Loading

 

จงเป็นผู้ที่ชอบให้อภัย

การให้อภัยเป็นคุณลักษณะที่ยิ่งใหญ่ที่มุสลิมจะต้องสร้างมารยาทอันนี้ แท้จริงอัลลอฮฺ ได้พรรณนาตัวของพระองค์ว่า พระองค์นั้นเป็นผู้ที่ให้อภัย และได้ใช้ให้บ่าวของพระองค์ให้เลียนแบบลักษณะนั้น อัลลอฮฺ ทรงตรัสว่า

 

ความว่า “เจ้า(มุหัมมัด) จงยึดไว้ซึ่งการให้อภัย และจงใช้ให้กระทำสิ่งที่ชอบ และจงผินหลังให้แก่ผู้โฉดเขลาทั้งหลายเถิด”

(อัลอะอฺรอฟ : 199)

การให้อภัยนั้น คือ การชัยชนะของจิตใจที่สงบต่อจิตใจที่ยุยงให้กระทำชั่ว โดยที่บุคคลหนึ่งจะแผ่ออกไปเมื่อมีบุคคลหนึ่งได้ทำอันตรายแก่เขา

แท้จริงท่านนบีมุหัมมัด ได้สั่งเสียในเรื่องของท่านอภัย โดยท่านกล่าวว่า

“การบริจาคทานจะไม่ทำให้ทรัพย์สินลดน้อยลง

และไม่มีบ่าวคนใดที่ให้อภัยนอกจากอัลลอฮ์จะทรงเพิ่มเกียรติยศให้แก่เขา

และไม่มีผู้ใดที่นอบน้อมถ่อมตนต่ออัลลอฮ์ นอกจากอัลลอฮ์จะทรงยกเขาให้สูงขึ้น “

(รายงานโดย มุสลิม)

ดังนั้นความประเสริฐของการให้อภัยยิ่งใหญ่มาก เมื่อการให้อภัยแผ่กระจายออกไปจะทำให้เกิดความรักในหมู่มนุษย์ และมันจะมีอิทธิพลต่อความรู้สึก ส่งผลทำให้เกิดความรัก และความเป็นมิตรกัน แท้จริงรางวัลของผู้ที่ชอบให้อภัยนั้น คือ อัลลอฮฺจะทรงรักเขา ดังที่พระองค์กล่าวว่า

وَالْكَاظِمِيْنَ الْغَيْظَ وَالْعَافِيْنَ عَنِ النَّاسِ وَاللهُ يُحِبُّ الْمُحْسِنِيْنَ

ความว่า “และบรรดาผู้ข่มโทษและบรรดาผู้อภัยแก่เพื่อนมนุษย์ อัลลอฮฺนั้นทรงรักผู้กระทำดีทั้งหลาย”  (ซูเราะห์ อาลีอิมรอน : 134)


ตัวอย่างของการอภัย

เรื่องของ อาลี ซัยนุลอาบีดีน

เด็กหนุ่มรับใช้ได้รินน้ำให้แก่นายของเขา แต่แล้วภาชนะได้ตกหล่นบนเท้าของอาลี และภาชนะนั้นก็ได้แตกหัก อาลี จึงโกรธมาก จนกระทั่งใบหน้าเปลี่ยนสี

เด็กหนุ่มจึงได้กล่าวว่า " โอ้นายของฉัน แท้จริงอัลลอฮฺทรงกล่าวว่า وَالْكَاظِمِيْنَ الْغَيْظَ ความว่า “และบรรดาผู้ข่มโทษ”

อาลี ซัยนุลอาบีดีน จึงกล่าวว่า “แท้จริงฉันได้ข่มโทษของฉันแล้ว”

แล้วเด็กหนุ่มก็กล่าวขึ้นอีกว่า “โอ้นายของฉัน และอัลลอฮ์ กล่าวว่า وَالْعَافِيْنَ عَنِ النَّاسِ ความว่า “และบรรดาผู้อภัยแก่เพื่อนมนุษย์”

แล้วอาลี ซัยนุลอาบีดีน ก็กล่าวอีกว่า “โดยแน่นอนแท้จริง ฉันได้อภัยแก่เจ้าแล้ว”

ดังนั้นเด็กหนุ่มก็ได้กล่าวว่า อัลลอฮฺทรงตรัสว่า وَاللهُ يُحِبُّ الْمُحْسِنِيْنَ ความว่า “และอัลลอฮ์นั้นทรงรักผู้กระทำดีทั้งหลาย” (ซูเราะห์ อาลีอิมรอน : 132)

ดังนั้นอาลี ซัยนุลอาบีดีน จึงกล่าวแก่เขาว่า “ฉันปล่อยท่านเป็นอิสระ เพื่อพระพักต์ของอัลลอฮ์”


ดุอาของท่านนบี ในวันสงความอุหุด

ในวันที่เกิดสงความอุหุด บรรดามุชรีกีนได้ทำร้ายท่านนบีอย่างหนัก บรรดาศอหาบะได้กล่าวแก่ท่านนบี ว่า แม้นว่าท่านขอดุอาให้แก่พวกเขา ท่านรอซูลกล่าวว่า

“แท้จริงฉันไม่ใช่ส่งมาเพื่อสาปแช่ง แต่ฉันถูกส่งมาเพื่อเป็นผู้เรียกร้อง และ เป็นความเมตตา

โอ้อัลลอฮฺขอได้โปรดอภัยโทษแก่กลุ่มชนของฉันด้วยเถิด เพราะแท้จริงพวกเขานั้นเป็นผู้ที่ไม่รู้ ”

(มุตตาฟากุลอาลัย)

เช่นนี้แหล่ะ ที่ท่านนบี อภัยแก่ศัตรูของท่านและท่านนั้นไม่ได้ละทิ้งพวกเขา แต่ทว่าทรงขอดุอาให้พวกเขาให้ได้รับการอภัยและได้รับทางนำที่ถูกต้อง เพราะท่านนั้นถูกส่งมาเพื่อเป็นความเมตตาแก่สากลโลก


จงเป็นผู้ที่ให้อภัย

จงรู้จักตัวของท่าน...ว่าเป็นผู้ที่ให้อภัยแก่คนอื่นหรือไม่ ?

ไม่ใช่เรื่องยากการที่บุคคลหนึ่งๆจะกำหนดตัวเองว่าเขาเป็นผู้ที่มีคุณลักษณะที่ชอบให้อภัยหรือไม่ ดังนั้นมาเถิด มาพร้อมกับพวกเรา เพื่อที่เราจะได้รู้จักตัวของพวกเราเอง ระหว่างการตอบคำถามต่อไปนี้

1. เมื่อมีบุคคลหนึ่งทำให้ท่านโกรธท่านทำอะไรกับเขา ?

2. เมื่อมีบุคคลหนึ่งมาทำร้ายท่านและขออภัยจากท่านท่านดำเนินการอย่างไร ?

3. การให้อภัยแก่ผู้ที่ทำร้าย หรือ การแก้แค้น ทั้งสองนี้อย่างไหนประเสริฐที่สุด ?

4. ท่านชอบอ่านชีวประวัติของผู้ที่ให้ชอบอภัยแก่คนอื่นหรือไม่ ?

5. การให้อภัยของท่านมาก่อนการเป็นศัตรูหรือไม่ ? และหลังจากนั้นท่านรู้สึกอย่างไร ?

6. เมื่อมีคนโง่มาทำอันตรายสร้างความไม่พอใจ ท่านจะดำเนินการอย่างไร ?

7. ท่านรังเกียจผู้ที่ทำอันตราย หรือสร้างความไม่พอใจกับท่านหรือไม่ ?

8. ท่านพิจารณาผลลัพธ์ที่เกิดจากความโกรธหรือไม่ ?

9. ท่านจะตักเตือนเพื่อนของท่านอย่างไร เมื่อเขาสร้างความไม่พอใจต่อคนๆหนึ่ง ?

10.ท่านชอบที่จะให้อภัย และชอบที่จะให้ของขวัญแก่คนอื่นหรือไม่ ?

จากหนังสือ كن عفوا

ถอดความโดย อัลฟารีซี


เขียนโดย: อาฏิฟ อับดุรรอชีด

ลิ้งก์ที่มา: http://www.islammore.com/main/content.php?page=sub&category=4&id=2269

Maintained by: e-Daiyah Group (1429 H - 2008).