มีส่วนร่วมกับเขา เมื่อเขาได้ประพฤติตัวภายหลังที่ฉันตายไป หลังจากนั้นท่านก็ได้เรียกลูกๆเพื่อกล่าวคำอำลาและสั่งเสียพวกเขาในสิ่งที่ท่านได้กล่าวไว้” แล้วท่านก็กล่าวต่ออีกว่า “พวกเจ้าทั้งหลายจงไปเถิด อัลลอฮฺจะทรงคุ้มครองพวกเจ้าเอง และดูแลคุ้มครองพวกเจ้าอย่างดีที่สุด”

ผู้คนได้กล่าวว่า “เป็นความจริงที่ว่า พวกเราได้เห็นลูกๆบางคนของท่านอุมัร บินอับดุลอะซีซ นำม้า 80 ตัว(บริจาค)เพื่อใช้หนทางของอัลลอฮฺ แต่ลูกๆบางคนของสุลัยมาน บินอับดุลมะลิก(เคาะลีฟะฮฺ สมัยอุมาวิยะฮฺ ปี ฮ.ศ 96-99)ด้วยกับทรัพย์สินจำนวนมากมายที่สุลัยมานได้ให้แก่ลูกๆของเขา แต่พวกเขาเหล่านั้นกลับต้องไปขอยืมทรัพย์สินจากลูกๆของท่านอุมัร บินอับดุลอะซีซ เนื่องจากว่าท่านอุมัรได้มอบหมายลูกของท่านไว้กับอัลลอฮฺ อัซซะวะญัลลา แต่สุลัยมานและคนอื่นๆกลับมอบหมายลูกๆของพวกเขาไว้กับสิ่งที่พวกเขาได้ให้ กระทั่งทรัพย์สินเหล่านั้นหมดสิ้นและจากไปด้วยกับอารมณ์ใคร่ของลูกๆพวกเขา” (อัล-บิดายะฮฺ วัน-นิฮายะฮฺ : 9/218)

ด้วยอายะฮฺเดียวเท่านั้น ที่ท่านอุมัร บินอับดุลอะซีซได้นำมาใช้ในสิทธิของลูกๆของท่าน ดังนั้นพวกเขาจึงได้รับการปกป้องดูแลด้วยพระประสงค์ของอัลลอฮฺ และได้รับประกันพวกเขาให้อยู่ในความดีงามทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ดังนั้น สมควรอย่างยิ่งที่ผู้ศรัทธาต้องเรียนรู้ว่าจะอบรมสั่งสอนครอบครัวอย่างไร ? และจะปกป้องดูแลลูกๆในมุมมองอิสลามในรูปแบบใด ?

กระทั่ง นักกวีหลายท่านก็เช่นเดียวกัน พวกเขามีส่วนในการเข้าใจอัลกุรอานและสุนนะฮฺของท่านนบี และได้นำบทบัญญัติเหล่านั้นไปใช้ในวิถีชีวิตของแต่ละวัน และนี่คือเรื่องราวของท่านอัล-ฟะร็อซดัก ซึ่งท่านเป็นนักกวีที่ตอบสนองในคำดำรัสของอัลลอฮฺ ตะอาลา ที่ว่า

﴿فَفَهَّمۡنَٰهَا سُلَيۡمَٰنَۚ وَكُلًّا ءَاتَيۡنَا حُكۡمٗا وَعِلۡمٗاۚ ٧٩﴾ [الأنبياء : 79]

ความว่า “ดังนั้น เราได้ดลใจให้สุลัยมานเข้าใจการตัดสินนั้น และเราได้ให้ความเฉลียวฉลาดและวิชาความรู้ที่หลักแหลมแก่แต่ละคน” (สูเราะฮฺ อัล-อัมบิยาอ์ : 79)

มีคนรายงานว่า “อัล-วะลีดได่ส่งทูตไปยังกษัตริย์ของโรมันเพื่อขอช่วยส่งช่างหินอ่อนและอื่นๆ เพื่อทำการบูรณะมัสญิดอัล-อะมะวีย์ ณ เมืองดิมัชกฺ ตามที่ท่านอัล-วะลีดปรารถนา ดังนั้น กษัตริย์ของโรมันจึงส่งช่างจำนวนมากถึง 200 คนให้แก่ท่าน พร้อมทั้งเขียนสาส์นถึงท่านว่า “หากบิดาของท่านเข้าใจในสิ่งที่ท่านกำลังทำอยู่แต่เขากลับละเว้นที่จะทำ แท้จริงมันก็เป็นสิ่งที่น่าอับอายสำหรับท่าน แต่หากบิดาของท่านไม่เข้าใจแต่ท่านกลับเข้าใจ ท่านก็ได้สร้างความน่าอับอายต่อบิดาของท่าน” ครั้นเมื่อสาส์นนั้นมาถึงท่านอัล-วะลีด ท่านก็ต้องการที่ตอบโต้สาส์นฉบับนั้น ผู้คนจึงมารวมตัวกันเบื้องหน้าของท่าน ซึ่งในกลุ่มคนเหล่านั้นก็มีนักกวีท่านหนึ่งที่ชื่อ อัล-ฟะร็อซดัก ได้กล่าวว่า ฉันขอตอบสาส์นฉบับนี้ด้วยคำดำรัสของอัลลอฮฺเองครับ โอ้อะมีรุลมุอ์มินีน ท่านอัล-วะลีดจึงกล่าวว่า มันคืออายะฮฺใดกระนั้นหรือ ? เขาก็ได้ตอบว่า อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ดำรัสว่า

﴿فَفَهَّمۡنَٰهَا سُلَيۡمَٰنَۚ وَكُلًّا ءَاتَيۡنَا حُكۡمٗا وَعِلۡمٗاۚ ٧٩﴾ [الأنبياء : 79]

ความว่า “ดังนั้น เราได้ดลใจให้สุลัยมานเข้าใจการตัดสินนั้น และเราได้ให้ความเฉลียวฉลาดและวิชาความรู้ที่หลักแหลมแก่แต่ละคน” (สูเราะฮฺ อัล-อัมบิยาอ์ : 79)

            ท่านสุลัยมาน นั้นคือลูกของท่านนบีดาวูด โดยที่อัลลอฮฺได้ดลใจให้ท่านเข้าใจในสิ่งที่บิดาของท่านไม่เข้าใจ ซึ่งท่านอัล-วะลีดก็มีความประทับใจในคำตอบข้างต้นนั้นจึงส่งคำโต้ตอบนี้ไปยังกษัตริย์โรมัน ซึ่งท่านอัล-ฟะร็อซดัก ได้ร่ายบทกลอนถึงเรื่องนี้ว่า

فرقت بين النصارى في كنائسهم *** والعابدين مع الأسحار والغنم
وهم جميعًا إذا صلوا وأوجههم *** شتى إذا سجدوا لله والصنم
وكيف يجتمع الناقوس يضربه *** أهل الصليب مع القراء لم تنم
فهمت تحويلها عنهم كما فهما *** إذ يحكمان لهم في الحرث والغنم
داود والملك المهدي إذ جزآ *** ولادها واجتزاز الصوف بالجلم
فهمك الله تحويلا لبيعتهم *** عن مسجد فيه يتلى طيب الكلم
ما من أب حملته الأرض نعمله *** خير بنين ولا خير من الحكم
(ดู อัล-บิดายะฮฺ วัน-นิอายะฮฺ 9/153)

ท่านอับดุลมะลิก บินมัรวาน ผู้ที่สามารถพิชิตเมืองต่างๆได้อย่างมากมายให้เป็นรัฐอิสลาม แต่ครั้นเมื่อท่านได้นอนบนเตียงใกล้เสียชีวิต ท่านได้ตอบสนองในดำรัสอของอัลลอฮฺ ตะอาลา ที่ว่า

﴿وَلَقَدۡ جِئۡتُمُونَا فُرَٰدَىشٰ كَمَا خَلَقۡنَٰكُمۡ أَوَّلَ مَرَّةٖ ٩٤﴾ [الأنعام : 94]

ความว่า “และแน่นอนพวกเจ้าได้มายังเราโดยลำพังเยี่ยงที่เราได้บังเกิดพวกเจ้ามาในครั้งแรก” (สูเราะฮฺ อัล-อันอาม : 94)

            ท่านอบูมุสฮิร ได้เล่าว่า “มีคนถามท่านอับดุลมะลิกในช่วงที่ท่านเจ็บป่วยใกล้เสียชีวิตว่า ท่านรู้สึกอย่างไรบ้าง ?” ท่านได้ตอบว่า “ฉันมีความรู้สึก ดังที่อัลลอฮฺ ตะอาลา ทรงมีดำรัสว่า           

﴿وَلَقَدۡ جِئۡتُمُونَا فُرَٰدَىٰ كَمَا خَلَقۡنَٰكُمۡ أَوَّلَ مَرَّةٖ وَتَرَكۡتُم مَّا خَوَّلۡنَٰكُمۡ وَرَآءَ ظُهُورِكُمۡۖ وَمَا نَرَىٰ مَعَكُمۡ شُفَعَآءَكُمُ ٱلَّذِينَ زَعَمۡتُمۡ أَنَّهُمۡ فِيكُمۡ شُرَكَٰٓؤُاْۚ لَقَد تَّقَطَّعَ بَيۡنَكُمۡ وَضَلَّ عَنكُم مَّا كُنتُمۡ تَزۡعُمُونَ ٩٤﴾ [الأنعام : 94]

ความว่า “และแน่นอนพวกเจ้าได้มายังเราโดยลำพังเยี่ยงที่เราได้บังเกิดพวกเจ้ามาในครั้งแรก และพวกเจ้าได้ละทิ้งสิ่งที่เราได้ให้แก่พวกเจ้าไว้เบื้องหลังของพวกเจ้า และเราไม่เห็นอยู่กับพวกเจ้าบรรดาผู้ที่จะช่วยเหลือพวกเจ้าที่พวกเจ้าได้อ้างไว้ว่าพวกเขาเป็นผู้มีหุ้นส่วนในพวกเจ้า แน่นอนได้ขาดเป็นเสี่ยงๆแล้วในระหว่างพวกเจ้า และได้หายจากพวกเจ้าสิ่งที่พวกเจ้าได้อ้างไว้” (สูเราะฮฺ อัล-อันอาม : 94)

 

            ท่านอับดุลมะลิกได้กล่าวอีกว่า “โอ้...ถ้าฉันเป็นคนทำความสะอาดและได้ดำเนินชีวิตด้วยกับสิ่งที่ฉันได้หามากับ มือของฉันเองก็น่าจะดี” ดังนั้นเมื่อคำพูดของท่านได้ยินไปถึงท่านสะอีด บินอัล-มุสัยยิบ ท่านจึงกล่าวว่า “อัลหัมดุลิลลาฮฺ ผู้ทรงให้พวกเขามุ่งมาหาเราก่อนเสียชีวิต การเสียชีวิตของเขาได้ทำให้เราใกล้ชิดกับวันอาคิเราะฮฺ และไม่ได้ทำให้เราใกล้ชิดกับตัวของเขา” (ดูในอัล-กามิล ฟิตตารีค เหตุการณ์ในปี ฮศ. 86 เล่ม 3)

            ฉันขอกล่าวต่อบรรดาผู้พิพากษาของประชาชาตินี้ซึ่งมีจำนวนไม่ใช่น้อยในหมู่พวกเขาที่ออกห่างจากความเป็นจริงและผินหลังให้กับมัน  ซึ่งฉันขอนำเรื่องราวที่ท่านอัล-มุฮฺตะดีย์ ซึ่งเป็นเคาะลีฟะฮฺ อัล-อับบาสีย์ ได้พิพากษาด้วยความยุติธรรมและได้นำอายะฮฺอัลกุรอานอันทรงเกียรติ ไปใช้ ซึ่งท่านอัล-เคาะฏีบ อัล-บัฆดาดีย์ ได้รายงานว่า ชายคนหนึ่งได้ขอความช่วยเหลือท่านอัล-มุฮฺตะดีย์ให้พิพากษาในข้อพิพาทของเขา ดังนั้นท่านจึงพิพากษาระหว่างทั้งสองด้วยความยุติธรรม ทำให้ชายคนนั้นจึงพรรณาถึงท่านในบทกวีไว้ว่า

حكمتموه فقضى بينكم *** أبلج مثل القمر الزاهر
لا يقبل الرشوة في حكمه *** ولا يبالي غبن الخاسر
พวกท่านให้เขาเป็นผู้พิพากษา

เขาก็ให้คำพิพากษาและการตัดสินระหว่างพวกท่าน

ด้วยการตัดสินที่แจ่มชัดดั่งจันทร์เพ็ญที่สว่างไสว

เขาจะไม่รับสินบนในการให้คำพิพากษา

และไม่สนใจต่อความรู้สึกเสียใจของคนที่เสียผลประโยชน์

เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านอัล-มุฮฺตะดีย์ จึงกล่าวแก่เขาว่า “สำหรับท่านแล้วโอ้ชายหนุ่มเอ๋ย หวังว่าอัลลอฮฺทรงให้คำพูดของท่านนั้นมีความดีงาม ซึ่งฉันไม่ได้หลงใหลในสิ่งที่เจ้าได้พูดเลย แต่สำหรับฉันแล้ว ฉันจะไม่นั่งอยู่ ณ สถานที่นี้ จนกว่าฉันได้อ่านคำดำรัสของอัลลอฮฺ ตะอาลา ที่ว่า

﴿وَنَضَعُ ٱلۡمَوَٰزِينَ ٱلۡقِسۡطَ لِيَوۡمِ ٱلۡقِيَٰمَةِ فَلَا تُظۡلَمُ نَفۡسٞ شَيۡ‍ٔٗاۖ وَإِن كَانَ مِثۡقَالَ حَبَّةٖ مِّنۡ خَرۡدَلٍ أَتَيۡنَا بِهَاۗ وَكَفَىٰ بِنَا حَٰسِبِينَ ٤٧﴾ [الأنبياء : 47]

ความว่า “และเราตั้งตราชูที่เที่ยงธรรมสำหรับวันกิยามะฮฺ ดังนั้นจะไม่มีชีวิตใดถูกอธรรมแต่อย่างใดเลย และแม้ว่ามันเป็นเพียงน้ำหนักเท่าเมล็ดพืชเล็กเราก็จะนำมันมาแสดง และเป็นการพอเพียงแล้วสำหรับเราที่เป็นผู้ชำระสอบสวน” (สูเราะฮฺ อัล-อัมบิยาอ์ :47)

            ท่านได้รายงานอีกว่า “ผู้คนที่อยู่รายล้อมท่านต่างพากันร้องไห้ ซึ่งฉันไม่เคยเห็นผู้คนที่ร้องไห้มากกว่าวันนั้นเลย” (ดูในอัล-กามิล ฟิต-ตารีค เหตุการณ์ในปี ฮ.ศ. 256 เล่ม 4)

            ท่านมัยมูน บินมะฮฺรอน ท่านได้นำบางอายะฮฺของคัมภีร์อัลกุรอานไปใช้ ดังที่ท่านอุมัร บินมัยมูนได้เล่าว่า “ฉันได้ออกเดินทางพร้อมกับท่านพ่อเพื่อนำทางท่านไปตามเส้นทางของเมืองบัศเราะฮฺ และแล้วเราก็เดินมาถึงลำธารแห่งหนึ่งซึ่งท่านพ่อไม่สามารถที่จะเดินข้ามไปได้ ฉันจึงลงนอนราบแล้วให้ท่านเดินข้ามบนหลังฉัน หลังจากนั้นฉันก็ได้ลุกขึ้นมาและจับมือของท่านแล้วมุ่งหน้าไปยังบ้านของท่านอัล-หะสัน เมื่อมาถึงหน้าบ้านฉันจึงเคาะประตูบ้านเพื่อเรียก ทันใดนั้นทาสหญิงก็ถามขึ้นมาว่า นั่นใคร ? ฉันจึงตอบไปว่า นี่คือมัยมูน บินมะฮฺรอน ท่านต้องการที่จะพบกับอัล-หะสัน ทาสหญิงคนนั้นก็ได้ถามอีกว่า ท่านเป็นเลขานุการของท่านอุมัร บินอับดุลอะซีซใช่หรือไม่ ? ฉันก็ตอบว่า ใช่แล้ว ทาสหญิงคนนั้นจึงกล่าวว่า โอ้ช่างเวทน่ายิ่งนักที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ท่ามกลางยุคสมัยที่มีแต่สิ่งที่เลวร้าย ท่านอุมัร บินมัยมูนเล่าต่อว่า พ่อของฉันจึงร้องไห้จนท่านอัล-หะสันได้ยินเสียงร้องไห้นั้นพลันเดินออกมาหาแล้วสวมกอดกันและพาเข้าไปในบ้าน หลังจากนั้นท่านมัยมูนก็ได้กล่าวว่า โอ้ท่านอบูสะอีด(ท่านอัล-หะสัน) ที่จริงแล้วฉันมีความรู้สึกว่าหัวใจของฉันนั้นแข็งกระด้าง ท่านช่วยทำให้มันอ่อนโยนสงบลงหน่อยเถิด เมื่อเป็นเช่นนั้นท่านอัล-หะสันจึงได้อ่านอายะฮฺว่า

﴿أَفَرَءَيۡتَ إِن مَّتَّعۡنَٰهُمۡ سِنِينَ ٢٠٥ ثُمَّ جَآءَهُم مَّا كَانُواْ يُوعَدُونَ ٢٠٦ مَآ أَغۡنَىٰ عَنۡهُم مَّا كَانُواْ يُمَتَّعُونَ ٢٠٧﴾ [الشعراء : 205-207]

ความว่า “เจ้าไม่เห็นดอกหรือ หากเราให้พวกเขารื่นเริงไปอีกเป็นปี ๆ แล้วสิ่งที่พวกเขาถูกสัญญาไว้ ก็ได้เกิดขึ้นแก่พวกเขา สิ่งที่พวกเขาได้ถูกให้รื่นเริงนั้นจะไม่อำนวยประโยชน์อันใดให้แก่พวกเขา” (สูเราะฮฺ อัช-ชุอะรออ์ : 205-207)

ครั้นเมื่อได้ยินอายะฮฺนี้ท่านพ่อถึงกับเป็นลมล้มลง ซึ่งฉันเห็นเท้าของท่านถูไถไปมาประหนึ่งการถูไถของแกะเมื่อถูกเชือด ซึ่งเหตุการณ์นี้ได้ใช้เวลาไปนานพอสมควร ทาสหญิงคนนั้นจึงมาหาแล้วได้กล่าวว่า “พวกท่านได้ทำให้ท่านอัล-หะสันเหนื่อยมามากพอแล้ว ปล่อยให้ท่านได้พักผ่อนเถิด” ดังนั้นฉันจึงจับมือของท่านพ่อแล้วพากันออกจากบ้านนั้น ซึ่งฉันได้ถามท่านพ่อว่า โอ้ท่านพ่อของฉัน นั้นคือท่านอัล-หะสันใช่ไหม ? ท่านตอบว่า ใช่แล้ว ฉันจึงกล่าวว่า “ฉันเคยคิดว่าท่านอัล-หะสันคงจะมีความสูงศักดิ์มากกว่านี้” พ่อของฉันจึงได้ทุบที่หน้าอกของฉันพลันกล่าวว่า “โอ้ลูกเอ่ย แท้จริงอายะฮฺที่ถูกอ่านให้แก่เรานั้น ถ้าเจ้าเข้าใจมันอย่างถ่องแท้ด้วยหัวใจของเจ้าแล้วไซร้ เจ้าจะรู้สึกว่ามันมีความเจ็บปวดอย่างยิ่ง” (อัล-บิดายะฮฺ วัน-นิฮายะฮฺ เล่ม 9 หน้า 327)”

มาถึงเรื่องราวของท่านอัล-หัจญาจญ์ บินยูสุฟ อัษ-เษาะก่อฟีย์ซึ่งเป็นจอมเผด็จการและไร้ความปรานี กระนั้นก็ตามเขาก็ยังได้รับผลสะท้อนจากอายะฮฺอัลกุรอานและได้นำมันมาใช้ ลำได้ให้คำดำรัสของอัลลอฮฺนั้นอยู่เหนือกว่าคำพูดอื่นๆ ท่านอัล-ฮัยษัม บินอัดดีย์ ได้เล่าเรื่องนี้ว่า “ชายคนหนึ่งได้มาหาท่านอัล-หัจญาจญ์แล้วได้กล่าวว่า “แท้จริงพี่ชายของฉันได้ออกไปเข้าร่วมกับอิบนุอัล-อัชอัษ ชื่อของฉันจึงถูกลบออกจากบัญชีและฉันไม่ได้รับการอุดหนุนทางการเงินใดๆ อีก รวมถึงบ้านของฉันก็ถูกรื้อถอนออกไป” ท่านอัล-หัจญาจญ์จึงกล่าวว่า “เจ้าไม่เคยได้ยินคำพูดของนักกวีหรอกหรือที่ว่า”

حنانيك من تجنى عليك وقد *** تعدى الصحاح مبارك الجرب
ولرب مأخوذ بذنب قريبه *** ونجا المقارف صاحب الذنب
ความหวังของเจ้าที่มีต่อคนที่ทำร้ายตัวเจ้า

ก็เป็นเหมือนคนที่จะหายขาดจากการเป็นโรคเรื้อน

และบางทีคนคนหนึ่งถูกลงโทษเนื่องเพราะความผิดของคนใกล้ชิดเขา

ทั้งๆ ที่คนทำผิดนั้นกลับปลอดภัยจากสิ่งที่เขาได้ทำ

ชายคนนั้นจึงตอบกลับไปว่า “โอ้ท่านผู้นำเอ่ย แท้จริงฉันเคยได้ยินคำดำรัสของอัลลอฮฺซึ่งพระองค์ทรงมีดำรัสที่ต่างจากนี้ และคำดำรัสของอัลลอฮฺนั้นทรงมีความสัจจริงยิ่งกว่าคำพูดนี้เสียอีก” ท่านอัล-หัจญาจญ์จึงถามว่า “พระองค์ทรงดำรัสไว้เช่นไรกระนั้นหรือ ?” ชายคนนั้นจึงกล่าวว่า อัลลอฮฺ ตะอาลา ทรงมีดำรัสว่า

﴿قَالُواْ يَٰٓأَيُّهَا ٱلۡعَزِيزُ إِنَّ لَهُۥٓ أَبٗا شَيۡخٗا كَبِيرٗا فَخُذۡ أَحَدَنَا مَكَانَهُۥٓۖ إِنَّا نَرَىٰكَ مِنَ ٱلۡمُحۡسِنِينَ ٧٨ قَالَ مَعَاذَ ٱللَّهِ أَن نَّأۡخُذَ إِلَّا مَن وَجَدۡنَا مَتَٰعَنَا عِندَهُۥٓ إِنَّآ إِذٗا لَّظَٰلِمُونَ ٧٩﴾ [يوسف : 78-79]

ความว่า “พวกเขากล่าวว่า “โอ้ท่านผู้ว่าฯ เขามีพ่อที่แก่ชรามากแล้ว ขอได้โปรดเอาคนหนึ่งในพวกเราไว้แทน แท้จริงเราเห็นว่าท่านนั้นอยู่ในหมู่ผู้ทำความดี”เขากล่าวว่า “เราขอความคุ้มครองด้วยอัลลอฮฺ ที่เราจะเอาคนอื่น นอกจากผู้ที่เราพบทรัพย์สินของเราอยู่ที่เขา ดังนั้น แท้จริงเราก็เป็นผู้อธรรมอย่างแน่นอน”” (สูเราะฮฺ ยูสุฟ : 78-79)

ท่านอัล-หัจญาจญ์จึงกล่าวว่า “โอ้เด็กน้อยเอ่ย จงใส่ชื่อของเขากลับไปในบัญชีใหม่อีกครั้ง และจงสร้างที่พักใหม่ให้แก่เขา และจงให้การอุดหนุนต่างๆ ที่เขาควรได้รับสิทธินั้น และจงเรียกคนป่าวประกาศแล้วให้เขาประกาศว่า อัลลอฮฺนั้นทรงสัจจริงและนักกวีนั้นมีความมดเท็จ” (อัล-บิดายะฮฺ วัน-นิฮายะฮฺ 9/130)

            อย่างไรก็ตามการตอบสนองต่อสิ่งที่ทำลายสภาพจิตใจก็ย่อมเป็นสิ่งที่ถูกปฏิเสธ ถึงแม้ว่าในหน้าประวัติศาสตร์ของเรานั้นจะมีผู้ที่ได้รับผลสะท้อนและได้ตอบสนองต่ออายะฮฺอัลกุรอานแล้วทำให้เขาเกิดการเปลี่ยนแปลงในชีวิตก็ตาม ซึ่งการกระทำเช่นนั้นหรือคล้ายคลึงกันนั้นก็ย่อมเป็นสิ่งที่สวนทางกับแบบฉบับของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม 

            ส่วนนี้คือเรื่องราวของท่านซุรอเราะฮฺ บินเอาฟา บินหาญิบ อัล-อามิรีย์ ท่านเป็นผู้พิพากษาแห่งเมืองบัศเราะฮฺ และเป็นอุละมาอ์อวุโสของชาวบัศเราะฮฺด้วยเช่นกัน ซึ่งเรื่องราวของท่านนั้นมีการรายงานอย่างมากมายว่าครั้งหนึ่งท่านได้อ่านอัลกุรอานสูเราะฮฺอัล-มุดัษษิรในละหมาดศุบหฺ  ครั้นเมื่อถึงอายะฮฺ

﴿فَإِذَا نُقِرَ فِي ٱلنَّاقُورِ ٨﴾ [المدثر : 8]

ความว่า “ในที่สุด เมื่อเสียงเป่าถูกเป่าขึ้น” (สูเราะฮฺอัล-มุดดัษษิร : 8) ท่านก็ได้เสียชีวิตลง (ดูใน อัล-อิบัร ฟี เคาะบัรฺ มัน เฆาะบัรฺ)

            และนี่คือเรื่องราวของชายหนุ่มผู้มีความสมถะและเป็นที่มั่นเพียรในการทำอิบาดะฮ นั่นคือ“ท่านยะอฺกูบ อัล-กูฟีย์” ซึ่งท่านได้เสียชีวิตหลังจากที่ได้ยินอายะฮฺอัลกุรอานเช่นเดียวกัน

            มีรายงานจากท่านอะลี บินอัล-มุวัฟฟัก ได้กล่าวว่า ท่านมันศูน บินอัมมาร ได้เล่าว่า “ในค่ำคืนหนึ่งฉันได้ออกจากบ้านเพื่อไปยังมัสญิดซึ่งฉันเข้าใจว่ามันถึงเวลาละหมาดศุบหฺแล้วแต่มันก็ยังไม่ถึงเวลา เมื่อเป็นเช่นนั้นฉันจึงนั่งลงที่หน้าประตูเล็กของมัสญิดและแล้วฉันก็ได้ยินชายหนุ่มกำลังร่ำไห้และคร่ำครวญว่า “ขอสาบานด้วยกับเกียรติศักดิ์และความสูงส่งของพระองค์ ฉันไม่มีความปรารถนาที่จะทำผิดและฝ่าฝืนต่อพระองค์ใดๆเลย ทว่าจิตใจของฉันได้ครอบงำตัวฉัน ความทุกข์ยากที่ฉันประสบได้เอาชนะตัวฉัน และความผิดบาปที่พระองค์ทรงปกปิดให้แก่ฉันนั้นได้หลอกลวงตัวฉัน แล้ว ณ เวลานี้จะมีผู้ใดอีกเล่าที่จะช่วยเหลือฉันให้รอดพ้นจากการลงโทษของพระองค์ได้ แล้วจะยังมีสายเชือกของผู้ใดอีกเล่าที่จะผูกเชื่อมไปยังพระองค์ได้หากพระองค์นั้นได้ตัดสายเชือกที่ผูกมายังฉันนั้นออกไปแล้ว โอ้...เป็นที่น่าเสียใจอย่างยิ่งสำหรับวันเวลาที่ได้ผ่านพ้นไปกับการทำผิดต่อพระเจ้าของฉัน กี่มากน้อยแล้วที่ฉันได้เตาบัตตัวแต่แล้วฉันก็กลับไปทำมันอีก แต่ในขณะนี้มันถึงเวลาแล้วที่ฉันต้องมีความละอายใจต่อพระเจ้าของฉัน” ท่านมันศูรได้เล่าต่อว่า “แล้วฉันก็ได้อ่านอายะฮฺว่า

﴿يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ قُوٓاْ أَنفُسَكُمۡ وَأَهۡلِيكُمۡ نَارٗا وَقُودُهَا ٱلنَّاسُ وَٱلۡحِجَارَةُ عَلَيۡهَا مَلَٰٓئِكَةٌ غِلَاظٞ شِدَادٞ لَّا يَعۡصُونَ ٱللَّهَ مَآ أَمَرَهُمۡ وَيَفۡعَلُونَ مَا يُؤۡمَرُونَ ٦﴾ [التحريم : 6]

ความว่า “ฉันขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺจากมารร้ายที่ถูกสาปแช่ง ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงกรุณาปรานียิ่ง โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย จงคุ้มครองตัวของพวกเจ้าและครอบครัวของพวกเจ้าให้พ้นจากไฟนรก เพราะเชื้อเพลิงของมันคือมนุษย์ และก้อนหิน มีมะลาอิกะฮฺผู้แข็งกร้าวหาญคอยเฝ้ารักษามันอยู่ พวกเขาจะไม่ฝ่าฝืนอัลลอฮฺในสิ่งที่พระองค์ทรงบัญชาแก่พวกเขา และพวกเขาจะปฏิบัติตามที่ถูกบัญชา” ” (สูเราะฮฺอัต-ตะหฺรีม : 6)

ท่านมันศูรได้เล่าต่อว่า “และแล้วฉันก็ได้ยินเสียงร้องไห้และเสียงที่บ่งถึงความหวาดกลัวที่ดังกระหึ่ม แต่ฉันก็มีเหตุที่ต้องไปทำธุระที่อื่นต่อ ครั้นเมื่อฉันกลับมาแล้วเดินผ่านประตูนั้นอีกครั้งก็พบว่ามีศพ(ญะนาซะฮฺ)ถูกตั้งไว้ ฉันจึงถามถึงคนที่เสียชีวิตว่าคือใคร ซึ่งนั้นคือชายหนุ่มที่ได้เสียชีวิตเนื่องด้วยอายะฮฺที่ฉันอ่านไปนั้นเอง” (อัล-บิดายะฮฺ วัน-นิฮายะฮฺ 10/185)

            และท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม เคยสดับฟังคำดำรัสของอัลลอฮฺถูกอ่านให้ท่าน ซึ่งท่านได้รับผลสะท้อนและได้ตอบสนองต่ออายะฮฺนั้นด้วยกับการที่ท่านได้ร่ำไห้และคร่ำครวญออกมา และไม่มีสิ่งใดที่เพิ่มพูนในตัวของท่านนอกจากความนอบน้อม ความหวาดกลัว ความหวัง และสิ่งที่มันเป็นความลับที่มีต่อพระเจ้าของท่าน ในส่วนเรื่องราวที่มีการบันทึกในหน้าประวัติศาสตร์ที่มีการระบุถึงการเสียชีวิตของคนหลังจากที่ได้ยินอัลกุรอานนั้นถือเป็นสิ่งที่สวนทางกับหลักการของอิสลาม

            เรื่องราวของท่านสะอัด บินอบีวักกอศ ผู้ที่สามารถพิชิตเมืองต่างๆได้อย่างมากมาย หนึ่งในนั้นคือ ท่านได้พิชิตเมืองหลวงของเปอร์เซีย(ประเทศอีหร่านในปัจจุบัน) ซึ่งเมื่อท่านสามารถยึดพระราชวังของพวกเขาได้ ท่านก็ได้เปลี่ยนที่บริหารกิจการนั้นเป็นที่ละหมาด และในขณะที่ท่านได้เข้าไปในพระราชวังท่านก็ได้อายะฮฺนี้

﴿كَمۡ تَرَكُواْ مِن جَنَّٰتٖ وَعُيُونٖ ٢٥ وَزُرُوعٖ وَمَقَامٖ كَرِيمٖ ٢٦ وَنَعۡمَةٖ كَانُواْ فِيهَا فَٰكِهِينَ ٢٧ كَذَٰلِكَۖ وَأَوۡرَثۡنَٰهَا قَوۡمًا ءَاخَرِينَ ٢٨ فَمَا بَكَتۡ عَلَيۡهِمُ ٱلسَّمَآءُ وَٱلۡأَرۡضُ وَمَا كَانُواْ مُنظَرِينَ ٢٩﴾ [الدخان : 25-29]

ความว่า “กี่มากน้อยที่พวกเขาได้ทิ้งสวนหลากหลาย และน้ำพุหลายแห่ง และเรือกสวนไร่นา และอาคารรโหฐานอันมีเกียรติ และความสะดวกสบายที่พวกเขาสนุกสนานร่าเริง  เช่นนั้นแหละ เราได้ให้หมู่ชนอื่นรับมรดกครอบครองมัน และชั้นฟ้า และแผ่นดินมิได้ร่ำไห้เพราะ (เสียดาย) พวกเขาและพวกเขาจะไม่ถูกประวิงเวลา” (สูเราะฮฺ อัด-ดุคอน : 25-29) (ดูใน อัล-กามิล ฟีอัต-ตารีค เหตุการณ์ในปีที่ 86 เล่มที่ 3)

ฉันขอกล่าวแก่ผู้นำมุสลิมทั้งหลาย เมื่อไหร่กันที่พวกเราจะพาเข้าไปในเมืองปารีส, กรุงเวียนนา, เมืองวอชิงตัน และเมืองลอนดอน แล้วเราพากันอ่านอายะฮฺนี้ด้วยกัน 

﴿كَمۡ تَرَكُواْ مِن جَنَّٰتٖ وَعُيُونٖ ٢٥ وَزُرُوعٖ وَمَقَامٖ كَرِيمٖ ٢٦ وَنَعۡمَةٖ كَانُواْ فِيهَا فَٰكِهِينَ ٢٧ كَذَٰلِكَۖ وَأَوۡرَثۡنَٰهَا قَوۡمًا ءَاخَرِينَ ٢٨ فَمَا بَكَتۡ عَلَيۡهِمُ ٱلسَّمَآءُ وَٱلۡأَرۡضُ وَمَا كَانُواْ مُنظَرِينَ ٢٩﴾ [الدخان : 25-29]

ความว่า “กี่มากน้อยที่พวกเขาได้ทิ้งสวนหลากหลาย และน้ำพุหลายแห่ง และเรือกสวนไร่นา และอาคารรโหฐานอันมีเกียรติ และความสะดวกสบายที่พวกเขาสนุกสนานร่าเริง  เช่นนั้นแหละ เราได้ให้หมู่ชนอื่นรับมรดกครอบครองมัน และชั้นฟ้า และแผ่นดินมิได้ร่ำไห้เพราะ (เสียดาย) พวกเขาและพวกเขาจะไม่ถูกประวิงเวลา” (สูเราะฮฺ อัด-ดุคอน : 25-29)

            เหล่านี้คือเรื่องราวของอนุชนผู้ที่สามารถพิชิตโลกได้ทุกพื้นที่ ซึ่งเนื้อหาของอัลกุรอานและอัส-สุนนะฮฺได้ไหลเวียนในเส้นเลือดโดยเข้าไปปะปนกับก้อนเลือดและไขมันของพวกเขา แต่ ณ วันนี้ท่านแทบจะไม่พบผู้ปกครองหรือผู้อยู่ภายใต้การปกครองคนใดเลย –นอกจากคนที่อัลลอฮฺทรงเมตตาเขา-ที่เป็นผู้ที่เข้าใจอัลกุรออานและตอบสนองต่อมันโดยนำไปใช้ในวิถีชีวิตของเขาอย่างเป็นรูปธรรม  อินนาลิลลาฮฺ วะอินนาอิลัยฮิรอญิอูน (เราเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ และยังพระองค์ที่เราจะกลับไป)

            ฉันขอวิงวอต่ออัลลอฮฺผู้ทรงเกรียงไกร พระผู้อภิบาลแห่งอัรช์อันยิ่งใหญ่ ขอให้พระองค์ทรงประทานให้แก่เราซึ่งชนกลุ่มหนึ่งที่เป็นเสมือนกับพวกเขา โดยที่พวกเขาจะกอบกู้เกียรติยกศักดิ์ศรีที่เราได้ทำให้มันได้จากหายไป และขอให้พระองค์ทรงให้พวกเขามีความง่ายดายในการดำรงซึ่งการปกครองโดยอิสลามบนหน้าแผ่นดินนี้ด้วยเถิด

 

 

.......................................

แปลโดย : แวมูฮัมหมัดซาบรี แวยะโก๊ะ

ตรวจทานโดย : อัสรัน นิยมเดชา

คัดลอกจาก  http://IslamHouse.com/394611

 

 

 

Maintained by: e-Daiyah Group (1429 H - 2008).