Loading

 

ผู้ใดละทิ้งสิ่งหนึ่งเพื่ออัลลอฮฺ พระองค์จะทดแทนสิ่งที่ดีกว่าให้

 

ผู้ใดละทิ้งสิ่งหนึ่งเพื่ออัลลอฮฺ พระองค์จะทดแทนสิ่งที่ดีกว่าให้

 

                การสรรเสริญทั้งมวลเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ ความเมตตาจำเริญและความศานติจงมีแด่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ควรได้รับการภักดีนอกจากอัลลอฮฺเพียงผู้เดียว โดยไม่มีภาคีหุ้นส่วนอันใดสำหรับพระองค์ และฉันขอปฏิญาณว่าท่านนบีมุหัมมัดคือบ่าวของอัลลอฮฺและเป็นศาสนทูตของพระองค์...

            มีรายงานว่าท่านนบี -ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม- ได้กล่าวว่า :

«مَنْ تَرَكَ شَيْئًا لِلَّهِ عَوَّضَهُ اللَّهُ خَيْرا مِنْهُ»

ความว่า : ผู้ใดที่ละเลิกสิ่งใดเพื่อพระองค์อัลลอฮฺ พระองค์อัลลอฮฺจะทรงทดแทนสิ่งที่กว่าให้เขา

 

หะดีษนี้ เป็นหะดีษเฎาะอีฟซึ่งสำนวนตรงๆ อย่างนี้ไม่ปรากฏว่ามีมาจากท่านนบี -ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม- แม้ว่าจะเป็นหะดีษที่ผู้คนรู้จักกันอย่างแพร่หลายก็ตาม แต่มีอีกสำนวนหนึ่งที่เป็นคำรายงานจากอบู เกาะตาดะฮฺและอบู อัด-ดะฮฺมาอ์ ว่า

عن أبي قتادة وأبي الدهماء قالا: أَتَيْنَا علَى رَجُلٍ من أَهْلِ البَادِيَةِ وَقُلْنَا: هَلْ سَمِعْتَ من رسول الله صلى الله عليه وسلم شَيْئًا،  قال : سَمِعْتُهُ يقول : «إِنَّكَ لَنْ تَدَعَ شَيْئًا لِلَّهِ عَزَّ وَجَلَّ إِلَّا أبَدلَكَ اللَّهُ بِهِ مَا هُوَ خَيْرٌ لَكَ مِنْهُ» [مسند أحمد5/263، قال الهيثمي في الزوائد 10/296 : رواه أحمد ورجاله رجال الصحيح، وقال الألباني في السلسلة الضعيفة 1/62 إسناده صحيح على شرط مسلم]

ความว่า : พวกเราได้มาหาชายชนบทคนหนึ่งและถามว่า “ท่านเคยได้ยินคำพูดสักอย่างจากท่านเราะสูลุลลอฮฺ -ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม- ไหม”? เขาตอบว่า ฉันเคยได้ยินท่านกล่าวว่า “เมื่อท่านละเลิกสิ่งใดเพื่อพระองค์อัลลอฮฺ พระองค์อัลลอฮฺ ก็จะทรงมอบสิ่งที่ดีกว่านั้นแทนให้ท่าน” (มุสนัด อิหม่ามอะหฺมัด เล่มที่ 5 หน้า 263 อัลฮัยซะมียฺได้กล่าวในหนังสือมัจมะอฺ อัซซะวาวิด เล่มที่ 10 หน้า 296ว่าหะดีษนี้บันทึกโดยอิหม่ามอะหฺมัดในหลายสายรายงานซึ่งนักรายงานล้วนแล้วแต่เป็นนักรายงานหะดีษเศาะฮีหฺ อัล-อัลบานียฺได้ระบุในหนังสือสิลสิละฮฺ อัลเฎาะอีฟะฮฺ เล่มที่ 1 หน้า 62 และเป็นสายรายงานที่เศาะฮีหฺตามเงื่อนไขของอิหม่ามมุสลิม)

หะดีษที่ทรงค่านี้มีสามประโยคที่สำคัญ คือ

หนึ่ง คำว่า ลันตะดะอะ ชัยอัน คำนี้เป็นคำทั่วไป มีความหมายครอบคลุมทุกสิ่งที่มนุษย์ละเลิกเพื่อแสวงหาความโปรดปรานของพระองค์อัลลอฮฺ

สอง คำว่า ลิลลาฮฺ ประโยคนี้ท่านนบี -ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม- ได้อธิบายว่า การละเว้นสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้นจะต้องกระทำเพื่อแสวงหาความโปรดปรานจากพระองค์อัลลอฮฺเท่านั้น ไม่ใช่เพราะกลัวผู้มีอำนาจ หรือ ละอายต่อมนุษย์ หรือ ละเว้นเพราะไม่มีความสามารถจะทำ หรือ อื่นๆ

สาม คำว่า อับดะละฮุลลอฮุ ค็อยร็อน มินฮฺ ประโยคนี้ชี้ให้เห็นว่าผลตอบแทนที่ผู้ปฏิบัติตามเงื่อนไขจะได้รับ คือ การทดแทนสิ่งที่ดีกว่าจากพระองค์อัลลอฮฺให้กับผู้ละเลิก ซึ่งสิ่งทดแทนจากพระองค์อัลลอฮฺอาจจะเป็นชนิดเดียวกับสิ่งที่ละเลิก หรือ อาจจะต่างชนิดกัน เป็นต้นว่าได้ความรักและความเสน่หาจากพระองค์อัลลอฮฺ ได้ความชื่นอกชื่นใจ ซึ่งเขาจะได้รับทั้งในดุนยาและอาคิเราะฮฺ ดังที่พระองค์อัลลอฮฺทรงใช้คนมุอ์มินขอดุอาอ์ว่า

﴿رَبَّنَآ ءَاتِنَا فِي ٱلدُّنۡيَا حَسَنَةٗ وَفِي ٱلۡأٓخِرَةِ حَسَنَةٗ﴾ [البقرة: ٢٠١] 

ความว่า  : “โอ้ พระเจ้าของเรา ขอทรงโปรดประทานความดีในดุนยาและความดีในอาคิเราะฮฺให้แก่เราด้วยเถิด” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 201)

 

เกาะตาดะฮฺ อัส-สะดูสี ได้กล่าวว่า : ชายคนใดที่ละเลิกสิ่งหะรอมที่ตัวเองสามารถจะทำได้เพียงเพราะความยำเกรงต่อพระองค์อัลลอฮฺ พระองค์อัลลอฮฺจะทรงทดแทนให้กับเขาอย่างทันตาเห็นในโลกดุนยาก่อนวันอาคิเราะฮฺ

ในหะดีษกุดสียฺที่รายงานจากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ มีอยู่ว่า :

 أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ - صلى الله عليه وسلم - قَالَ « يَقُولُ اللَّهُ إِذَا أَرَادَ عَبْدِى أَنْ يَعْمَلَ سَيِّئَةً فَلاَ تَكْتُبُوهَا عَلَيْهِ حَتَّى يَعْمَلَهَا ، فَإِنْ عَمِلَهَا فَاكْتُبُوهَا بِمِثْلِهَا وَإِنْ تَرَكَهَا مِنْ أَجْلِى فَاكْتُبُوهَا لَهُ حَسَنَةً وَإِذَا أَرَادَ أَنْ يَعْمَلَ حَسَنَةً فَلَمْ يَعْمَلْهَا فَاكْتُبُوهَا لَهُ حَسَنَةً ، فَإِنْ عَمِلَهَا فَاكْتُبُوهَا لَهُ بِعَشْرِ أَمْثَالِهَا إِلَى سَبْعِمِائَةٍ » [البخاري برقم 7501]

ความว่า : ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า “อัลลอฮฺตรัสว่า เมื่อบ่าวของฉันจะทำชั่วอย่างหนึ่ง พวกเจ้าอย่าเพิ่งจดบันทึกจนกว่าเขาจะทำจริงๆ หากเขาทำแล้ว ก็จงจดบันทึกเท่าที่เขาได้ทำและหากเขาละเลิกเพื่อฉันก็จงบันทึกหนึ่งหะสะนะฮฺ(ความดี)ให้เขา แต่หากเขาจะทำดีอย่างหนึ่งแต่ยังไม่ทำ พวกเจ้าก็จงบันทึกหนึ่งหะสะนะฮฺให้แก่เขา หากเขาทำก็จงบันทึกผลตอบแทนสิบถึงเจ็ดร้อยเท่าให้แก่เขา” (อัล-บุคอรียฺ เล่มที่ 4 หน้า 404 หมายเลข 7501)

 

ทั้งนี้ ตัวอย่างที่บ่งบอกถึงความมหาศาลของผลตอบแทนที่พระองค์อัลลอฮฺจะทรงมอบให้บ่าวของพระองค์อัลลอฮฺมีมากมายทีเดียว เช่น เรื่องนบีสุลัยมาน -ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม- ที่พระองค์อัลลอฮฺได้ถ่ายทอดในสูเราะฮฺศอดซึ่งมีใจความโดยสรุปว่าท่านนั้นเป็นคนชอบการญิฮาดในหนทางของพระองค์อัลลอฮฺ ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงเลี้ยงม้าไว้หลายตัวและรักมันเป็นอย่างมาก วันหนึ่ง ท่านเพลินอยู่กับม้าจนเวลาละหมาดอัศริได้ล่วงเลยไป ตะวันได้ตกดินเสียก่อนที่ท่านจะละหมาดทัน ท่านจึงสั่งให้คนเอาม้ามา แล้วใช้ดาบฟันคอและส้นเท้าจนตายหมดเพื่อเป็นการแสดงว่าความรักในพระองค์อัลลอฮฺอยู่เหนือสิ่งอื่นใด ซึ่งในสมัยนั้น การกระทำดังกล่าวเป็นสิ่งอนุมัติตามกฎบัญญัติของศาสนาของพวกเขา

พระองค์อัลลอฮฺ จึงทดแทนสิ่งที่ดีกว่าให้กับท่าน นั้นก็คือลมที่พัดโบกด้วยคำสั่งการจากท่าน มันจะพัดเฉื่อยๆ ตามที่ท่านต้องการ ความเร็วของมัน คือ สามารถจะพัดในช่วงข้ามวันเร็วเท่ากับที่ลมปกติพัดสองเดือน มาซิ ลองมาครุ่นคิดอายะฮฺต่อไปนี้ พระองค์อัลลอฮฺได้ตรัสว่า :

﴿ وَوَهَبۡنَا لِدَاوُۥدَ سُلَيۡمَٰنَۚ نِعۡمَ ٱلۡعَبۡدُ إِنَّهُۥٓ أَوَّابٌ ٣٠ إِذۡ عُرِضَ عَلَيۡهِ بِٱلۡعَشِيِّ ٱلصَّٰفِنَٰتُ ٱلۡجِيَادُ ٣١ فَقَالَ إِنِّيٓ أَحۡبَبۡتُ حُبَّ ٱلۡخَيۡرِ عَن ذِكۡرِ رَبِّي حَتَّىٰ تَوَارَتۡ بِٱلۡحِجَابِ ٣٢ رُدُّوهَا عَلَيَّۖ فَطَفِقَ مَسۡحَۢا بِٱلسُّوقِ وَٱلۡأَعۡنَاقِ ٣٣ وَلَقَدۡ فَتَنَّا سُلَيۡمَٰنَ وَأَلۡقَيۡنَا عَلَىٰ كُرۡسِيِّهِۦ جَسَدٗا ثُمَّ أَنَابَ ٣٤ قَالَ رَبِّ ٱغۡفِرۡ لِي وَهَبۡ لِي مُلۡكٗا لَّا يَنۢبَغِي لِأَحَدٖ مِّنۢ بَعۡدِيٓۖ إِنَّكَ أَنتَ ٱلۡوَهَّابُ ٣٥ فَسَخَّرۡنَا لَهُ ٱلرِّيحَ تَجۡرِي بِأَمۡرِهِۦ رُخَآءً حَيۡثُ أَصَابَ ٣٦ ﴾ [ص: ٣٠-٣٦] 

ความว่า : “เราได้ประทานสุลัยมานให้แก่ดาวูด เขาคือบ่าวผู้ดีเลิศเพราะเป็นคนที่หวนกลับสู่เราตลอดเวลา ลองนึกซิ ตอนที่ม้าพันธุ์ดีถูกนำมามอบให้แก่เขาในเย็นวันหนึ่ง แล้วเขาก็กล่าวว่า แท้จริงฉันได้รักทรัพย์สมบัตินี้ (หมายถึงม้า) มากกว่าการรำลึกถึงพระเจ้าของฉันกระทั่งดวงอาทิตย์ได้ลับขอบฟ้า จงนำมันกลับมาให้ฉันซิ แล้วเขาก็ฟันขาและคอของมัน และเราได้ทดสอบสุลัยมานโดยวางร่างหนึ่งไว้บนเก้าอี้ของเขา แล้วเขาก็ทบทวนความผิดด้วยความเสียใจ เขากล่าวว่า โอ้ พระเจ้าข้า ขอพระองค์ทรงอภัยให้แก่ข้า ขอพระองค์ทรงประทานอำนาจรัฐอันยิ่งใหญ่ที่ไม่ให้กับผู้ใดอีกแล้วหลังจากฉัน แท้จริงพระองค์ท่านเป็นผู้ทรงประทานยิ่ง แล้วเราก็ได้บริการเขาด้วยลม มันลอยพัดเฉื่อย ๆ ตามคำสั่งของเขาไปยังทิศทางที่เขาต้องการ (ศอด :30-36)

 

ตัวอย่างที่สอง ท่านนบี -ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม-และบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านเมื่อตอนฮิจญ์เราะฮฺ ทุกคนต่างละทิ้งบ้านเรือนและทรัพย์สินเพื่อพระองค์อัลลอฮฺ พระองค์จึงทรงทดแทนแก่ พวกเขาด้วยการให้เป็นผู้นำโลกและเป็นผู้ปกครองแผ่นดิน ตลอดจนมอบขุมทรัพย์ของจักรพรรดิคุสโรและไกเซอร์ และให้พวกเขาได้พิชิตราชาและจอมบารมีหลายคน นี่ยังไม่นับสิ่งที่เตรียมไว้ในวันอาคิเราะฮฺ พวกเขาต่างแสดงความสำนึกในกรุณาธิคุณ ไม่เนรคุณ เจียมตัว ไม่เย่อหยิ่ง และปกครองประชาชนด้วยความยุติธรรม พระองค์อัลลอฮฺได้ตรัสว่า:

﴿ وَعَدَ ٱللَّهُ ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ مِنكُمۡ وَعَمِلُواْ ٱلصَّٰلِحَٰتِ لَيَسۡتَخۡلِفَنَّهُمۡ فِي ٱلۡأَرۡضِ كَمَا ٱسۡتَخۡلَفَ ٱلَّذِينَ مِن قَبۡلِهِمۡ وَلَيُمَكِّنَنَّ لَهُمۡ دِينَهُمُ ٱلَّذِي ٱرۡتَضَىٰ لَهُمۡ وَلَيُبَدِّلَنَّهُم مِّنۢ بَعۡدِ خَوۡفِهِمۡ أَمۡنٗاۚ يَعۡبُدُونَنِي لَا يُشۡرِكُونَ بِي شَيۡ‍ٔٗاۚ وَمَن كَفَرَ بَعۡدَ ذَٰلِكَ فَأُوْلَٰٓئِكَ هُمُ ٱلۡفَٰسِقُونَ ٥٥ ﴾ [النور: ٥٥] 

ความว่า : “อัลลอฮฺทรงสัญญากับบรรดาผู้ศรัทธาในหมู่พวกเจ้าและบรรดาผู้กระทำความดีว่าจะทรงแต่งตั้งพวกเขาให้เป็นตัวแทนปกครองบนโลกนี้เหมือนกับที่พระองค์ทรงได้แต่งตั้งบรรดาชนก่อนหน้าให้เป็นตัวแทนปกครองมาแล้ว จะทรงทำให้ศาสนาของพวกเขาซึ่งพระองค์ทรงโปรดปรานเป็นปึกแผ่นมั่นคง และจะทรงนำความปลอดภัยมาแทนความหวาดกลัวให้กับพวกเขาอย่างแน่นอน พวกเขาจะได้เคารพภักดีข้าโดยไม่ตั้งภาคีอื่นใดเทียบเคียงข้า และบุคคลใดที่ไม่สำนึกในบุญคุณหลังจากนั้น บุคคลนั้นแหละคือกลุ่มคนที่ฝ่าฝืน” (อัน-นูร :55)

 

ลองมาดูเรื่องของมุฮาญิรีนคนหนึ่ง เขาคือศุฮัยบฺ อัร-รูมี -เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮฺ- ซึ่งมีรายงานจากอิกริมะฮฺว่า “เมื่อศุฮัยบฺได้ออกจากบ้านเพื่อฮิจญ์เราะฮฺมายังเมืองมะดีนะฮฺ พวกมักกะฮฺได้ประกบตาม ท่านจึงเอาลูกธนูสี่สิบดอกออกจากถุงธนูแล้วพูดว่า “พวกท่านจะเข้ามาประชิดฉันได้ก็ต่อเมื่อฉันได้ปักลูกศรคนละดอกที่ลำตัวพวกท่าน แล้วฉันก็จะสู้กับดาบต่อ พวกท่านก็รู้ดีมิใช่หรือว่าฉันนี้เป็นนักแม่นธนู  แท้จริงฉันได้ทิ้งทาสหญิงผิวขาวสองคนที่มักกะฮฺ เอาไปเถอะ ฉันให้พวกท่านไปเลย.. และแล้วท่านนบี -ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม- ก็ได้รับการประทานอายะฮฺที่ว่า

﴿ وَمِنَ ٱلنَّاسِ مَن يَشۡرِي نَفۡسَهُ ٱبۡتِغَآءَ مَرۡضَاتِ ٱللَّهِۚ ﴾ [البقرة: ٢٠٧] 

ความว่า : “และในหมู่มนุษย์นั้นมีผู้ที่ขายตัวเองเพื่อแลกกับความพอพระทัยของพระองค์อัลลอฮฺ” (อัล-บะเกาะเราฮฺ : 207)

ซึ่งเมื่อท่านนบี -ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม- เห็นเขา ท่านได้กล่าวว่า : โอ้ อบูยะหฺยา การค้าได้กำไรแล้ว แล้วท่านก็อ่านอายะฮฺนี้ (มุสตักร็อก อัล-หากิม เล่มที่ 3 หน้า 450 หมายเลข 1298 และบอกว่า เป็นหะดีษเศาะฮีหฺตามเงื่อนไขของมุสลิม แต่ทั้งสองท่านไม่ได้บันทึกมันไว้ ในขณะที่เชคมุกบิล อัล-วาดิอียฺได้กล่าวในหนังสืออัศ-เศาะฮีหฺ อัล-มุสนัดในเรื่องอัสบาบุลนะซูล หน้า 33 ของท่านว่าหะดีษนี้เป็นหะดีษหะสัน)

ตัวอย่างที่สาม คือ ท่านนบียูซุฟ -ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม- ซึ่งได้รับการเย้ายวนในรูปแบบที่แยบยลที่สุด ท่านขอให้พระองค์อัลลอฮฺทรงคุ้มครอง แล้วพระองค์ก็ทรงปกป้องและให้ท่านได้ผละจากสิ่งนั้นเพื่อพระองค์ เพราะพระองค์จัดให้ท่านอยู่ในจำนวนผู้ได้รับการขัดเกลา ท่านโดนรังแกเพราะเหตุนี้และตัดสินใจยอมเลือกที่จะเข้าคุก ไม่ยอมปฏิบัติตามสิ่งที่พวกเขากระเซ้าเย้าชวน ท่านอดกลั้นและเลือกสิ่งที่อยู่ ณ พระองค์อัลลอฮฺ แล้วพระองค์อัลลอฮฺก็ทดแทนสิ่งตอบแทนที่ดีที่สุดให้ โดยให้ท่านได้บริหารคลังแผ่นดิน ทรงสอนท่านวิชาทำนายฝัน  ช่างสมบูรณ์ครบถ้วนจริงๆ ทั้งผู้ให้ที่ดีที่สุด ผู้รับที่ดีที่สุด และรางวัลที่คุ้มค่าที่สุด

พระองค์อัลลอฮฺได้ตรัสถึงยูซุฟว่า :

﴿ قَالَ رَبِّ ٱلسِّجۡنُ أَحَبُّ إِلَيَّ مِمَّا يَدۡعُونَنِيٓ إِلَيۡهِۖ وَإِلَّا تَصۡرِفۡ عَنِّي كَيۡدَهُنَّ أَصۡبُ إِلَيۡهِنَّ وَأَكُن مِّنَ ٱلۡجَٰهِلِينَ ٣٣ فَٱسۡتَجَابَ لَهُۥ رَبُّهُۥ فَصَرَفَ عَنۡهُ كَيۡدَهُنَّۚ إِنَّهُۥ هُوَ ٱلسَّمِيعُ ٱلۡعَلِيمُ ٣٤ ﴾ [يوسف: ٣٣-٣٤] 

ความว่า : “เขากล่าวว่า โอ้ พระเจ้าของข้า คุกนั้นเป็นที่รักแก่ข้ายิ่งกว่าสิ่งที่พวกเขาเชิญชวนข้าให้กระทำ และหากพระองค์มิทรงปัดแผนร้ายของพวกนางให้พ้นไปจากข้าแล้ว ข้าก็อาจจะถลำตัวไปทางพวกนางแล้วข้าก็คงต้องกลายเป็นคนโง่เขลาคนหนึ่ง และแล้ว พระเจ้าของเขาก็ได้ตอบรับเขาด้วยการปัดแผนร้ายของพวกนางให้พ้นจากเขา แท้จริงพระองค์คือผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงรอบรู้ยิ่ง (ยูซุฟ : 33-34)

และพระองค์อัลลอฮฺได้ตรัสว่า :

﴿ وَكَذَٰلِكَ مَكَّنَّا لِيُوسُفَ فِي ٱلۡأَرۡضِ يَتَبَوَّأُ مِنۡهَا حَيۡثُ يَشَآءُۚ نُصِيبُ بِرَحۡمَتِنَا مَن نَّشَآءُۖ وَلَا نُضِيعُ أَجۡرَ ٱلۡمُحۡسِنِينَ ٥٦ ﴾ [يوسف: ٥٦] 

 ความว่า :”และเช่นนั้นแหละ เราได้ให้ยูซุฟมีอำนาจในแผ่นดิน เขาจะพำนักอยู่ที่ไหนก็ได้ตามต้องการ เราได้หลั่งความเมตตาของเราแก่ผู้ที่เราประสงค์ และเราไม่เคยละเลยผลบุญของบรรดาผู้ทำดี” (ยูซุฟ : 56

 

 

 

 

....................................................

แปลโดย : ซุกรีย์นูร จงรักศักดิ์

ตรวจทานโดย : ซุฟอัม อุษมาน

คัดลอกจาก  http://IslamHouse.com/421618

 

 

 

 

Maintained by: e-Daiyah Group (1429 H - 2008).