Loading

 

การขออภัยโทษ

การขออภัยโทษ

 

การสรรเสริญทั้งมวลเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ การสดุดีและความศานติจงมีแด่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ควรได้รับการภักดีนอกจากอัลลอฮฺเพียงผู้เดียว โดยไม่มีภาคีหุ้นส่วนอันใดสำหรับพระองค์ และฉันขอปฏิญาณว่าท่านนบีมุหัมมัดคือบ่าวของอัลลอฮฺและเป็นศาสนทูตของพระองค์...

ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

 «إِنَّهُ لَيُغَانُ عَلَى قَلْبِي وَإِنِّي لَأَسْتَغْفِرُ اللَّهَ فِي الْيَوْمِ مِائَةَ مَرَّةٍ» [رواه مسلم]

ความว่า “แน่แท้มันเป็นความพลั้งเผลอที่อาจเกิดขึ้นในจิตใจของฉัน ทำให้ฉันต้องขออภัยโทษต่ออัลลอฮฺในแต่ละวันถึง 100 ครั้ง” (บันทึกโดยมุสลิม หน้า : 1083 หมายเลข : 2702)

 

และอิบนุอุมัร เราะฏิยัลลอฮุอันฮู กล่าวว่า

إنا كنا لنعد لرسول الله صلى الله عليه وسلم في المجلس الواحد مائة مرة : «رَبِّ اغْفِرْ لِيْ وَتُبْ عَلَيَّ، إِنَّكَ أَنْتَ التَّوَّابُ الرَّحِيْمُ» [رواه أبو داود]

ความว่า ”พวกเราเคยนับประโยคหนึ่งซึ่งท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมได้กล่าวออกมาขณะนั่งร่วมพูดคุยในครั้งหนึ่ง ด้วยถ้อยคำที่ว่า

«رَبِّ اغْفِرْ لِيْ وَتُبْ عَلَيَّ، إِنَّكَ أَنْتَ التَّوَّابُ الرَّحِيْمُ»

ได้ถึง 100 ครั้ง” (บันทึกโดยอบูดาวุด หน้า : 180 หมายเลข : 1516)

               

ชัยคฺอิสลาม อิบนุตัยมียะฮฺ เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า “บ่าวผู้ต่ำต้อยแต่ละคนจะดำรงชีวิตอยู่ท่ามกลางความโปรดปรานของอัลลอฮฺ ซึ่งจำเป็นที่เขาจะต้องขอบคุณ หรือไม่ก็อยู่ท่ามกลางความผิดพลาดบกพร่อง ซึ่งจำเป็นจะต้องขออภัยโทษ นี่แหล่ะคือสภาพชีวิตจริงของบ่าวแต่ละคนเป็นอยู่อย่างนี้เรื่อยไป ด้วยเหตุนี้เองที่ท่านนบีอาดัมอะลัยฮิสสลามและท่านนบีมุหัมมัดศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมจึงหมั่นขออภัยโทษต่ออัลลอฮฺในทุกสภาวการณ์อย่างสม่ำเสมอ” (อัต-ตุหฺฟะฮฺ อัล-อิรอกียะฮฺ เล่มที่ : 1 หน้า : 79)

            อัลลอฮฺได้สั่งใช้ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมและบรรดาผู้ศรัทธาให้หมั่นขออภัยโทษต่อพระองค์ และพระองค์ได้สัญญาว่าพร้อมที่จะให้อภัย อัลลอฮฺสุบหานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า

﴿ وَٱسۡتَغۡفِرِ ٱللَّهَۖ إِنَّ ٱللَّهَ كَانَ غَفُورٗا رَّحِيمٗا ﴾ [النساء : 106]

ความว่า “และเจ้าจงขออภัยโทษต่ออัลลอฮฺเถิด แท้จริงอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเมตตาเสมอ” (อัล-นิสาอฺ : 106 )

 

อัลลอฮฺสุบหานะฮูวะตะอาลา ยังตรัสอีกว่า

﴿فَٱعۡلَمۡ أَنَّهُۥ لَآ إِلَٰهَ إِلَّا ٱللَّهُ وَٱسۡتَغۡفِرۡ لِذَنۢبِكَ وَلِلۡمُؤۡمِنِينَ وَٱلۡمُؤۡمِنَٰتِۗ وَٱللَّهُ يَعۡلَمُ مُتَقَلَّبَكُمۡ وَمَثۡوَىٰكُمۡ﴾ [محمد : 19]

ความว่า “ฉะนั้นพึงรู้เถิดว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ และจงขออภัยโทษต่อความผิดเพื่อตัวเจ้า และเพื่อบรรดาผู้ศรัทธาทั้งชายและหญิง และอัลลอฮฺทรงรู้ดียิ่งถึงพฤติกรรมของพวกเจ้าและที่พำนักของพวกเจ้า” (มุหัมมัด : 19 )

 

และอัลลอฮฺสุบหานะฮูวะตะอาลาได้ตรัสอีกว่า

﴿وَٱسۡتَغۡفِرُواْ ٱللَّهَۖ إِنَّ ٱللَّهَ غَفُورٞ رَّحِيمُۢ﴾   [المزمل : 20]

ความว่า “และพวกเจ้าจงขออภัยโทษต่ออัลลอฮฺ แท้จริงอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงอภัย ผู้ทรงเมตตาเสมอ” (อัล-มุซซัมมิล : 20 )

 

การขออภัยโทษให้กับตนเองและผู้อื่น  

การขออภัยโทษนั้นสามารถที่จะขออภัยให้กับตนเองหรือให้กับผู้อื่นก็ได้ อัลลอฮฺสุบหานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า

﴿ ٱلَّذِينَ يَحۡمِلُونَ ٱلۡعَرۡشَ وَمَنۡ حَوۡلَهُۥ يُسَبِّحُونَ بِحَمۡدِ رَبِّهِمۡ وَيُؤۡمِنُونَ بِهِۦ وَيَسۡتَغۡفِرُونَ لِلَّذِينَ ءَامَنُواْۖ رَبَّنَا وَسِعۡتَ كُلَّ شَيۡءٖ رَّحۡمَةٗ وَعِلۡمٗا فَٱغۡفِرۡ لِلَّذِينَ تَابُواْ وَٱتَّبَعُواْ سَبِيلَكَ وَقِهِمۡ عَذَابَ ٱلۡجَحِيمِ ﴾   [غافر : 7]

ความว่า “บรรดาผู้แบกบัลลังก์และผู้ที่อยู่รอบๆ บัลลังก์ ต่างก็แซ่ซ้องสดุดีด้วยการสรรเสริญต่อพระเจ้าของพวกเขา และศรัทธาต่อพระองค์ และได้ขออภัยโทษให้แก่บรรดาผู้ศรัทธา ข้าแต่พระเจ้าของเรา พระองค์ทรงแผ่ความเมตตาและความรอบรู้ไปทั่วทุกสรรพสิ่ง ขอพระองค์ทรงโปรดอภัยแก่บรรดาผู้ลุแก่โทษ และผู้ที่ดำเนินตามแนวทางของพระองค์ และทรงคุ้มครองพวกเขาให้รอดพ้นจากการลงโทษแห่งไฟนรกด้วยเถิด” (ฆอฟิร : 7)

 

และอัลลอฮฺสุบหานะฮูวะตะอาลาตรัสอีกว่า

﴿وَٱلَّذِينَ جَآءُو مِنۢ بَعۡدِهِمۡ يَقُولُونَ رَبَّنَا ٱغۡفِرۡ لَنَا وَلِإِخۡوَٰنِنَا ٱلَّذِينَ سَبَقُونَا بِٱلۡإِيمَٰنِ وَلَا تَجۡعَلۡ فِي قُلُوبِنَا غِلّٗا لِّلَّذِينَ ءَامَنُواْ رَبَّنَآ إِنَّكَ رَءُوفٞ رَّحِيمٌ﴾  [الحشر : 10]

ความว่า “และบรรดาผู้ที่มาหลังจากพวกเขา โดยพวกเขากล่าวว่า ข้าแต่พระเจ้าของเราทรงโปรดอภัยให้แก่เราและพี่น้องของเราผู้ศรัทธาก่อนหน้าเรา และขอพระองค์อย่าได้ให้มีการเคียดแค้นเกิดขึ้นในหัวใจของเราต่อบรรดาผู้ศรัทธา ข้าแต่พระเจ้าของเรา แท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงเอ็นดู ผู้ทรงเมตตาเสมอ” (อัล-หัชรฺ : 10)

 

และอัลลอฮฺสุบหานะฮูวะตะอาลา ได้เล่าถึงการวิงวอนร้องขอของท่านนบีนูหฺอะลัยฮิสสลาม ว่า

﴿ رَبَّنَا ٱغۡفِرۡ لِي وَلِوَٰلِدَيَّ وَلِلۡمُؤۡمِنِينَ يَوۡمَ يَقُومُ ٱلۡحِسَابُ ﴾  [إبراهيم : 41]

ความว่า “โอ้พระเจ้าของเรา ขอพระองค์ทรงอภัยโทษให้แก่ข้าพระองค์ และแก่บิดามารดาของข้าพระองค์และแก่บรรดามุอฺมิน ในวันที่การสอบสวนจะมีขึ้น” (อิบรอฮีม : 41)

 

อิหม่ามอะหฺมัดได้บันทึกหะดีษ จากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฏิยัลลอฮุอันฮู เล่าว่า ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

«إِنَّ اللهَ لَيَرْفَعُ الدَّرَجَةَ لِلْعَبْدِ الصَّالِحِ فِي الْجَنَّةِ ، فَيَقُوْلُ : يَا رَبِّ أَنّٰى لِيْ هٰذِهِ ؟ فَيَقُوْلُ: بِاسْتِغْفَارِ وَلَدِكَ لَكَ»  [رواه أحمد]

ความว่า ”แท้จริงอัลลอฮฺจะทรงยกสถานะของบ่าวผู้ศรัทธาในสวรรค์ เขาจึงถามว่า โอ้อัลลอฮฺฉันได้รับสิ่งตอบแทนอันมากมายเหล่านี้มาอย่างไร? อัลลอฮฺตรัสว่า เนื่องด้วยการที่ลูกของเจ้าขออภัยโทษให้แก่เจ้า” (บันทึกโดยอะหฺมัดเล่ม : 16 หน้า : 356-357)

 

ไม่อนุญาตให้ขออภัยโทษแก่ผู้ตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ

อัลลอฮฺไม่อนุญาตแก่ผู้ศรัทธาที่จะขออภัยโทษต่อพระองค์ให้แก่ผู้ตั้งภาคี ถึงแม้ว่าเขาผู้นั้นเป็นผู้ที่ใกล้ชิด หรือเป็นบุคคลอันเป็นที่รักก็ตาม อัลลอฮฺได้ตรัสเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า

﴿ مَا كَانَ لِلنَّبِيِّ وَٱلَّذِينَ ءَامَنُوٓاْ أَن يَسۡتَغۡفِرُواْ لِلۡمُشۡرِكِينَ وَلَوۡ كَانُوٓاْ أُوْلِي قُرۡبَىٰ مِنۢ بَعۡدِ مَا تَبَيَّنَ لَهُمۡ أَنَّهُمۡ أَصۡحَٰبُ ٱلۡجَحِيمِ ١١٣ وَمَا كَانَ ٱسۡتِغۡفَارُ إِبۡرَٰهِيمَ لِأَبِيهِ إِلَّا عَن مَّوۡعِدَةٖ وَعَدَهَآ إِيَّاهُ فَلَمَّا تَبَيَّنَ لَهُۥٓ أَنَّهُۥ عَدُوّٞ لِّلَّهِ تَبَرَّأَ مِنۡهُۚ إِنَّ إِبۡرَٰهِيمَ لَأَوَّٰهٌ حَلِيمٞ ﴾   [التوبة : 113-114]

ความว่า “ไม่บังควรแก่นบีและบรรดาผู้ศรัทธาที่จะขออภัยโทษให้แก่บรรดาผู้ตั้งภาคี และแม้ว่าพวกเขาจะเป็นญาติใกล้ชิดกันก็ตาม ทั้งนี้หลังจากเป็นที่ประจักษ์แก่พวกเขาแล้ว แน่นอนพวกเหล่านั้นเป็นชาวนรก และการขออภัยโทษของอิบรอฮีมให้แก่บิดาของเขามิได้ปรากฏขึ้น นอกจากเป็นสัญญาที่เขาได้ให้ไว้แก่บิดาของเขาเท่านั้น แต่เมื่อได้เป็นที่ประจักษ์แก่เขาแล้ว แท้จริงบิดาของเขาเป็นศัตรูของอัลลอฮฺ เขาก็ปลีกตัวออกจากบิดาของเขา แท้จริงอิบรอฮีมนั้นเป็นผู้นอบน้อม และเป็นผู้มีขันติอดทน” (อัต-เตาบะฮฺ : 113-114)

 

อิหม่ามมุสลิมได้บันทึกหะดีษจากอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฏิยัลลอฮุอันฮู เล่าว่า

 زَارَ النَّبِيُّ قَبْرَ أُمِّهِ ، فَبَكَى وَأَبْكَى مَنْ حَوْلَهُ، فَقَالَ : «اسْتَأْذَنْتُ رَبِّيْ فِيْ أَنْ أَسْتَغْفِرَ لَهَا، فَلَمْ يُؤْذَنْ لِّيْ ، وَاسْتَأْذَنْتُهُ فِيْ أَنْ أَزُوْرَ قَبْرَهَا فَأُذِنَ لِيْ ، فَزُوْرُوْا الْقُبُوْرَ ، فَإِنَّهَا تُذَكِّرُ الْمَوْتَ»  [رواه البخاري]  

ความว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ไปเยี่ยมหลุมฝังศพแม่ของท่าน แล้วท่านได้ร้องไห้ และเป็นเหตุทำให้ผู้คนที่อยู่รอบข้างท่านก็ร้องไห้ตาม จากนั้นท่านกล่าวว่า “ฉันวิงวอนขออนุญาตต่ออัลลอฮฺเพื่อที่จะขออภัยโทษแก่มารดาของฉัน แต่พระองค์ไม่อนุญาต ฉันจึงขออนุญาตเยี่ยมหลุมฝังศพของนาง พระองค์ก็อนุญาตให้แก่ฉัน ดังนั้น พวกท่านจงไปเยี่ยมหลุมฝังศพเถิด เนื่องจากจะทำให้พวกท่านนึกถึงความตาย” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข : 976)

 

อัลลอฮฺสุบหานะฮูวะตะอาลาได้ตรัสถึงผู้ตั้งภาคีว่า ถึงแม้ว่าพวกเจ้าจะวิงวอนขออภัยโทษให้แก่พวกเขาหรือไม่ก็ตาม ก็จะไม่เกิดประโยชน์แก่พวกเขาแต่อย่างใด และอัลลอฮฺจะไม่ตอบรับการร้องขอจากผู้วิงวอน

﴿ ٱسۡتَغۡفِرۡ لَهُمۡ أَوۡ لَا تَسۡتَغۡفِرۡ لَهُمۡ إِن تَسۡتَغۡفِرۡ لَهُمۡ سَبۡعِينَ مَرَّةٗ فَلَن يَغۡفِرَ ٱللَّهُ لَهُمۡۚ ذَٰلِكَ بِأَنَّهُمۡ كَفَرُواْ بِٱللَّهِ وَرَسُولِهِۦۗ وَٱللَّهُ لَا يَهۡدِي ٱلۡقَوۡمَ ٱلۡفَٰسِقِينَ ﴾   [التوبة : 80]

ความว่า “เจ้าจะขออภัยโทษให้แก่พวกเขาหรือไม่ก็ตาม หากเจ้าขออภัยให้แก่พวกเขาถึงเจ็ดสิบครั้ง อัลลอฮฺก็จะไม่ทรงอภัยให้แก่พวกเขาเป็นอันขาด นั่นก็เพราะว่าพวกเขาได้ปฏิเสธศรัทธาต่ออัลลอฮฺ และเราะสูลของพระองค์ และอัลลอฮฺจะไม่ทรงให้ทางนำแก่กลุ่มชนที่ละเมิด” (อัต-เตาบะฮฺ : 80)

 

สำนวนการวิงวอนขออภัยโทษ

การวิงวอนขออภัยโทษต่ออัลลออฮฺมีหลากหลายสำนวน ซึ่งมีหะดีษหลายบทจากท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมที่ได้บอกกล่าวเกี่ยวกับสำนวนต่างๆ เหล่านี้ อาทิเช่น

บทที่ 1 ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

«مَنْ قَالَ : أَسْتَغْفِرُ اللهَ الَّذِيْ لَا إلهَ إِلَّا هُوَ الْحَيُّ الْقَيُّوْمُ ، وَأَتُوْبُ إِلَيْهِ، غُفِرَ لَهُ ، وَإِنْ كَانَ مِمَّنْ فَرَّ مِنَ الزَّحْفِ»  [رواه أبوداود]

ความว่า ”บุคคลใดที่กล่าว 

أَسْتَغْفِرُ اللهَ الَّذِيْ لَا إلهَ إِلَّا هُوَ الْحَيُّ الْقَيُّوْمُ ، وَأَتُوْبُ إِلَيْهِ

อัลลอฮฺจะให้อภัยแก่เขา มาตรแม้นว่าเขาผู้นั้นได้หนีออกจากสมรภูมิรบก็ตาม” (บันทึกโดยอบูดาวุด หน้า : 180 หมายเลข : 1517)

 

บทที่ 2 ท่านเษาบาน กล่าวว่า

أَنَّ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ إِذَا انْصَرَفَ مِنْ صَلَاتِهِ اسْتَغْفَرَ ثَلَاثًا وَقَالَ : «اللهم أَنْتَ السَّلَامُ وَمِنْكَ السَّلَامُ تَبَارَكْتَ يا ذَا الْجَلَالِ وَالْإِكْرَامِ»، قَالَ الْوَلِيدُ : فَقُلْتُ لِلْأَوْزَاعِيِّ :كَيْفَ الْاسْتِغْفَارُ ، قَالَ: تَقُولُ: أَسْتَغْفِرُ اللَّهَ أَسْتَغْفِرُ اللَّهَ»  [رواه مسلم]

ความว่า ”ฉันได้ยินท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าว ”อิสติฆฟาร” หลังจากเสร็จละหมาดสามครั้ง แล้วจึงกล่าว 

«اللهم أَنْتَ السَّلَامُ وَمِنْكَ السَّلَامُ تَبَارَكْتَ يا ذَا الْجَلَالِ وَالْإِكْرَامِ»

อัล-วะลีด ( เป็นผู้รายงานหะดีษท่านหนึ่ง) เล่าว่าฉันได้ถามอัล-เอาซาอีย์ว่า ฉันจะกล่าวอิสติฆฟารอย่างไร? ท่านจงกล่าวว่า อัสตัฆฟิรุลลอฮฺ อัสตัฆฟิรุลลอฮฺ” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข : 976)

 

บทที่ 3 ซึ่งเป็นคำกล่าวขออภัยโทษที่ประเสริฐที่สุด ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

 «سَيِّدُ الِاسْتِغْفَارِ أَنْ تَقُولَ : اللَّهُمَّ أَنْتَ رَبِّي، لَا إِلَهَ إِلَّا أَنْتَ، خَلَقْتَنِي وَأَنَا عَبْدُكَ، وَأَنَا عَلَى عَهْدِكَ وَوَعْدِكَ مَا اسْتَطَعْتُ، أَعُوذُ بِكَ مِنْ شَرِّ مَا صَنَعْتُ، أَبُوءُ لَكَ بِنِعْمَتِكَ عَلَيَّ، وَأَبُوءُ لَكَ بِذَنْبِي، فَاغْفِرْ لِي، فَإِنَّهُ لَا يَغْفِرُ الذُّنُوبَ إِلَّا أَنْتَ، قَالَ : وَمَنْ قَالَهَا مِنْ النَّهَارِ مُوقِنًا بِهَا فَمَاتَ مِنْ يَوْمِهِ قَبْلَ أَنْ يُمْسِيَ فَهُوَ مِنْ أَهْلِ الْجَنَّةِ، وَمَنْ قَالَهَا مِنْ اللَّيْلِ وَهُوَ مُوقِنٌ بِهَا فَمَاتَ قَبْلَ أَنْ يُصْبِحَ فَهُوَ مِنْ أَهْلِ الْجَنَّة» [رواه البخاري]

ความว่า” สุดยอดของถ้อยคำในการกล่าวขออภัยโทษ ”อิสติฆฟาร” คือถ้อยคำที่ว่า

اللَّهُمَّ أَنْتَ رَبِّي لَا إِلَهَ إِلَّا أَنْتَ خَلَقْتَنِي وَأَنَا عَبْدُكَ وَأَنَا عَلَى عَهْدِكَ وَوَعْدِكَ مَا اسْتَطَعْتُ أَعُوذُ بِكَ مِنْ شَرِّ مَا صَنَعْتُ أَبُوءُ لَكَ بِنِعْمَتِكَ عَلَيَّ وَأَبُوءُ لَكَ بِذَنْبِي فَاغْفِرْ لِي فَإِنَّهُ لَا يَغْفِرُ الذُّنُوبَ إِلَّا أَنْتَ

 ใครก็ตามที่กล่าวถ้อยคำนี้ในช่วงกลางวันด้วยใจที่บริสุทธิ์ หากเขาเสียชีวิตก่อนช่วงเย็นเขาจะได้เข้าสวรรค์ และใครก็แล้วแต่ที่กล่าวถ้อยคำนี้ในช่วงกลางคืนด้วยใจที่บริสุทธิ์ หากเขาเสียชีวิตก่อนรุ่งอรุณเขาจะได้เข้าสวรรค์” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลข : 6306)

 

 ช่วงเวลาที่จะกล่าวขออภัยโทษ

            การขออภัยโทษสามารถทำในเวลาใดก็ได้ ไม่มีการกำหนดเวลาที่แน่นอน แต่อย่างไรก็ตามการขออภัยโทษจะเป็นวาญิบเมื่อบ่าวต้องการลบล้างจากกระทำในสิ่งที่ฝ่าฝืน (ความชั่ว)  และจะเป็นสุนัตที่สมควรกล่าวหลังจากการประกอบความดีทุกครั้ง เพื่อที่จะช่วยเสริมในข้อบกพร่องซึ่งอาจจะเกิดขึ้น เช่น การกล่าวถ้อยคำ ”อิสติฆฟาร” สามครั้งหลังละหมาด หรือการกล่าวขออภัยโทษในช่วงประกอบพิธีฮัจญ์ เป็นต้น อัลลอฮฺสุบหานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า

﴿ ثُمَّ أَفِيضُواْ مِنۡ حَيۡثُ أَفَاضَ ٱلنَّاسُ وَٱسۡتَغۡفِرُواْ ٱللَّهَۚ إِنَّ ٱللَّهَ غَفُورٞ رَّحِيمٞ ﴾  [البقرة : 199]

ความว่า “แล้วพวกเจ้าจงหลั่งไหลออกไปเหมือนกับบุคคลอื่นที่พวกเขาได้หลั่งไหลกันออกไป (จากทุ่งอะเราะฟะฮฺ-เนื่องจากชาวกุเรชจะออกไปวุกูฟที่ทุ่งมุซดะลิฟะฮฺแทนการวุกูฟที่ทุ่งอะเราะฟะฮฺ- และจงขออภัยต่ออัลลอฮฺเถิด แท้จริงอัลลอฮฺนั้น เป็นผูทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเมตตาเสมอ” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 199)

 

เวลาที่ประเสริฐที่สุดในการกล่าวขออภัยโทษ

            และเวลาที่ประเสริฐที่สุดในการที่จะขออภัยต่ออัลลอฮฺ คือ ช่วงเวลายามรุ่งอรุณ อัลลอฮฺสุบหานะฮูวะตะอาลาตรัสว่า

﴿ وَبِٱلۡأَسۡحَارِ هُمۡ يَسۡتَغۡفِرُونَ ﴾ [الذاريات : 18]

ความว่า “และในยามรุ่งอรุณพวกเขาขออภัยโทษ (ต่อพระองค์)” (อัซ-ซาริยาต : 18)

 

และอัลลอฮฺสุบหานะฮูวะตะอาลาตรัสอีกว่า

﴿ وَٱلَّذِينَ إِذَا فَعَلُواْ فَٰحِشَةً أَوۡ ظَلَمُوٓاْ أَنفُسَهُمۡ ذَكَرُواْ ٱللَّهَ فَٱسۡتَغۡفَرُواْ لِذُنُوبِهِمۡ وَمَن يَغۡفِرُ ٱلذُّنُوبَ إِلَّا ٱللَّهُ وَلَمۡ يُصِرُّواْ عَلَىٰ مَا فَعَلُواْ وَهُمۡ يَعۡلَمُونَ ١٣٥ أُوْلَٰٓئِكَ جَزَآؤُهُم مَّغۡفِرَةٞ مِّن رَّبِّهِمۡ وَجَنَّٰتٞ تَجۡرِي مِن تَحۡتِهَا ٱلۡأَنۡهَٰرُ خَٰلِدِينَ فِيهَاۚ وَنِعۡمَ أَجۡرُ ٱلۡعَٰمِلِينَ ﴾ [آل عمران : 135-136]

ความว่า “บรรดาผู้ที่เมื่อพวกเขากระทำความชั่วหรืออยุติธรรมแก่ตัวเองแล้ว พวกเขาก็รำลึกถึงอัลลอฮฺ แล้วขออภัยโทษต่อบรรดาความผิดของพวกเขา และไม่มีใครที่จะอภัยโทษต่อบรรดาความผิดทั้งหลายได้นอกจากอัลลอฮฺเท่านั้น และพวกเขามิได้ดื้อรั้นปฏิบัติในสิ่งที่พวกเขาเคยปฏิบัติมาโดยที่พวกเขารู้กันอยู่ ชนเหล่านี้แหละการตอบแทนแก่พวกเขาคือการอภัยโทษจากพระเจ้าของพวกเขา และบรรดาสวนสวรรค์ซึ่งมีแม่น้ำหลายสายไหลอยู่ภายในสวนเหล่านั้น โดยที่พวกเขาจะพำนักอยู่ในสวนเหล่านั้นตลอดกาล และรางวัลของผู้ทำงาน นั้นช่างเลอเลิศจริง” ( อาละอิมรอน : 135-136 )

           

อัล-ฟุฎ็อยลฺ บิน อิยาฎ กล่าวว่า “การขออภัยโทษโดยไม่ได้เลิกจากการกระทำความผิด เป็นการกลับตัวของคนตอแหล (จอมโกหก)” ในขณะที่ รอบิอะฮฺ อัล-อะดะวียะฮฺ ได้เปรียบเทียบว่า “การขออภัยโทษของพวกเราทุกวันนี้ ยิ่งต้องขออภัยโทษให้มากๆ อันเนื่องจากการขออภัยโทษที่ไม่จริงใจ”

 

การขออภัยโทษเป็นสาเหตุแห่งริสกีเพิ่มพูน

            การขออภัยจะเป็นสาเหตุของการหลั่งน้ำฝน เพิ่มพูนทรัพย์สิน และลูกหลานอย่างมากมาย อัลลอฮฺสุบหานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า

﴿  فَقُلۡتُ ٱسۡتَغۡفِرُواْ رَبَّكُمۡ إِنَّهُۥ كَانَ غَفَّارٗا ١٠ يُرۡسِلِ ٱلسَّمَآءَ عَلَيۡكُم مِّدۡرَارٗا ١١ وَيُمۡدِدۡكُم بِأَمۡوَٰلٖ وَبَنِينَ وَيَجۡعَل لَّكُمۡ جَنَّٰتٖ وَيَجۡعَل لَّكُمۡ أَنۡهَٰرٗ ﴾ [نوح : 10-12]

ความว่า “ข้าพระองค์ได้กล่าวว่า พวกท่านจงขออภัยโทษต่อพระเจ้าของพวกท่านเถิด เพราะแท้จริงพระองค์ทรงเป็นผู้ทรงอภัยโทษอย่างแท้จริง  พระองค์จะทรงหลั่งน้ำฝนอย่างมากมายแก่พวกท่าน และพระองค์จะทรงเพิ่มพูนทรัพย์สินและลูกหลานแก่พวกท่าน และจะทรงทำให้มีส่วนมากหลายแก่พวกท่าน และจะทรงทำให้มีธารน้ำหลายสายแก่พวกท่าน” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 141)

 

การขออภัยโทษเป็นสาเหตุที่จะปกป้องภัยพิบัติ

อัลลอฮฺสุบหานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า

﴿وَمَا كَانَ ٱللَّهُ لِيُعَذِّبَهُمۡ وَأَنتَ فِيهِمۡۚ وَمَا كَانَ ٱللَّهُ مُعَذِّبَهُمۡ وَهُمۡ يَسۡتَغۡفِرُونَ﴾   [الأنفال : 33]

ความว่า “และอัลลอฮฺจะไม่ทรงลงโทษพวกเขา ขณะที่เจ้าอยู่ในกลุ่มพวกเขา และอัลลอฮฺจะไม่เป็นผู้ทรงลงโทษพวกเขา ทั้งๆที่พวกเขาขออภัยโทษกัน “ (อัล-อัมฟาล : 33 )

 

อะลีย์ เราะฎิยัลลอฮูอันฮู กล่าวว่า “ภัยพิบัติจะไม่เกิดขึ้นนอกจากเมื่อมีความผิด และจะไม่ถูกนำออกไปนอกจากด้วยการกลับตัวยอมรับในความผิด (เตาบะฮฺ)”

อบูมูซา อัล-อัชอารีย์ กล่าวว่า “พวกเราดำรงชีวิตอยู่บนความปลอดภัยอันเนื่องจากมีสองอย่าง แต่ตอนนี้ได้ขาดหายไปแล้วหนึ่งอย่าง คือการตายจากไปของท่านเราะสูล และอีกอย่างที่หลงเหลืออยู่กับพวกเรา คือการขออภัยโทษ หากไม่มีสิ่งนี้แล้วพวกเราคงต้องพบกับความพินาศอย่างแน่นอน” ( หนังสือ อัต-เตาบะฮฺ อิลัลลอฮฺ อัล-ฆอซาลียฺ หน้า : 124 )

 

การขออภัยโทษเป็นสาเหตุแห่งการประทานความเมตตา

            อัลลอฮฺสุบหานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า

﴿ قَالَ يَٰقَوۡمِ لِمَ تَسۡتَعۡجِلُونَ بِٱلسَّيِّئَةِ قَبۡلَ ٱلۡحَسَنَةِۖ لَوۡلَا تَسۡتَغۡفِرُونَ ٱللَّهَ لَعَلَّكُمۡ تُرۡحَمُونَ ﴾ [النمل : 46]

ความว่า “ เขา (ศอลิฮฺ) กล่าวว่า โอ้กลุ่มชนของฉัน ทำไมพวกท่านจึงรีบเร่งหาความชั่วก่อนความดีเล่า ? ทำไมพวกท่านจึงไม่ขออภัยต่ออัลลอฮฺ เพื่อพวกท่านจะได้รับความเมตตา” (อัล-นัมลฺ : 46 )

 

การขออภัยโทษเป็นสาเหตุแห่งการชะล้างความผิด

การขออภัยโทษจะลบความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการพูดคุยสนทนากัน ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จึงได้แนะนำให้มีการกล่าวขออภัยโทษต่ออัลลอฮฺเมื่อเสร็จสิ้นจากวงสนทนาว่า

«مَنْ جَلَسَ فِي مَجْلِسٍ، فَكَثُرَ فِيهِ لَغَطُهُ، فَقَالَ قَبْلَ أَنْ يَقُومَ مِنْ مَجْلِسِهِ ذَلِكَ : سُبْحَانَكَ اللَّهُمَّ وَبِحَمْدِكَ أَشْهَدُ أَنْ لَا إِلَهَ إِلَّا أَنْتَ أَسْتَغْفِرُكَ وَأَتُوبُ إِلَيْكَ، إِلَّا غُفِرَ لَهُ مَا كَانَ فِي مَجْلِسِهِ ذَلِكَ»  [رواه الترمذي]

ความว่า ”ใครที่ได้พูดคุยกันในวงสนทนา ซึ่งอาจจะมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นระหว่างสนทนากัน แต่เขาได้กล่าวก่อนที่จะเลิกจากการสนทนาว่า

سُبْحَانَكَ اللَّهُمَّ وَبِحَمْدِكَ أَشْهَدُ أَنْ لَا إِلَهَ إِلَّا أَنْتَ أَسْتَغْفِرُكَ وَأَتُوبُ إِلَيْكَ

 

 

แน่นอนว่าอัลลอฮฺจะทรงอภัยโทษให้แก่เขาในสิ่งที่เกิดความผิดพลาดระหว่างการสนทนานั้น” ( บันทึกโดยอัต-ติรมิซีย์ เล่ม : 543 หมายเลข : 3433)

.....................................

แปลโดย : อับดุศศอมัด อัดนาน

 

ตรวจทานโดย : ยูซุฟ อบูบักรฺ

คัดลอกจาก http://IslamHouse.com/461903

 

 

Maintained by: e-Daiyah Group (1429 H - 2008).