Loading

 

รวมฟัตวาอุละมาอ์ว่าด้วยการถือศีลอดและเดือนเราะมะฎอน

(1) - จะทราบได้อย่างไรว่าเริ่มเข้าสู่เดือนรอมฎอน?

ถาม : เราจะทราบได้อย่างไรว่าเข้าสู่เดือนรอมฎอน?

ตอบ : ด้วย 2 วิธี คือ
1- มองเห็นเดือน ดังที่อัลลอฮฺตะอาลาทรงตรัสไว้ว่า

????? ?????? ??????? ????????? ????????????

ความว่า “ดังนั้น ผู้ใดในหมู่พวกเจ้าเข้าอยู่ในเดือนนั้นแล้ว ก็จงถือศีลอดในเดือนนั้น” อัลบะเกาะเราะฮฺ : 185

ดังนั้น เมื่อมีการยืนยันจากผู้ที่เชื่อถือได้ ก็จำเป็นต้องปฏิบัติตาม
2- เดือนชะอฺบานครบ 30 วัน

(ฟัตวาเชค ศอลิหฺ อัลมุนัจญิด)

(2) - นอนเยอะในช่วงกลางวันของเดือนรอมฎอน

ถาม : ในเดือนรอมฎอนนั้น หากว่าหลังจากที่เราทานอาหารสุหูรฺและละหมาดฟัจญรฺเสร็จ เรานอนยาวถึงเวลาละหมาดซุฮรฺ เมื่อละหมาดซุฮรฺเสร็จก็นอนต่อจนถึงอัศรฺก็ตื่นละหมาดแล้วนอนต่อถึงมักริบ กระทำเช่นนี้การถือศีลอดของเราถือว่าใช้ได้ไหม?

ตอบ : การถือศีลอดในกรณีนี้ถือว่าใช้ได้ แต่การที่คนเรานอนตลอดทั้งวันนั้นถือเป็นความบกพร่องประการหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนรอมฎอนอันประเสริฐ ซึ่งเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่มุสลิมจะกระทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ตนเองให้ มากๆ ไม่ว่าจะเป็นการอ่านอัลกุรอาน หรือ การศึกษาหาความรู้ เป็นต้น

(ฟัตวาคณะกรรมการถาวรเพื่อการวิจัยทางวิชาการและชี้ขาดปัญหาศาสนา ซาอุฯ เล่ม 1 หน้า 129)

(3) - การทานอาหารสุหูรฺเป็นผลดีต่อการถือศีลอด

ถาม : คนที่ไม่ทานสุหูรฺนั้น การถือศีลอดของเขาถือว่าใช้ได้ไหม?

ตอบ : การถือศีลอดของเขาถือว่าใช้ได้ เพราะการทานสุหูรฺนั้นไม่ใช่เงื่อนไขในการทำให้การถือศีลอดนั้นใช้ได้ แต่เป็นสิ่งที่ส่งเสริมให้กระทำ (มุสตะหับ) เนื่องจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า :

??????????? ???? ?? ??????? ?????

ความว่า “ พวกท่านจงทานสุหูรฺเถิด แท้จริงแล้วการทานสุหูรฺนั้นนำมาซึ่งบะเราะกะฮฺ (ความจำเริญ) ” บันทึกโดย บุคอรี และมุสลิม

(ฟัตวาเชคอับดุลอะซีซ บิน บาซ จากหนังสือรวมฟัตวาของท่าน)

(4) - กลืนน้ำลายขณะถือศีลอด

ถาม : อยากทราบหุก่มการกลืนน้ำลายในขณะถือศีลอด

ตอบ : เป็นสิ่งที่กระทำได้ ฉันไม่พบว่ามีอุละมาอฺท่านใดเห็นต่างไปจากนี้ เนื่องจากเป็นการยากที่จะหลีกเลี่ยงการกลืนน้ำลาย ส่วนเสมหะและเสลดนั้นหากออกมาถึงช่องปากแล้วจำเป็นต้องคายออกมา และไม่อนุญาตให้กลืนเข้าไป เนื่องจากเป็นสิ่งที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ต่างจากน้ำลาย วะบิลลาฮิตเตาฟีก

(ฟัตวาเชค บินบาซ ในหนังสือรวมฟัตวาของท่าน เล่ม 3 หน้า 251)

(5) - การใช้ไม้สิวากขณะถือศีลอด

ถาม : มีบางคนพยายามหลีกเลี่ยงการใช้ไม้สิวากขณะถือศีลอด เนื่องจากเกรงว่าจะทำให้เสียการถือศีลอด ไม่ทราบว่าเช่นนี้ถูกต้องหรือไม่? และเวลาใดที่เหมาะสำหรับการใช้สิวากในเดือนรอมฎอน?

ตอบ : การหลีกเลี่ยงการใช้สิวากในขณะถือศีลอดนั้นเป็นการกระทำที่ไม่มีหลักฐาน เนื่องจากการใช้สิวากนั้นถือเป็นสุนนะฮฺดังที่ปรากฎในหะดีษเศาะหีหฺ

?????? ????? ???? ?????? ????

ความว่า “การใช้สิวากนั้น เป็นการทำให้เกิดความสะอาดในช่องปาก และทำให้เกิดความพอพระทัย ณ พระผู้เป็นเจ้า”

ซึ่งส่งเสริมให้กระทำทุกเวลาโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทำการอาบน้ำละหมาด,เมื่อจะทำ การละหมาด,ตื่นจากนอน หรือเข้าบ้าน เป็นต้น ไม่ว่าจะขณะถือศีลอดหรือไม่ก็ตาม และไม่เป็นการทำให้การถือศีลอดเสียแต่อย่างใด นอกเสียจากว่าไม้สิวากนั้นจะมีรสชาติและทิ้งร่องรอยในน้ำลาย หรือใช้แล้วเกิดมีเลือดไหลออกจากเหงือกหรือไรฟัน เช่นนี้แล้วก็ไม่อนุญาตให้กลืนกินสิ่งเหล่านั้น

(ฟัตวาเชค อิบนฺ อุษัยมีน ในฟิกฮุลอิบาดาต)

(6) - การกินหรือดื่มโดยไม่ได้ตั้งใจ

ถาม : อะไรคือหุก่มของการกินหรือดื่มขณะถือศีลอดด้วยความลืมตัว?

ตอบ : ผู้ ที่กินหรือดื่มขณะถือศีลอดโดยที่เขาไม่ได้เจตนานั้น การถือศีลอดของเขาถือว่าใช้ได้ แต่ทันทีที่เขานึกขึ้นได้จำเป็นต้องคายออกมาทันทีแม้ว่าจะเป็นเพียงอาหารแค่ คำเดียว ซึ่งหลักฐานที่ระบุว่าการถือศีลอดของเขาถือว่าใช้ได้นั้น ได้แก่หะดีษซึ่งรายงานโดยท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

?? ??? ??? ???? ???? ?? ??? ????? ???? ????? ????? ???? ?????

ความ ว่า : “ผู้ใดเผลอกินหรือดื่มในขณะถือศีลอด ก็ให้เขาถือศีลอดต่อไปแท้จริงแล้วอัลลอฮฺได้ทรงประทานอาหารและเครื่องดื่ม แก่เขา” บันทึกโดย บุคอรี และมุสลิม

(ฟัตวาเชค อิบนฺ อุษัยมีน ในฟิกฮุลอิบาดาต)

(7) - การใช้ยาห้ามประจำเดือนในเดือนรอมฎอน

ถาม : อนุญาตให้ใช้ยาห้ามประจำเดือนเพื่อให้สามารถถือศีลอดได้ทั้งเดือนหรือไม่?

ตอบ : สามารถกระทำได้ เนื่องจากเป็นการดีที่มุสลิมะฮฺจะได้ถือศีลอดพร้อมๆกับคนอื่นและไม่ต้องถือ ศีลอดชดภายหลัง ทั้งนี้ในกรณีที่ไม่มีผลข้างเคียงต่อตัวเธอ เนื่องจากสตรีบางคนเมื่อใช้ยาชนิดนี้แล้วจะทำให้เกิดอาการแพ้

(ฟัตวาเชคบินบาซ ในหนังสือรวมฟัตวาของท่าน เล่ม 15 หน้า 201)

(8 ) - การชิมอาหารขณะถือศีลอด

ถาม : การชิมรสชาติอาหารขณะถือศีลอดทำให้การถือศีลอดเสียหรือไม่?

ตอบ : อนุญาต ให้ใช้ลิ้นทำการชิมรสชาติอาหารขณะถือศีลอดได้ แต่ชิมเสร็จแล้วต้องคายออกมาและไม่กลืนกินอาหารนั้นเข้าไป หากผู้ใดเจตนากลืนอาหารเข้าไปถือว่าการถือศีลอดของเขานั้นเสีย ทั้งนี้ ปากนั้นถือเป็นอวัยวะภายนอก การชิมอาหารจึงไม่ทำให้การถือศีลอดเสีย เปรียบได้กับการบ้วนปากในการอาบน้ำละหมาด

(ฟัตวาเชคศอลิหฺ อัลเฟาซาน จาก www.islamway.com)

(9) – การอาเจียน

ถาม : การอาเจียนทำให้เสียการถือศีลอดหรือไม่?

ตอบ : หากว่าเจตนาทำให้อาเจียนก็ถือว่าเสีย แต่ถ้าหากอาเจียนออกมาเองโดยไม่เจตนา เช่นนี้ก็ไม่เสีย ซึ่งหลักฐานที่ระบุถึงประเด็นนี้ได้แก่หะดีษอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า :

?? ???? ????? ??? ???? ????? ??? ?????? ????? ?????

ความ ว่า "ผู้ใดที่อาเจียนออกมาโดยไม่ได้เจตนานั้นไม่มีการชดสำหรับเขา และผู้ใดที่เจตนาทำให้อาเจียน เขาก็จงชดเสีย" บันทึกโดย อบู ดาวุด และตัรมิซียฺ

หากรู้สึกเหมือนจะมีอะไรออกมา จำเป็นต้องพยายามกลั้นไว้ หรือ พยายามทำให้ออก? คำตอบคือ อย่าพยายามทำให้อาเจียนออกมา และอย่าพยายามกลั้น เพราะถ้าเจตนาให้อาเจียนออกมาการถือศีลอดก็เสีย และถ้าหากพยายามกลั้นก็อาจจะเกิดโทษได้ เพราะฉะนั้นให้ทำตัวตามสบาย หากอาเจียนออกมาโดยไม่ได้เจตนา ก็ไม่ทำให้การถือศีลอดเสียแต่อย่างใด

(ฟัตวาเชคอิบนุ อุษัยมีน)

(10) - ตัดผม ตัดเล็บ ขณะถือศีลอด

ถาม : อยากทราบว่าการตัดผม หรือตัดเล็บขณะถือศีลอดทำให้การถือศีลอดเสียหรือไม่?

ตอบ : การตัดผม ตัดเล็บ โกนขนรักแร้ หรือขนในที่ลับ ไม่ทำให้การถือศีลอดเสียแต่อย่างใด

(ฟัตวาคณะกรรมการถาวรเพื่อการวิจัยและชี้ขาดปัญหาศาสนา ซาอุดิอารเบีย)

(11) - บ้วนปากหลังจากทานสุหูรฺ

ถาม : จำเป็นหรือไม่ที่ต้องบ้วนปากหลังการทานสุหูรฺ? ถ้าหากทานแล้วไม่ได้บ้วนปากจนถึงเช้าจะทำให้การถือศีลอดเสียหรือไม่?

ตอบ : การบ้วนปากหลังทานสุหูรฺไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นต้องกระทำแต่อย่างใด เพียงแต่ส่งเสริมให้บ้วนปากเพื่อรักษาความสะอาดในช่องปาก

(ฟัตวาเชคอับดุรฺเราะหฺมาน อัลอัจญฺลาน)

(12) - หุก่มการอาบน้ำขณะถือศีลอด

ถาม : ขณะถือศีลอดหากเรารู้สึกเหนื่อยหรือร้อน สามารถอาบน้ำหรือใช้น้ำราดศีรษะหรือตัวได้หรือไม่?

ตอบ : สามารถ กระทำได้ ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้เคยใช้น้ำราดศีรษะเนื่องจากอากาศร้อน หรือกระหายขณะที่ท่านศีลอด ท่านอิบนุ อุมัรฺ ก็เคยทำให้ผ้าของท่านเปียกชุ่มขณะถือศีลอดเพื่อลดความร้อนหรือความกระหาย การที่เสื้อหรือตัวเปียกน้ำไม่มีผลต่อการถือศีลอด เนื่องจากน้ำไม่ได้เข้าไปในร่างกาย

(ฟัตวาเชคอิบนุ อุษัยมีน)

(13) - เลือดออกตามไรฟัน

ถาม : มีเลือดออกตามไรฟันหรือเหงือก ทำให้การถือศีลอดเสียหรือไม่?

ตอบ : เลือดที่ออกตามไรฟันไม่ทำให้การถือศีลอดเสียแต่อย่างใด แต่จำเป็นต้องระวังเท่าที่ทำได้ที่จะไม่กลืนเข้าไป เลือดกำเดาก็เช่นเดียวกัน

(ฟัตวาเชคอิบนุ อุษัยมีน)

(14) - กลืนเศษอาหารที่ติดอยู่ตามซอกฟัน

ถาม : หากมีเศษอาหารติดอยู่ตามซอกฟันแล้วเรากลืนเข้าไป เช่นนี้ถือว่าทำให้การถือศีลอดเสียหรือไม่?

ตอบ : ใน กรณีนี้จำเป็นต้องคายเศษอาหารเหล่านั้นออกมา และถ้าหากเขาเจตนากลืนมันเข้าไป เช่นนี้ทำให้การถือศีลอดของเขาเสีย แต่ถ้ากลืนกินเข้าไปด้วยความไม่รู้ หรือลืมตัว ก็ไม่เป็นไร อนึ่ง จำเป็นที่มุสลิมต้องรักษาความสะอาดในช่องปาก ไม่ว่าจะเป็นช่วงการถือศีลอดหรือไม่ก็ตาม

(ฟัตวาเชคศอลิหฺ อัลเฟาซาน)

(15) - ใช้น้ำหอมขณะถือศีลอด

ถาม : อยากทราบหุก่มการฉีดน้ำหอมขณะถือศีลอด

ตอบ : ไม่เป็นไร เป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้

(ฟัตวาเชคอิบนุ อุษัยมีน)

(16) – การเจาะเลือด

ถาม : การเจาะเลือดขณะถือศีลอดเพื่อนำไปตรวจ มีผลทำให้การถือศีลอดเสียหรือไม่?

ตอบ 1 : อัลหัมดุลิลลาฮฺ หากว่าเลือดที่เจาะไปนั้นโดยทั่วไปแล้วถือว่าเป็นปริมาณเพียงเล็กน้อย ก็ไม่ทำให้การถือศีลอดเสีย แต่ถ้าหากว่าเป็นการเจาะเลือดในปริมาณมาก ก็ควรถือศีลอดชดสำหรับวันนั้น เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงข้อขัดแย้งระหว่างอุละมาอฺ และเป็นการเผื่อ

(ฟัตวาคณะกรรมการถาวรเพื่อวิจัยทางวิชาการและฟัตวา ซาอุฯ เล่ม 10 หน้า 263)

ตอบ 2 : การตรวจเลือดเช่นนี้ไม่ทำให้การถือศีลอดเสีย แต่เป็นสิ่งที่อนุโลมให้กระทำเพราะความจำเป็น ไม่ใช่สิ่งที่ทำให้เสียการถือศีลอดตามบทบัญญัติศาสนาแต่อย่างใด

(ฟัตวาเชคบินบาซ ในฟะตาวา อิสลามิยะฮฺ เล่ม 2 หน้า 133)

(17) – การถือศีลอดในวันที่สงสัยว่าเป็นวันที่ 1 รอมฎอนหรือไม่?

ถาม : อยากทราบหุก่มการถือศีลอดในวันที่ยังไม่รู้แน่ชัดว่าเป็นวันที่ 1 รอมฎอนหรือ 30 ชะอฺบาน?

ตอบ : ผู้ที่ถือศีลอดในวันที่สงสัยว่าเป็นวันที่ 1 รอมฎอนหรือ 30 ชะอฺบาน โดยที่ไม่ได้ทราบว่ามีการเห็นเดือนอย่างถูกต้องตามหลักการ แล้วปรากฎว่าวันนั้นเป็นวันที่ 1 รอมฎอนพอดี เช่นนี้ การถือศีลอดของเขาในวันนี้ถือว่าใช้ไม่ได้ เนื่องจากเขาไม่ได้ยึดหลักศาสนาในการเริ่มถือศีลอด (นั่นคือการมองเห็นเดือน) อีกทั้งยังเป็นวันที่กังขา (เยามุชชัก) ซึ่งมีหลักฐานที่ถูกต้องระบุชัดเจนว่าไม่อนุญาตให้ถือศีลอดในวันนี้ [ เช่น รายงานจากท่านอัมมารฺ บิน ยาสิรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า “ ผู้ใดถือศีลอดในวันซึ่งเป็นที่กังขา (เยามุชชัก) แท้จริงเขาได้ฝ่าฝืนคำสั่งของอบุล กอสิม (ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม)” บันทึกโดยนักบันทึกทั้ง 4 ท่านอิบนุคุซัยมะฮฺกล่าวว่าเศาะหีหฺ

และ จำเป็นที่เขาต้องถือศีลอดชดสำหรับวันนี้ ซึ่งทัศนะนี้เป็นของอุละมาอฺส่วนใหญ่ เช่น ท่านอบูหะนีฟะฮฺ ท่านมาลิก ท่านชาฟิอียฺ และบรรดาสานุศิษย์ของท่านเหล่านั้น วะบิลลาฮิตเตาฟีก วะศ็อลลัลลอฮุอะลานะบิยินามุหัมมัด วะอาลิฮี วะเศาะหฺบิฮี วะสัลลัม

(ฟัตวาคณะกรรมการถาวรเพื่อวิจัยทางวิชาการและฟัตวา ซาอุฯ เล่ม 10 หน้า 117-118)

(18) - ประโยชน์ทางด้านสังคมของการถือศีลอด?

ถาม : การถือศีลอดมีประโยชน์ทางด้านสังคมหรือไม่?

ตอบ : การ ถือศีลอดมีประโยชน์ทางด้านสังคมหลายประการด้วยกัน เช่น ทำให้มุสลิมมีความรู้สึกว่าทั้งหมดเป็นประชาชาติเดียวกัน ทุกคนต่างถือศีลอดในช่วงเวลาเดียวกัน คนรวยจะสำนึกในเนียะมัตของอัลลอฮฺ รับรู้ถึงความรู้สึกของคนจน และสงสารพวกเขา และในเดือนรอมฎอนความชั่วร้ายในหนทางของชัยฏอนลดน้อยลง ความตักวายำเกรงเพิ่มมากขึ้น เมื่อมีความตักวา สังคมก็จะสงบสุข

(ฟัตวาเชคอิบนุ อุษัยมีน ในหนังสือรวมฟัตวาของท่าน)

(19) – ในเดือนรอมฎอนชัยฏอนถูกล่าม แต่ทำไมเรายังเห็นคนทำบาป?

ถาม : เราต่างทราบกันดีว่าในเดือนรอมฎอนนั้นชัยฏอนจะถูกล่าม แต่ทำไมเราจึงยังเห็นผู้คนกระทำบาปกันอีก?

ตอบ : การกระทำบาปและมะศียัตที่เราเห็นในเดือนรอมฎอนนั้นไม่ได้ขัดแย้งกับตัวบทที่ ว่าชัยฏอนถูกมัดหรือล่ามแต่อย่างใด เนื่องจากการที่พวกมันถูกล่ามนั้นไม่ได้บ่งบอกว่ามันจะไม่สามารถขยับเขยื้อน ตัวเลยเสียทีเดียว ดังนั้น จึงมีหะดีษบทหนึ่งระบุว่า

???? ??? ????????? ??? ?????? ??? ?? ?????? ???? ?? ????

ความว่า : “ในเดือนนี้ (รอมฎอน) ชัยฏอนจะถูกล่ามไว้ ดังนั้น พวกมันจึงไม่สามารถที่จะทำอะไรได้เหมือนกับที่เคยทำในเดือนอื่นๆ”
นั่นคือ ไม่ใช่ว่าพวกมันจะขยับเขยื้อนทำอะไรไม่ได้เลยเสียทีเดียว มันยังคงเคลื่อนไหว และยังหลอกล่อผู้คนให้หลงผิด เพียงแต่กำลังของมันในเดือนรอมฎอนจะไม่อยู่ในระดับเดียวกับในเดือนอื่นๆ

และปรากฎในบางรายงานซึ่งบันทึกโดยอันนะสาอียฺว่า :

???? ??? ???? ????????

ความว่า : “บรรดาชัยฏอนที่มีความชั่วร้ายระดับต้นๆจะถูกล่ามตรวนไว้”
ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งเร้นลับที่จำเป็นต้องศรัทธาโดยไม่ต้องซักไซร้ให้มากความ เช่นนี้จะเป็นการดีและปลอดภัยที่สุดสำหรับเรา

(ฟัตวาเชคอิบนุ อุษัยมีน ในหนังสือรวมเล่มฟัตวาของท่าน)

(20) - ถือศีลอดเพื่อลดความอ้วน

ถาม : อยากทราบหุก่มของคนที่ถือศีลอดเพื่อรักษาโรคหรือลดน้ำหนัก?

ตอบ : หากว่าเขาเนียตเพียงแค่นั้น แน่นอนว่าการถือศีลอดของเขาจะไม่มีประโยชน์ใดๆเลยในอาคิเราะฮฺ อัลลอฮตะอาลาทรงตรัสไว้ว่า

??? ????? ??????? ??????????? ?????????? ???? ?????? ??? ??????? ????? ???????? ????? ????????? ???? ????????? ????????? ?????????? ??????????? ? ????? ??????? ????????? ?????? ????? ????????? ????? ???????? ???????????? ????? ????????? ??????????

ความว่า : “ผู้ใดปราถนาชีวิตชั่วคราว (ในโลกนี้) เราก็จะเร่งให้เขาได้รับมัน ตามที่เราประสงค์แก่ผู้ที่เราปราถนา แล้วเราได้เตรียมนรกไว้สำหรับเขา เขาจะเข้าไปอย่างถูกเหยียดหยามถูกขับไส และผู้ใดปราถนาปรโลก และขวนขวายเพื่อมันอย่างจริงจัง โดยที่เขาเป็นผู้ศรัทธา ชนเหล่านั้น การขวนขวายของพวกเขาจะได้รับการชมเชย” (อัลอิสรออฺ : 18-19)

(ฟัตวาอุละมาอฺ รวบรวมโดย เชคศอลิหฺ อัลมุนัจญิด)

(21) - คนป่วย

ถาม : ชายคนหนึ่งเป็นโรคกระเพาะอักเสบ หมอห้ามให้เขาถือศีลอดเป็นเวลา 5 ปี ไม่ทราบว่าเช่นนี้เขาต้องทำอย่างไร?

ตอบ : หากว่าหมอที่ห้ามเขาถือศีลอดนั้นเป็นผู้ที่เชื่อถือได้ มีความรู้ และมีอมานะฮฺ เช่นนี้ก็จำเป็นต้องปฏิบัติตามที่หมอบอก ด้วยการไม่ถือศีลอด จนกระทั่งเขาสามารถที่จะถือศีลอดได้อีกครั้ง ดังที่อัลลอฮฺตะอาลาทรงตรัสไว้ว่า

????? ????? ?????? ????????? ???? ????? ?????? ????????? ????? ???????? ?????

ความว่า : "แล้วผู้ใดในหมู่พวกเจ้าป่วยหรืออยู่ในการเดินทางก็ให้ถือใช้ในวันอื่น" (อัลบะเกาะเราะฮฺ : 184)

และเมื่อเขาหายแล้ว ก็จำเป็นที่เขาต้องถือศีลอดชดสำหรับเดือนรอมฎอนที่เขาไม่ได้ถือศีลอด

(22) - ผู้ป่วยที่ไม่สามารถถือศีลอดได้อีกเลย

ถาม : อยากทราบหุก่มของผู้ที่ไม่สามารถถือศีลอดได้อีกเลย เนื่องจากเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่มีความหวังจะหาย หรือเนื่องจากความชรา?

ตอบ : จำเป็นที่เขาต้องให้อาหารแก่คนจน ครึ่งศออฺ (ราวๆ ครึ่งกิโลกรัม) 1 คน ต่อ 1 วัน ซึ่งอาหารนั้นต้องเป็นอาหารหลักที่คนทั่วไป ณ ที่นั้นทานกัน เช่น ข้าว เป็นต้น โดยให้จ่ายต้นเดือนดังที่ท่านอนัส เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เคยทำ หรือจะเป็นกลางๆเดือน หรือปลายเดือนก็ได้

(ฟัตวาอุละมาอฺ รวบรวมโดย เชค ศอลิหฺ อัลมุนัจญิด)

(23) - การเนียตในคืนก่อนการเดินทาง

ถาม : ชายคนหนึ่งประสงค์จะเดินทางในวันรุ่งขึ้น ไม่ทราบว่าในคืนนั้นเขาจะเนียตว่าพรุ่งนี้จะไม่ถือศีลอด (เพราะจะเดินทาง) ได้หรือไม่?

ตอบ : ไม่อนุญาตให้กระทำเช่นนั้น จำเป็นที่เขาต้องเนียตถือศีลอด เพราะเขาไม่อาจรู้ได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับเขา อาจจะมีเหตุทำให้เดินทางไม่ได้ก็เป็นได้ เมื่อเขาเดินทางแล้วจึงค่อยละศีลอดหากเขาประสงค์ หรือหากจะยังคงถือศีลอดก็ไม่เป็นไร

(ฟัตวาอุละมาอฺ รวบรวมโดย เชค ศอลิหฺ อัลมุนัจญิด)

(24) - คอตัมอัลกุรอานในเดือนรอมฎอน

ถาม : อยากทราบว่า จำเป็นไหมที่เราต้องอ่านอัลกุรอานให้จบในเดือนรอมฎอน?

ตอบ : ถือเป็นเรื่องดีที่เราจะอ่านอัลกุรอานให้มากๆในเดือนรอมฎอน หากอ่านให้จบได้ก็ยิ่งดี แต่ไม่ได้เป็นสิ่งที่วาญิบ(จำเป็น) ต้องกระทำแต่อย่างใด นั่นคือ หากอ่านไม่จบก็ไม่ถือว่าเป็นบาปแต่อย่างใด แต่ก็จะเป็นการพลาดผลบุญอันใหญ่หลวง

มีบันทึกในเศาะหีหฺบุคอรี (4614) จากท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ ว่า

?? ????? ??? ?????? ????? ?????????? ?????? ????? ???????? ????????? ?????????? ????? ????? ??????? ? ?????? ???????? ??????????? ??? ???????? ??????? ?????? ???

ความว่า : ญิบรีลได้ทวนอัลกุรอานให้ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ปีละครั้ง ส่วนในปีที่ท่านเสีย ญิบรีลทวนอัลกุรอานให้ท่านสองครั้ง

อิบนุลอะษีรฺ เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า :
“นั่นคือ ญิบรีลได้ช่วยท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ทวนอัลกุรอานทั้งหมดที่ถูกประทานลงมา” (เฆาะรีบุลหะดีษ 4/64)

ซึ่ง การคอตัมอัลกุรอานในเดือนรอมฎอนก็ได้เป็นแนวทางปฏิบัติของบรรดาชนยุคแรก เรื่อยมา ตามแบบฉบับของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ดังมีบันทึกว่าท่านเหล่านั้นอ่านอัลกุรอานจบมากกว่าหนึ่งครั้งในเดือนนี้ บางท่านอาจจะอ่านจบวันละครั้งหรือมากกว่านั้นด้วยซ้ำ

ท่านนะวะวีย์ เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวถึงประเด็นการคอตัมอัลกุรอานว่าควรจะมากน้อยเพียงใด ว่า :
“ที่ ถูกต้องคือ ประเด็นดังกล่าวเป็นเรื่องที่แล้วแต่กรณีของแต่ละคน บางคนต้องใช้เวลาและความละเอียดมากในการที่จะพินิจพิเคราะห์ถึงความหมายที่ ลึกซึ้ง สำหรับเขาก็ควรอ่านเฉพาะเท่าที่จะทำให้เขาเข้าใจได้อย่างลึกซึ้งที่สุด หรือบางคนอาจจะยุ่งอยู่กับการเผยแพร่ความรู้ หรือสิ่งอื่นๆที่สำคัญต่อศาสนาและผลประโยชน์ของประชาชาติมุสลิม เขาก็อาจจะอ่านเท่าที่จะไม่ทำให้มีผลกระทบต่อหน้าที่การงานของเขา ส่วนคนอื่นๆที่ไม่ได้เข้าข่ายกรณีดังกล่าว ก็อาจจะอ่านให้มากแต่ก็อย่าให้ถึงขั้นทำให้รู้สึกเบื่อหรือต้องอ่านเร็วจน เกินไป” (อัตติบยาน 76)

(ฟัตวาอุละมาอฺ รวบรวมโดย เชค ศอลิหฺ อัลมุนัจญิด)

(25) - การถือศีลอดของเด็ก

ถาม : เราจะให้เด็กที่มีอายุไม่ถึง 15 ปี ถือศีลอด เหมือนกับที่เราให้เขาละหมาดหรือไม่?

ตอบ : สมควรฝึกให้เด็กที่ยังไม่บรรลุศาสนภาวะได้ถือศีลอดหากพวกเขาสามารถจะทำได้ ดังเช่นที่เศาะหาบะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม ได้ฝึกลูกหลานของท่าน

อุละมาอ์ท่านกล่าวว่า ผู้ปกครองควรที่จะใช้ให้ลูกหลานของตนถือศีลอด เพื่อจะได้เป็นการฝึกฝนพวกเขา ทำให้เกิดความเคยชิน และทำให้รากฐานทางศาสนาฝั่งแน่นลงไปในจิตใจของพวกเขา จนเปรียบเสมือนเป็นเรื่องปกติธรรมสำหรับพวกเขา แต่ถ้าพวกเขาไม่สามารถทนได้ หรืออาจเกิดอันตราย ก็ไม่จำเป็นต้องถือศีลอด

แต่สิ่งหนึ่งที่ อยากจะเตือนคือ พ่อแม่บางคนไม่ยอมให้ลูกหลานตนถือศีลอด ซึ่งถือว่าขัดกับแนวทางของบรรดาเศาะหาบะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม โดยพ่อแม่เหล่านั้นอ้างว่า เป็นเพราะสงสารและเมตตาลูกๆของพวกเขา ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว ความเมตตาที่แท้จริงก็คือการกำชับใช้เด็กเหล่านั้นให้มีความเคยชินกับบท บัญญัติอิสลาม ซึ่งไม่ต้องสงสัยว่าเช่นนี้ คือการอบรมสั่งสอนที่ถูกต้องสมบูรณ์

มีรายงานจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่า :

???? ???????? ???? ??? ????? ??????? ??????????? ??? ???????????

“และผู้ชายนั้นมีหน้าที่รับผิดชอบสมาชิกในครอบครัวของเขา และเขาจะถูกถามถึงการทำหน้าที่ของเขา” (บันทึกโดย บุคอรี 893 และมุสลิม 1829)

(หนังสือฟัตวา เชค อิบนุอุษัยมีน หมวดดะอฺวะฮฺ 1/145-146)
islamtoday.net

(26) - ไปละหมาดตะรอเวียะหฺช้า

ถาม : ในกรณีที่ฉันไปมัสยิดช้า แล้วไม่ทันละหมาดอิชาอ์พร้อมญะมาอะฮฺ ฉันจึงละหมาดคนเดียว ทำให้ฉันพลาดการละหมาดตะรอเวียะหฺพร้อมอิหม่าม 2 ร็อกอัต เช่นนี้ฉันจะละหมาด 2 ร็อกอัตนี้อย่างไร? ละหมาดคนเดียว หรือเช่นไร?

ตอบ :
ข้อแรก : ในกรณีที่คุณไปไม่ทันละหมาดอิชาอ์ โดยเมื่อไปถึงปรากฏอิหม่ามได้เริ่มละหมาดตะรอเวียะหฺแล้ว ที่ดีกว่าคือ ให้คุณละหมาดพร้อมอิหม่ามโดยเนียต (ตั้งเจตนา) ว่าเป็นละหมาดอิชาอ์ เมื่ออิหม่ามให้สลามแล้ว ก็ให้คุณขึ้นละหมาดต่อให้เสร็จในส่วนที่เหลือ
และ คุณอย่าได้ละหมาด (อิชาอ์) คนเดียว หรือพร้อมญะมาอะฮฺอื่น เพื่อที่จะได้ไม่เกิดการทำญะมาอะฮฺซ้อนกันสองญะมาอะฮฺในเวลาเดียวกัน และอาจจะเป็นการรบกวน หรือสร้างความสับสนได้

ข้อที่สอง : ในส่วนของละหมาดตะรอเวียะหฺที่คุณพลาดการละหมาดพร้อมอิหม่ามไปนั้น หากคุณประสงค์จะละหมาดชด ก็ไม่ต้องให้สลามพร้อมอิหม่ามในการละหมาดวิเตร แต่ให้คุณลุกขึ้นละหมาดอีก 1 ร็อกอัต ให้จำนวนร็อกอัตละหมาดวิเตรเป็นเลขคู่ แล้วจึงให้สลาม จากนั้นก็ให้ละหมาดตะรอเวียะหฺในส่วนที่คุณพลาดไป แล้วจึงตามด้วยวิเตร

มีคนถาม เชค อิบนุ อุษัยมีน เราะหิมะฮุลลอฮฺ ว่า : หากฉันไปละหมาดตะรอเวียะหฺช้า และพลาดการละหมาดบางส่วนไป เช่นนี้ ฉันต้องละหมาดใช้หลังละหมาดวิเตร หรือเช่นไร?

ท่านตอบว่า : ท่านอย่าได้เกาะฎอ (ละหมาดชด) ส่วนที่ท่านพลาดไป หลังการละหมาดวิเตร แต่ถ้าหากท่านประสงค์จะเกาะฎอส่วนที่ท่านพลาดไป ก็ให้ละหมาดวิเตรที่ท่านละหมาดพร้อมอิหม่ามนั้นเป็นจำนวนคู่ (นั่นคือ เมื่ออิหม่ามให้สลามจากวิเตรแล้ว ก็ให้ลุกขึ้นละหมาดอีก 1 ร็อกอัตแล้วจึงค่อยให้สลาม) หลังจากนั้นก็ให้ละหมาดในส่วนที่ท่านพลาดไป แล้วจึงตามด้วยละหมาดวิเตร

ซึ่ง ณ ตรงนี้ มีประเด็นหนึ่งที่อยากจะชี้แจงคือ หากท่านไปถึงแล้วอิหม่ามเริ่มละหมาดตะรอเวียะหฺแล้ว ในขณะที่ท่านยังไม่ละหมาดอิชาอ์ ท่านจะทำเช่นไร? จะละหมาดอิชาอ์คนเดียว หรือ จะละหมาดพร้อมกับอิหม่ามซึ่งกำลังละหมาดตะรอเวียะหฺ ด้วยเนียตอิชาอ์?

คำตอบ คือ ให้ละหมาดพร้อมอิหม่ามซึ่งกำลังละหมาดตะรอเวียะหฺ โดยที่ท่านเนียตละหมาดอิชาอ์ เมื่ออิหม่ามให้สลามจากละหมาดตะรอเวียะหฺ ก็ให้ท่านยืนขึ้นละหมาดในส่วนที่ท่านพลาดไปให้ครบ ซึ่งท่านอิมามอะหฺมัด เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้ระบุถึงประเด็นนี้อย่างเจาะจง ซึ่งนี่ก็เป็นทัศนะที่ ท่านอิบนุตัยมิยะฮฺให้น้ำหนัก และเป็นทัศนะที่มีน้ำหนักที่สุด

เพราะที่ถูกแล้ว คือ : อนุญาตให้ผู้ที่ทำการละหมาดฟัรฎู ตามหลังผู้ที่ทำการละหมาดสุนัตได้ โดยมีหลักฐานคือ หะดีษที่ท่าน มุอาซ บิน ญะบัล เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ ละหมาดอิชาอ์พร้อมท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม แล้วหลังจากนั้นท่านก็กลับไปนำละหมาดชาวบ้านที่หมู่บ้านของท่านอีกครั้ง ซึ่งสำหรับท่านการละหมาด (ครั้งที่สอง) ถือเป็นสุนัต และสำหรับพวกเขาเหล่านั้นถือเป็นฟัรฎู (จาก อัลลิกออ์ อัชชะฮฺรีย์)

ซึ่งหากท่านสามารถเกาะฎอละหมาดตะรอเวียะหฺนั้นในรูปญะมาอะฮฺได้ก็เป็นการดี แต่ถ้าไม่สะดวก ก็อาจจะละหมาดเพียงคนเดียวได้ไม่มีปัญหา

วัลลอฮุอะลัม
IslamQA

(27) - ปวดศีรษะมากจะละศีลอดได้ไหม?

ถาม : ในเดือนรอมฎอนฉันรู้สึกปวดศีรษะอย่างรุนแรง อันเนื่องมาจากอาการปวดฟัน ฉันจะทานยาในขณะที่ฉันถือศีลอดอยู่ได้ไหม?

ตอบ : การปวดศีรษะอย่างรุนแรงนั้น ถือเป็นหนึ่งในข้ออนุโลมให้ละศีลอดในเดือนรอมฎอนได้ โดยเฉพาะหากการถือศีลอดนั้นยิ่งทำให้อาการปวดรุนแรงมากยิ่งขึ้น เช่นนี้ก็อนุญาตให้ผู้ที่มีอาการดังกล่าวละศีลอด เพื่อทานยาแก้ปวด และทานอาหารดื่มน้ำเพื่อให้หายจากอาการปวดศีรษะได้ โดยที่เขาจำเป็นจะต้องถือศีลอดชดในภายหลัง ตามจำนวนวันที่เขาได้ละศีลอดไป ทั้งนี้ เพราะอัลลอฮฺตะอาลาตรัสว่า "และผู้ใดในหมู่เจ้าเจ็บป่วยหรืออยู่ระหว่างการเดินทาง เขาก็จงถือศีลอดชดในวันอื่นๆ" (อัลบะเกาะเราะฮฺ : 185)

เชค มุหัมมัดศอลิหฺ อัลมุนัจญิด
www.islamqa.com/ar/ref/108414

(28) - หาหมอฟันในเดือนรอมฎอน

ถาม : ถ้าหากว่าเราปวดฟัน จำเป็นต้องไปหาทันตแพทย์ เพื่อทำการรักษาด้วยการอุดหรือถอนฟันซี่ใดซี่หนึ่ง เช่นนี้จะมีผลต่อการถือศีลอดของเราหรือไม่? แล้วในกรณีที่ทันตแพทย์ฉีดยาชา เช่นนี้จะมีผลต่อการถือศีลอดไหม?

ตอบ : ที่กล่าวมาในคำถามนั้น ล้วนไม่มีผลต่อการถือศีลอดแต่อย่างใด ถือเป็นสิ่งที่อนุโลมให้ได้ แต่ทั้งนี้ ก็จำเป็นต้องระวังไม่กลืนยาหรือเลือดเข้าไป การฉีดยาชาก็เช่นเดียวกัน ไม่มีผลต่อการถือศีลอดแต่อย่างใด เพราะมันไม่ได้อยู่ในขอบข่ายของสิ่งที่เป็นอาหารหรือเครื่องดื่ม ดังนั้น การถือศีลอดจึงถือว่าใช้ได้

(ฟัตวาเชคอับดุลอะซีซ บินบาซ เราะหิมะฮุลลอฮฺ)

เชคมุนัจญิด กล่าวเสริมว่า:
แต่ถ้าคุณสามารถที่จะไปหาหมอในเวลากลางคืนได้ ก็จะเป็นการดีกว่า

ที่มา : www.islamqa.com/ar/ref/13767

(29) - สิ่งที่ส่งเสริมให้ทำในเดือนเราะมะฎอน

ถาม : อะไรคือการงานที่ส่งเสริมให้มุสลิมปฏิบัติในเดือนเราะมะฎอน?

ตอบ : ส่งเสริมให้ร่วมละหมาดกิยาม (ตะรอเวียะหฺ) พร้อมญะมาอะฮฺ (ละหมาดร่วมกันหลายๆคน) ด้วยความคุชูอฺ (ใจที่สงบนิ่ง) และส่งเสริมให้ละหมาดสุนัตให้มากทั้งกลางวันและกลางคืน ส่งเสริมให้อ่านอัลกุรอานให้มากพร้อมทั้งศึกษาทำความเข้าใจ และส่งเสริมให้ขอดุอาอ์และกล่าวซิกรฺ (รำลึกสดุดีอัลลอฮฺ) ในรูปแบบต่างๆ และใช้เวลาให้หมดไปกับการทำความดี บริจาคทาน และเลี้ยงละศีลอด รวมไปถึงการงานอื่นๆ เช่น ชักชวนกันทำความดีห้ามปรามจากความชั่ว และห่างไกลจากสิ่งที่ไร้ประโยชน์..วัลลอฮุอะลัม

ฟัตวาเชคอับดุลลอฮฺ อัลญิบรีน คำถามเลขที่ 8066
ที่มา www.ibn-jebreen.com/ftawa.php?view=vmasal&subid=8066&parent=806


ผู้แปล : อัสรัน นิยมเดชา

ผู้ตรวจทาน : ทีมงานภาษาไทย เว็บอิสลามเฮ้าส์

เผยแพร่โดย : อิกเราะอ์ฟอรั่ม www.iqraForum.com

ลิ้งก์ที่มา : http://www.islamhouse.com/p/230570


Maintained by: e-Daiyah Group (1429 H - 2008).