Loading

 

โอ้ผู้ศรัทธา ! จงระลึกและระวังต่อไป

ในโลกนี้มีสัญญาณเกี่ยวกับโลกหน้า

จึงต้องสำนึกและเตรียมตัวให้พร้อม
ท่านพร้อมที่จะเริ่มชีวิตใหม่หรือยัง ?


จงระลึกถึงพระเดชานุภาพแห่งพระผู้เป็นเจ้า

قُلْ مَنْ يُنَجِّيْكُمْ مِنْ ظُلُمَاتِ البَرِّ وَالبَحْرِ تَدْعُوْنَهُ تَضَرُّعَاً وَخُفْيَةً لَئِنْ أَنْجَيْتَنَا مِنْ هَذِهِ لنََكُوْنَنَّ مِنَ الشَّاكِرِيْن ( الأنعام 63 )

“จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด)ว่า ใครเล่าจะช่วยเหลือพวกเจ้าให้พ้นจากบรรดาความมืดของทางบกและทางทะเล โดยที่พวกเจ้าวิงวอนขอต่อพระองค์ ด้วยความนอบน้อมและแผ่วเบา ถ้าหากพระองค์ทรงช่วยเราให้รอดพ้นจากสิ่งนี้แล้ว แน่นอนพวกข้าพระองค์จะเป็นผู้ที่อยู่ในหมู่ผู้กตัญญูรู้คุณ”
(อัลกุรอาน : อัลอันอาม 63)

قُلْ هُوَ القَادِرُ عَلَى أَنْ يَبْعَثَ عَلَيْكُمْ عَذَابَاً مِنْ فَوْقِكُمْ أَوْ مِنْ تَحْتِ أَرْجُلِكُمْ أَوْ يَلْبِسَكُمْ شِيَعَاًَ وَيُذِيْقَ بَعْضَكُمْ بَأْسَ بَعْضٍِ انْظُرْ كَيْفَ نُصَرِّفُ الآيَاتِ لَعَلَّهُمْ يَفْقَهُوْن ( الأنعام 65 )

“จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด) พระองค์คือผู้ทรงสามารถที่จะส่งการลงโทษมายังพวกเจ้า จากเบื้องบนของพวกเจ้า หรือจากใต้เท้าของพวกเจ้า หรือให้พวกเจ้าปนเปกันโดยมีหลายพวก และให้บางส่วนของพวกเจ้าลิ้มรสซึ่งการรุนแรงของอีกบางส่วน จงดูเถิด(มุฮัมมัด)ว่า เรากำลังแจกแจงโองการทั้งหลายอยู่อย่างไร เพื่อว่าพวกเขาจะได้เข้าใจ” (อัลกุรอาน : อัลอันอาม 65)

บทวิงวอนเพื่อขอความคุ้มครอง
ในการบันทึกของอิบนุมาญะฮฺ รายงานโดยท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุอุมัร กล่าวว่า ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ไม่เคยละ(กล่าว)ประโยค(ต่อไป)นี้ ในยามค่ำหรือรุ่งเช้า

الَّلهُمَّ إِنِّي أَسْأَلُكَ العَافِيَةَ في الدُّنْيَا وَالآخِرَةِ ، الَّلهُمَّ إِنِّيْ أَسْأَلُكَ العَفْوَ وَالعَافِيَةَ في دِيْنِيْ وَدُنْيَايَ وَأَهْلِي وَمَالي ، الَّلهُمَّ اسْتُرْ عَوْرَاتِيْ وَآَمِنْ رَوْعَاتِيْ وَاحْفَظْنِيْ مِنْ بَيْنِ يَدَيَّ وَمِنْ خَلْفِيْ وَعَنْ يَمِيْنِي وَعَنْ شِمَالِي وَأَعوْذُ بِكَ أَنْ أُغْتَالَ مِنْ تَحْتِي . قال وكيع : يعني الخَسْفَ .

คำอ่าน อัลลอฮุมมะอินนี อัสอะลุกะ อัลอาฟิยะตะ ฟิดดุนยาวัลอาคิเราะฮฺ อัลลอฮุมมะอินนี อัสอะลุกะ อัลอัฟวะ วัลอาฟิยะตะ ฟีดีนี วะดุนยายะ วะอะหฺลี วะมาลี อัลลอฮุมมัสตุรเอารอตี วะอามินเราอาตี วะหฺฟัซนี มินบัยนิยะดัยยะ วะมินค็อลฟี วะอันยะมีนี วะอันชิมาลี วะอะอูซุบิกะ อันอุฆตาละ มินตะหฺตียฺ

ความหมาย “โอ้อัลลอฮฺ ข้าพเจ้าขอให้พระองค์ท่านทรงประทานความปลอดภัยในโลกนี้และในโลกหน้า โอ้อัลลอฮฺ ข้าพเจ้าขอจากพระองค์ซึ่งความอภัยโทษ และความปลอดภัยใน(เรื่อง)ศาสนา โลก ครอบครัว และทรัพย์สินของข้าพเจ้า โอ้อัลลอฮฺ ขอให้พระองค์ทรงปกปิดสิ่งที่น่าละอายของข้าพเจ้า และขอพระองค์ท่านทรงให้ข้าพเจ้าปลอดภัยจากสิ่งที่น่าวิตกกังวล และขอพระองค์ท่านทรงคุ้มครองข้าพเจ้าในเบื้องหน้า เบื้องหลัง ข้างขวา และข้างซ้ายของข้าพเจ้า และขอความคุ้มครองต่อพระองค์ท่านจากอันตรายอันกะทันหันที่จะมาจากเบื้องล่าง” (ท่านอิมามวะเกียะกล่าวว่า หมายถึง ธรณีสูบ)

ความผิดส่วนตัวย่อมเป็นโทษต่อผู้อื่นด้วย

وَاتَّقُوْا فِتْنَةً لا تُصِيْبَنَّ الَّذِيْنَ ظَلَمُوْا مِنْكُمْ خَاصَّةً وَاعْلَمُوْا أَنَّ اللهَ شَدِيْدُ العِقَاب ( الأنفال 25 )


       “และพวกเจ้าจงระวังการลงโทษซึ่งมันจะไม่ประสบแก่บรรดาผู้อธรรมในหมู่พวกเจ้าโดย เฉพาะเท่านั้น และพึงรู้เถิดว่า แท้จริงอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้รุนแรงในการลงโทษ” (อัลกุรอาน : อัลอันฟาล 25)


رَوَى أَحْمَدُ عَنْ حُذَيْفَةَ بْنِ اليَمَانِ أَنَّ رَسُوْلَ الله صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ : وَالَّذِيْ نَفْسِيْ بِيَدِهِ لَتَأْمُرُنَّ بِالمَعْرُوْفِ وَلَتَنْهُنَّ عَنِ المُنْكَرِ أَوْ لَيُوْشِكَنَّ اللهُ أَنْ يَبْعَثَ عَلَيْكُمْ عِقَابَاً مِنْ عِنْدِهِ ثُمَّ لَتُدْعُنَّهُ فَلا يَسْتَجِيْبُ لَكُمْ .


ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า “ขอสาบานด้วยพระผู้ที่วิญญาณของข้าพเจ้าอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ว่า พวกเจ้าจำเป็นต้องเรียกร้องสู่ความดีและปราบปรามความชั่ว มิฉะนั้นใกล้เหลือเกินที่จะมีการลงโทษจากอัลลอฮฺยังพวก เจ้า จนกระทั่งพวกเจ้าจะวิงวอน แต่อัลลอฮฺจะไม่ตอบรับ” (อัลหะดีษ : บันทึกโดยอิมามอะหมัด)

รางวัลสำหรับผู้ศรัทธาที่เสียหาย


وعن أبي هريرة رضي الله تعالى عنه أيضاً عن النبي صلى الله عليه وسلم قال: "الشُّهَدَاءُ خَمْسَةٌ المَطْعُوْنُ، وَالمَبْطُوْنُ، وَالغَرِيْقُ، وَصَاحِبُ الهَدْمِ، وَالشَّهِيْدُ في سَبِيْلِ اللهَِ. رواه مالك والبخاري


ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า "บรรดาชะฮีดห้าคน(ประเภท) ผู้ที่เสียชีวิตด้วยโรคระบาดร้ายแรง, ผู้เสียชีวิตด้วยโรคภายใน, ผู้ที่จมน้ำตาย, ผู้เสียชีวิตใต้อาคารที่ถล่ม, และผู้เสียชีวิตในหนทางของอัลลอฮฺ(สงคราม)”
(อัลหะดีษ : บันทึกโดยมาลิกและบุคอรียฺ)


قال رسول الله صلى الله عليه وسلم : يقول الله تعالى : مَا لِعَبْدِي المُؤْمِنِ عِنْدِيْ جَزَاءٌ إِذَا قَبَضْتُ صَفِيَّهُ مِنْ أَهْلِ الدُّنْيَا ثُمَّ احْتَسَبَهُ إِلا الجَنَّة .
رواه البخاري .


ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า อัลลอฮฺตะอาลาตรัสไว้ว่า "สำหรับบ่าวของข้าที่เป็นผู้ศรัทธา ไม่มีการตอบแทนใดๆ(ที่สมเกียรติ)หากข้าได้ยึดวิญญาณของที่รักของเขาในบรรดาชาวโลกนี้ และเขาหวังในผลบุญด้วยความอดทน นอกจากสวนสวรรค์" (อัลหะดีษ : บันทึกโดยบุคอรียฺ)


هَلْ يَنْظُرُوْنَ إِلا السَّاعَةَ أَنْ تَأْتِيَهُمْ بَغْتَةً فَقَدْجَاءَ أَشْرَاطُهَا فَأَنَّى لَهُمْ إِذَا جَاءَتْهُمْ ذِكْرَاهُمْ ( محمد 18 )


          “ดังนั้น พวกเขามิได้คอยสิ่งใดนอกจากยามอวสาน ซึ่งมันจะมาหาพวกเขาอย่างกะทันหัน แต่ว่าเครื่องหมายต่างๆของมัน ได้มีมาแล้ว ดังนั้นเมื่อการตักเตือนของพวกเขา ได้มายังพวกเขาแล้ว จะเกิดประโยชน์อันใดเล่าแก่พวกเขา” (อัลกุรอาน : มุฮัมมัด 18)

عن أبي هريرة رضي الله عنه قال: قال رسول الله صلى الله عليه وسلم : ( لا تَقُوْمُ السَّاعَةُ حَتَّى تَكْثُرَ الزَلازِلُ )
أخرجه البخاري.


           ท่านอบูฮุรอยเราะฮฺ รายงานจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า “วันอวสานจะไม่เกิดขึ้น จนกว่าต้องมีแผ่นดินไหวอย่างมากมาย” (อัลหะดีษ : บันทึกโดยบุคอรียฺและมาลิก)


เขียนโดย : เชคริฎอ อะหมัด สมะดี

ลิ้งก์ที่มา: http://islaminthailand.org/dp6/?q=story/99

Maintained by: e-Daiyah Group (1429 H - 2008).