Loading

 

การบริจาคที่ดีที่สุด

การบริจาคที่ดีที่สุด

 

ท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ ได้กล่าวว่า

«خَيْرُ الصَّدَقَةِ مَا كَانَ عَنْ ظَهْرِ غِنًى، وَابْدَأْ بِمَنْ تَعُولُ» [أخرجه البخاري]

"การบริจาคที่ดีที่สุด คือ ที่(ท่าน)ยังจำเป็นต้องใช้มันอยู่ และจงเริ่มให้กับผู้ที่อยู่ในการดูแลก่อน" บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ

 

และท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุได้กล่าวว่า

«جَاء رَجُلٌ إِلى رَسُولِ اللهr فَقَال: يا رَسُولَ اللهِ أَيُّ الصَدَقَةِ أَعْظَمُ أَجرا؟ قَال: أَن تَصَدّق وَأَنْتَ صَحِيْح شَحِيْح تَخْشَى الفَقْرَ وَتَأْمَل الغِنى، وَلَا تَمهل حَتى إِذا بَلَغْت الحُلْقُوم قلت: لِفُلان كَذا ولفلان كذا، وقَدْ كَانَ لِفلان» [أخرجه البخاري]

“ชายคนหนึ่งมาหาท่านเราะสูลุลลอฮฺ แล้วกล่าวว่า “โอ้ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ การบริจาคใดได้ผลบุญมากที่สุด?” ท่านกล่าวตอบว่า “การที่ท่านบริจาคขณะที่ท่านยังมีสุขภาพดี ยังเสียดายเงิน กลัวจน และปรารถนาความร่ำรวย แต่ท่านก็(ยอมบริจาคไป)ไม่เพิกเฉยรอจนเมื่อ(ความตาย)ถึงลูกกระเดือก ค่อยกล่าวว่า คนนี้ให้เท่านี้ คนนั้นให้เท่านั้น และแน่นอนมันย่อมเป็นของคนนั้นจริง”” บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ

 

และท่านซัลมาน บินอามิร เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุได้กล่าวว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺกล่าวว่า

«الصَدَقَة عَلى المِسْكينَ صَدَقَة، وَهِيَ على ذِي الرَحِمِ ثْنَتَان صَدَقَة وَصِلَة» [أخرجه أحمد]

“การบริจาคแก่คนจน เป็นการบริจาค(เพียงอย่างเดียว) และการบริจาคแก่ผู้มีเครือญาติ ได้ 2 (อย่าง) คือเป็นการบริจาค และเป็นการเชื่อมสัมพันธ์เครือญาติ” บันทึกโดยอะห์มัด

 

อธิบาย

การบริจาคเป็นความดีงามทั้งหมด และที่ดีที่สุดคือ(บริจาค)ทั้งที่ท่านยังจำเป็นต้องใช้มันอยู่ และในขณะที่ท่านมีสุขภาพดี ไม่ใช่ตอนที่ท่านจะตายแล้ว และการบริจาคให้ผู้เป็นเครือญาติที่ยากจนดีกว่าให้คนอื่นๆ เพราะการบริจาคให้ผู้เป็นญาตินั้นได้ทั้งการบริจาค และได้ทั้งการเชื่อมสัมพันธ์เครือญาติด้วย

 

ประโยชน์ที่ได้รับ

  • การบริจาคให้ญาติที่เดือดร้อนมีความประเสริฐมากกว่าให้กับคนอื่น

·      

การบริจาคที่ดีที่สุดคือ การบริจาคในสภาพที่คนเรายังแข็งแรง ยังปรารถนาให้มีอายุยืนยาว และยังกลัวจน

 

 

...................................................

แปลโดย : สะอัด วารีย์

ตรวจทานโดย : ฟัยซอล อับดุลฮาดี

คัดลอกจาก   http://IslamHouse.com/450524

 

 

Maintained by: e-Daiyah Group (1429 H - 2008).