Loading

 

ความประเสริฐของความรู้

ความประเสริฐของความรู้

 

อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า

﴿قُلۡ هَلۡ يَسۡتَوِي ٱلَّذِينَ يَعۡلَمُونَ وَٱلَّذِينَ لَا يَعۡلَمُونَۗ إِنَّمَا يَتَذَكَّرُ أُوْلُواْ ٱلۡأَلۡبَٰبِ ٩﴾ [الزمر : 9]

"จงกล่าวเถิดมุฮัมมัด บรรดาผู้รู้และบรรดาผู้ไม่รู้จะเท่าเทียมกันหรือ" (อัซซุมัร : 9)

 

﴿يَرۡفَعِ ٱللَّهُ ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ مِنكُمۡ وَٱلَّذِينَ أُوتُواْ ٱلۡعِلۡمَ دَرَجَٰتٖۚ ﴾ [المجادلة : 11]

“อัลลอฮฺจะทรงยกย่องเทิดเกียรติแก่บรรดาผู้ศรัทธาในหมู่พวกเจ้า และบรรดาผู้ได้รับความรู้หลายระดับขั้น” (อัลมุญาดะละฮฺ : 11)

 

﴿وَقُل رَّبِّ زِدْنِي عِلْمًا﴾ [طه : 114]

และจงกล่าวเถิด “ข้าแต่องค์อภิบาลของข้าพระองค์ ขอพระองค์ทรงโปรดเพิ่มพูนความรู้แก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด” (ฏอฮา : 114)

และมีรายงานจากท่านมุอาวิยะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า

«مَنْ يُرِدْ اللَّهُ بِهِ خَيْرًا يُفَقِّهْهُ فِي الدِّينِ» [متفق عليه]

 "เมื่ออัลลอฮฺทรงประสงค์ให้บ่าวคนหนึ่งได้รับความดีงาม พระองค์จะให้เขามีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในศาสนา" (มุตตะฟักกุน อะลัยฮิ)

 

และมีรายงานจากอบี อัด-ดัรดาอ์ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ เล่าว่า ฉันได้ยินท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า

«مَنْ سَلَكَ طَرِيقًا يَبْتَغِي فِيهِ عِلْمًا  سَلَكَ اللَّهُ بِهِ طَرِيقًا إِلَى الجَنَّةِ، وَإِنَّ المَلَائِكَةَ لَتَضَعُ أَجْنِحَتَهَا رِضَاءً لِطَالِبِ العِلْمِ، وَإِنَّ العَالِمَ لَيَسْتَغْفِرُ لَهُ مَنْ فِي السَّمَوَاتِ وَمَنْ فِي الأَرْضِ حَتَّى الحِيتَانُ فِي المَاءِ، وَفَضْلُ العَالِمِ عَلَى العَابِدِ، كَفَضْلِ القَمَرِ عَلَى سَائِرِ الكَوَاكِبِ، إِنَّ العُلَمَاءَ وَرَثَةُ الأَنْبِيَاءِ، إِنَّ الأَنْبِيَاءَ لَمْ يُوَرِّثُوا دِينَارًا وَلَا دِرْهَمًا إِنَّمَا وَرَّثُوا العِلْمَ، فَمَنْ أَخَذَ بِهِ أَخَذَ بِحَظٍّ وَافِرٍ» [رواه أبو داود والترمذي]

“ผู้ใดที่ออกเดินทางเพื่อแสวงหาความรู้ อัลลอฮฺจะอำนวยความสะดวกให้แก่เขาไปสู่สวนสวรรค์ และแท้จริงมลาอิกะฮฺจะกางปีกเพื่อแสดงความความยินดีแก่เขาในการแสวงหาวิชาความรู้นั้น

และแน่นอนว่าสำหรับผู้รู้นั้นทุกสิ่งจะขออภัยโทษให้แก่เขา แม้กระทั่งบรรดาฝูงปลาในท้องน้ำก็ตาม และแท้จริง ระดับความประเสริฐของผู้ที่มีความรู้ (อาลิม) เมื่อเทียบกับผู้ที่ขยันทำอิบาดะฮฺแต่มีความรู้น้อย (อาบิด) จะเปรียบเสมือนความประเสริฐของดวงจันทร์ที่เหนือกว่าบรรดาหมู่ดาว

และแท้จริงบรรดาผู้ที่มีความรู้ (อุละมาอ์)พวกเขาคือทายาทของบรรดานบี ซึ่งบรรดานบีมิได้ทิ้งมรดกไว้เป็นเงินดีนารฺ (ทำจากทองคำ-ผู้แปล) หรือดิรฮัม (ทำจากเงิน-ผู้แปล) ทว่าแท้จริงสิ่งที่พวกเขาทิ้งไว้เป็นมรดกคือวิชาความรู้เท่านั้น ดังนั้น ผู้ใดที่ได้ครอบครองมันไว้ก็ถือว่าเขาได้ครอบครองส่วนแบ่งที่มากมายแล้ว” (บันทึกโดยอบูดาวูด และ อัต-ติรมีซียฺ)

 

 

และมีรายงานจากอบี ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ ว่าแท้จริงท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า

«إِذَا مَاتَ الإِنْسَانُ انْقَطَعَ عَنْهُ عَمَلُهُ إِلاَّ مِنْ ثَلاَثَةٍ : إِلاَّ مِنْ صَدَقَةٍ جَارِيَةٍ ، أَوْ عِلْمٍ يُنْتَفَعُ بِهِ ، أَوْ وَلَدٍ صَالِحٍ يَدْعُو لَهُ» [رواه مسلم]

"เมื่อมนุษย์เสียชีวิตลง การงานทั้งหลายของเขาก็จะถูกตัดขาดลงเว้นแต่เพียงสามประการ คือ การบริจาคทานที่ได้รับผลบุญต่อเนื่อง (เศาะดะเกาะฮฺ ญารียะฮฺ) ความรู้ที่ยังประโยชน์และบุตรที่ดีขออุอาอ์ให้แก่เขา" (บันทึกโดยมุสลิม)

 

อธิบาย

ความรู้เกี่ยวกับศาสนานั้นมีสถานะที่ยิ่งใหญ่มาก ซึ่งอัลลอฮฺทรงเรียกร้องบ่าวของพระองค์ไปสู่การศึกษามัน และสร้างแรงจูงใจที่ดีงามในการศึกษามัน และยังทรงเทิดเกียรติให้แก่ผู้รู้ศาสนาเหนือกว่าผู้อื่นอีกด้วย นอกจากนี้พระองค์ยังทรงทำให้การแสวงหาความรู้ศาสนานั้นเป็นหนึ่งในการงานที่ประเสริฐยิ่งที่ใช้แสวงหาความใกล้ชิดต่อพระองค์ และยังเป็นหนึ่งในสาเหตุที่สำคัญยิ่งที่จะทำให้เข้าสวรรค์ เนื่องจากในความรู้และการแสวงหาความรู้นั้นเป็นไปเพื่อการรู้จักในอัลลอฮฺ รู้จักในคำสั่งใช้และคำสั่งห้ามต่างๆ ของพระองค์ รวมไปถึงการดำรงมั่นในศาสนา

ด้วยเหตุนี้บรรดาผู้รู้ (อุละมาอ์) พวกเขาจึงเป็นทายาทที่รับมรดกจากบรรดานบีทั้งหลาย และบรรดานบีทั้งหลายนั้นได้ทิ้งมรดกเอาไว้แก่มนุษย์ชาติทั้งหลายด้วยความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับศาสนา เช่นนั้นแล้วใครที่ยึดความรู้ต่างๆ เหล่านั้นไว้ เขาก็เป็นหนึ่งในทายาทผู้รับมรดกจากบรรดานบีแล้ว และเมื่ออัลลอฮฺทรงประสงค์ให้บ่าวคนหนึ่งได้รับความดีงาม พระองค์จะทรงทำให้การแสวงหาความรู้ศาสนาของเขานั้นมีความสะดวกง่ายดาย

 

ประโยชน์ต่างๆ ของความรู้

·      

ความรู้นั้นเป็นมรดกจากบรรดานบี บรรดาผู้รู้จึงเป็นทายาทที่รับมรดกเหล่านั้น

·      

แท้จริงแล้วความเข้าใจในศาสนาเป็นหลักฐานบ่งชี้ว่าอัลลอฮฺกำลังประสงค์ให้บ่าวคนนั้นได้รับความดีงาม

·      

แท้จริงแล้วการแสวงหาความรู้ศาสนาเป็นหนึ่งในสาเหตุที่นำไปสู่สวรรค์

·      

แท้จริงแล้วส่วนหนึ่งจากมรดกที่ดีเลิศที่มนุษย์จะทิ้งเอาไว้เบื้องหลังของเขาก็คือความรู้ที่ยังประโยชน์แก่ผู้อื่น เพราะมันจะยังสร้างผลบุญให้แก่เขาอย่างต่อเนื่องแม้ว่าเขาจะตายจากโลกนี้ไปแล้วก็ตาม

...................................

แปลโดย : อับดุลฟัตตาห์ ยิดนรดิน

ตรวจทานโดย : ฟัยซอล อับดุลฮาดี

คัดลอกจาก    http://IslamHouse.com/438860

 

 

 

Maintained by: e-Daiyah Group (1429 H - 2008).