Loading

 

เชิญชวนให้ทำความดีและห้ามปรามการทำความชั่ว

พี่น้องผู้ร่วมละหมาดญุมอัตที่เคารพทั้งหลาย
ก่อนอื่นก็ขอความสันติสุขจงมีแด่พวกเราทุกคนและขอให้เราทุกคนจงตักวาต่ออัลลอฮฺ(ซุบหานะฮูวะตะอาลา) เพื่อว่าพวกเราทุกคนจะได้รับความสำเร็จทั้งดุนยาและอาคิเราะฮฺ ดังที่พระองค์ได้ตรัสว่า


( ?????????? ??????? ??????????? ???????????) (???? ?? ?????: ?? ????? 200)


ความว่า พวกเจ้าจงตักวาต่ออัลลอฮฺเถิดเพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับความสำเร็จ(ทั้งดุนยาและอาคิเราะฮฺ)

พี่น้องผู้ร่วมศรัทธาทั้งหลาย
เมื่อเราพิจารณาสภาพสังคมที่เราอาศัยอยู่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นสังคมเมือง หรือสังคมชนบท จะเห็นได้ว่าการกระทำความดีค่อนข้างลดน้อยลง ในทางกลับกันสิ่งที่ไม่ดีหรือสิ่งที่ชั่วนับวันก็เพิ่มมากขึ้นและขยายออกไปเรื่อยๆ จนกระทั่งบางสิ่งบางอย่างมันเลวร้ายจนเรานึกไม่ถึง อาทิเช่น มีเยาวชนมุสลิมบางคนถือขวดเหล้าอย่างเปิดเผย อย่างโจ่งแจ้งในที่สาธารณะ บางคนกระทำผิดซินาเหมือนกับว่ามันเป็นเรื่องปกติธรรมดาไปแล้ว การเสพและค้าขายสิ่งเสพติด การลักขโมยทรัพย์สินของผู้อื่น ตลอดจนอาชญากรรมต่างๆอีกหลากหลายรูปแบบ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการตักเตือนซึ่งกันและกัน เพื่อให้สิ่งที่ดีๆตามหลักการอิสลามได้รับการปฏิบัติ และสิ่งที่ไม่ดีต่างๆจะต้องถูกปฏิเสธและสลายหายไปจากสังคมในที่สุด อัลลอฮฺได้ตรัสเกี่ยวกับประโยชน์ของการตักเตือนนี้ในอัลกุรอานว่า


(????????? ??????? ?????????? ???????? ??????????????)
(???? ????????: 55)


ความว่า และจงมีการตักเตือนเถิด แท้จริงการตักเตือนจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ศรัทธาทั้งหลาย

พี่น้องผู้เกียรติทุกท่าน
การเชิญชวนให้มีการทำความดีและห้ามปรามการทำความชั่วนั้นเป็นภาระหน้าที่ของมวลมนุษย์ทั้งหลายที่จะต้องมีมาตรการในการสอดส่องดูแลและส่งเสริมในสิ่งที่ดี ในขณะเดียวกันก็ต้องควบคุมมิให้สิ่งที่ชั่วร้ายต่างๆเกิดขึ้น มาตรการดังกล่าวจึงถือว่ามีความสำคัญมากในการที่จะทำให้สังคมหรือชุมชนมีความน่าอยู่ น่าอาศัย และมีแต่ความสงบสุข
อิสลามมีมาตรการที่ชัดเจนในเรื่องนี้ กล่าวคือได้มีการกำหนดหุกมของการเชิญชวนการทำความดีและห้ามปรามการทำความชั่วนั้นออกเป็นสองหุกม ดังนี้

หุกมที่หนึ่ง เป็นฟัรฏูกิฟายะฮฺ หมายความว่าเป็นการมอบภาระหน้าที่ ความรับผิดชอบในภาพรวม กล่าวคือในเมืองหนึ่ง ตำบลหนึ่ง หรือชุมชนหนึ่ง ถ้าหากมีคนใดคนหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งคอยทำหน้าที่เชิญชวนให้มีการทำความดีและห้ามปรามการทำความชั่วแล้ว คนอื่นๆที่เหลือก็ถือว่าพ้นภาระไปด้วย แต่ถ้าหากไม่มีผู้ใดทำหน้าที่ดังกล่าวนี้เลย ก็จะมีผลทำให้ทุกคนที่เป็นสมาชิกของชุมชนนั้น จะต้องรับบาปทั้งหมด ดังที่อัลลอฮฺ (สุบฮาฯ)ได้ตรัสว่า


(?????????? ???????? ??????? ????????? ????? ????????? ????????????? ?????????????? ???????????? ???? ??????????? ??????????? ???? ??????????????) (???? ?? ?????: 104)


ความว่า และจงให้มีขึ้นในหมู่พวกเจ้าซึ่งบุคคลกลุ่มหนึ่งที่ทำหน้าที่เชิญชวนไปสู่สิ่งที่ดี และคอยใช้ให้กระทำความดีและคอยห้ามปรามการกระทำความชั่ว และชนเหล่านี้แหละคือบรรดาผู้ที่ได้รับความสำเร็จ

หุกมที่สอง เป็นฟัรฏูอีน ซึ่งเป็นกรณีของผู้ที่ประสบพบเห็นการกระทำที่ไม่ดี และไม่มีผู้ใดสามารถห้ามปรามได้ นอกจากเขาเท่านั้น กรณีนี้ก็ถือว่าวาญิบสำหรับเขาที่จะต้องห้ามปรามตามความสามารถของเขาที่จะทำได้

พี่น้องผู้มีเกียรติทุกท่าน
ความสำคัญของการเชิญชวนให้มีการทำความดีและห้ามปรามการทำความชั่วตามทัศนะของอิสลามนั้น นับว่ายิ่งใหญ่มาก ซึ่งอัลลอฮฺได้ตรัสว่า


(???????? ?????? ??????? ?????????? ????????? ??????????? ?????????????? ???????????? ???? ??????????? ????????????? ????????? ?????? ????? ?????? ?????????? ??????? ??????? ?????? ???????? ?????????????? ?????????????? ?????????????) (???? ?? ?????: 110)


ความว่า พวกเจ้าทั้งหลายเป็นประชาชาติที่ดียิ่ง ซึ่งถูกให้บังเกิดขึ้นสำหรับมนุษยชาติ โดยที่พวกเจ้าต้องใช้ให้พวกเขาปฏิบัติในสิ่งที่ดี และห้ามปรามพวกเขามิให้ทำในสิ่งที่ชั่ว และพวกเจ้าก็ศรัทธาต่ออัลลอฮฺ

ในอายะฮฺนี้จะเห็นได้ว่า อัลลอฮฺ (สุบฮาฯ) ได้กล่าวถึงการเชิญชวนให้มีการทำความดีและห้ามปรามการทำความชั่วก่อนการศรัทธา ในขณะที่การศรัทธาต่อพระองค์นั้นถือเป็นรากฐานของศาสนาอิสลาม แต่พระองค์ก็ทรงยกให้การเชิญชวนการทำความดีและห้ามปรามการทำความชั่วขึ้นมาก่อนเป็นลำดับแรก นอกจากนี้พระองค ์ยังตรัสอีกว่า


(???????????????? ???????????????? ?????????? ??????????? ?????? ??????????? ?????????????? ???????????? ???? ??????????? ???????????? ????????? ??????????? ?????????? ???????????? ??????? ??????????? ????????? ?????????????? ??????? ????? ??????? ??????? ???????) (???? ??????: 71)


ความว่า และบรรดาผู้ศรัทธาทั้งชายและหญิงนั้น พวกเขาต่างก็เป็นผู้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งพวกเขาจะใช้ให้ปฏิบัติในสิ่งที่ดีและห้ามปรามในสิ่งที่ชั่ว และพวกเขาจะดำรงไว้ซึ่งการละหมาดและจ่ายซะกาต และภักดีต่ออัลลอฮฺและเราะซูลของพระองค์ พวกเขาเหล่านี้แหละอัลลอฮฺจะทรงเมตตา แท้จริงอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงเดชานุาพและทรงปรีชาญาณ

ในอายะฮฺนี้นี้อัลลอฮฺ (สุบฮาฯ) ได้กล่าวถึงการเชิญชวนให้มีการทำความดีและห้ามปรามการทำความชั่วก่อน การละหมาด ในขณะที่การละหมาดเป็นเสาหลักของศาสนาอิสลาม อีกทั้งในประโยคสุดท้ายของอายะฮฺนี้ พระองค์ทรงชี้แจงอีกว่า “พวกเขาเหล่านี้แหละอัลลอฮฺจะทรงเมตตา” อันหมายถึงผู้ที่ใช้ให้ปฏิบัติในสิ่งที่ดีและห้ามปรามในสิ่งที่ชั่ว ดำรงไว้ซึ่งการละหมาด และจ่ายซะกาต อีกทั้งจงรักภักดีต่ออัลลอฮฺและเราะซูลของพระองค์” ดังนั้นผู้ที่จะได้รับความเมตตาจากอัลลอฮฺ จะต้องมีลักษณะตามที่ได้กล่าวมา
จากอายะฮฺทั้งสองข้างต้นนั้น การที่อัลลอฮฺได้จัดลำดับการเชิญชวนการทำความดีและห้ามปรามการทำความชั่ว ก่อนการศรัทธาและการละหมาดนั้น ก็เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นอย่างยิ่งของการเชิญชวนให้มีการทำความดีและห้ามปรามการทำความชั่ว อันจะนำมาซึ่งความดีงามในสังคม ซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์ทั้งหลายต่างก็ปรารถนาที่จะให้เกิดในขณะที่ความชั่วร้ายทั้งหลายก็จะสูญสลายไป

พี่น้องผู้รักการทำความดีทุกท่าน
ตัวอย่างที่เราสามารถหยิบยกมาเป็นอุธาหรณ์เกี่ยวกับผลลัพธ์ของการเพิกเฉย หรือ ละเลย ต่อหน้าที่ดังกล่าว ก็ดังเช่นเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับบะนีอิสรออีล ซึ่งอัลลอฮฺได้ตรัสว่า


(?????? ????????? ???????? ???? ????? ?????????? ????? ??????? ??????? ???????? ????? ???????? ?????? ????? ??????? ????????? ??????????? ? ??????? ?? ????????????? ???? ???????? ????????? ???????? ??? ??????? ???????????) (???? ???????: 78-79)


ความว่า บรรดาผู้ที่ปฏิเสธการศรัทธาในหมู่วงศ์วานอิสรออีลนั้นได้ถูกสาปแช่งโดยถ้อยคำของดาวูดและอีซาบุตรของมัรยัม นั่นก็เนื่องจากการที่พวกเขาฝ่าฝืนและที่พวกเขาเคยละเมิดกัน ปรากฏว่าพวกเขาต่างไม่ห้ามปรามกันในสิ่งที่ชั่วที่พวกเขาได้กระทำมันขึ้น ช่างเลวร้ายจริงๆสิ่งที่พวกเขากระทำ

จากอายะฮฺข้างต้นนี้เป็นเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในยุคของท่านนบีดาวูดและอีซา(อะลัยฮิมัสสะลาม) ซึ่งพวกบะนีอิสรออีล บางกลุ่มได้กระทำในสิ่งที่ไม่ดีในขณะที่กลุ่มอื่นๆที่เหลือไม่มีการห้ามปรามแต่อย่างใด อันเป็นสาเหตุทำให้พวกเขาถูกสาปแช่งจากอัลลอฮฺและเราะซูลทั้งสองของพระองค์
แต่ในขณะที่ประชาชาติอีกส่วนหนึ่งของบะนีอิสรออีลได้จงรักภักดีต่ออัลลอฮฺและเชื่อฟังบรรดาเราะซูลของพวกเขา และพวกเขาก็ได้ทำหน้าที่ในการเชิญชวนให้มีการทำความดีและห้ามปรามการทำความชั่ว ซึ่งทำให้พวกเขาได้รับคำชมเชยจากอัลลอฮฺซึ่งเราสามารถนำมาเป็นแบบอย่างได้ ดังที่พระองค์ตรัสว่า


(???????? ??????? ???? ?????? ?????????? ??????? ????????? ????????? ?????? ??????? ?????? ????????? ?????? ???????????? ??????????? ????????? ??????????? ???????? ????????????? ?????????????? ???????????? ???? ??????????? ?????????????? ??? ???????????? ??????????? ???? ?????????????) (???? ?? ?????:113-114)


ความว่า พวกเขาหาใช่เหมือนกันไม่ จากบรรดาชาวคัมภีร์นั้น มีกลุ่มชนหนึ่งที่เที่ยงธรรมซึ่งพวกเขาอ่านบรรดาโองการของอัลลอฮฺในยามค่ำคืน และพร้อมกันนั้นพวกเขาก็สุญูดกัน พวกเขาศรัทธาต่ออัลลอฮฺ และวันอาคิเราะฮฺ อีกทั้งพวกเขาก็มีเชิญชวนในการกระทำความดีและห้ามการกระทำความชั่ว และพวกเขาต่างรีบเร่งในการทำแต่สิ่งที่ดีงาม และกลุ่มชนเหล่านี้แหละเป็นผู้ที่ประพฤติดี

พี่น้องผู้มีเกียรติทุกท่าน
การห้ามปรามการทำชั่วนั้นจะมีระดับตามความสามารถของแต่ละบุคคล ตามที่ท่านนบีได้กล่าวว่า


«?? ??? ???? ?????? ??????? ???? ? ??? ?? ????? ??????? ? ??? ?? ????? ?????? ? ???? ???? ???????»


ความว่า ผู้ใดก็ตามที่พบเห็นการกระทำที่ไม่ดี ก็ขอให้เขาจงห้ามปรามด้วยมือของเขา ถ้าหากเขาไม่มีความสามารถก็ขอให้เขาจงห้ามปรามด้วยคำพูด และถ้าหากเขาไม่มีความสามารถอีก ก็ขอให้เขาห้ามปรามด้วยใจของเขา และการห้ามในลักษณะนี้คือผู้ที่อีมานอ่อนแอที่สุด

จากหะดีษบทนี้สามารถเข้าใจได้ว่าการห้ามปรามการทำชั่วนั้นมี 3 ระดับด้วยกันคือ
หนึ่ง ระดับของผู้ที่อำนาจที่ชอบด้วยกฎหมายไม่ว่าจะเป็นฝ่ายปกครองบ้านเมือง ผู้บริหารองค์กร ตลอดจนเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง บุคคลเหล่านี้มีความสามารถที่จะห้ามปรามด้วยการใช้กำลังหรืออำนาจหน้าที่ อันชอบธรรม เพื่อให้เห็นการเปลี่ยนแปลงได้ทันที โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เป็นหัวหน้าครอบครัว ดังที่อัลลอฮฺได้ตรัสเกี่ยวกับท่านลุกมานในการสอนลูกของท่านว่า


(??? ??????? ?????? ????????? ???????? ?????????????? ??????? ???? ??????????? ????????? ????? ??? ?????????) (???? ?????: 17)


ความว่า โอ้ลูกเอ๋ย เจ้าจงดำรงไว้ซึ่งการละหมาดและจงใช้ให้กระทำความดีและจงห้ามปรามการกระทำความชั่ว และจงอดทนกับสิ่งที่เจ้าประสบ (ความยากลำบาก)

สอง ระดับของอุละมาอ์ ครูบาอาจารย์ หรือบรรดาผู้ที่มีความรู้ทั้งหลาย ซึ่งอาจจะรวมถึงพวกเราทุกคนที่อยู่ ณ ที่นี้ด้วย บุคคลเหล่านี้ถือว่ามีความสามารถที่จะห้ามปรามด้วยคำพูดได้ ในการที่จะชี้แจงถึงผลเสียและโทษของการทำความชั่ว และการใช้คำพูดนี้ก็ต้องมีหิกมะฮฺ มีวิทยปัญญาหรือจิตวิทยาในการที่จะสั่งสอนหรือห้ามปรามผู้ที่กระทำความชั่ว ดังที่อัลลอฮฺได้ตรัสว่า


(????? ????? ??????? ??????? ????????????? ??????????????? ??????????? ????????????? ????????? ???? ???????? ) (???? ?????: ?? ????? 125)


ความว่า เจ้าจงเชิญชวนสู่แนวทางของอัลลอฮฺด้วยวิทยปัญญาและการตักเตือนที่ดีและจงตอบโต้พวกเขาด้วยสิ่งที่ดีกว่า(คือด้วยความอ่อนโยนและสุภาพ)

สาม ระดับของบุคคลทั่วไป ซึ่งหมายถึงผู้ที่ไม่มีอำนาจที่จะห้ามปรามด้วยมือและไม่มีความรู้ที่จะไปสั่งไปสอนเขาด้วยคำพูด ก็ขอให้เขาห้ามด้วยใจ คือการรังเกียจ ไม่เห็นชอบ และไม่เข้าไปมีส่วนร่วมกับการกระทำที่ไม่ดีทั้งหลาย และการห้ามด้วยใจนั้น ท่านนบีถือว่าเป็นบุคคลที่มีอีมานอ่อนแอที่สุด (และเป็นการห้ามที่ทุกคนสามารถกระทำได้ ถ้าหากบุคคลใดไม่กระทำ นั่นย่อมแสดงว่าเขาไม่มีอีมานอยู่เลย – บก.)

พี่น้องผู้มีเกียรติทุกท่าน
ผลตอบแทนของผู้ที่ทำหน้าที่เชิญชวนให้มีการทำความดีและห้ามปรามการทำความชั่วนั้น อัลลอฮฺได้ชี้แจงอย่างชัดเจนว่าพวกเขาจะได้รับความเมตตาจากพระองค์และพวกเขาจะประสบกับความสำเร็จตามอายะฮฺที่ได้กล่าวมาแล้ว นอกจากนั้นอัลลอฮฺจะทรงตอบรับดุอาของพวกเขาและประทานความช่วยเหลือให้แก่พวกเขาอีกด้วย ดังหะดีษกุดซีย์ที่ท่านนบีได้กล่าวว่า


«?? ????? ??? ???? ???? ???? ??? : ???? ???? ????? : ???? ???????? ?????? ?? ?????? ??? ?? ?????? ??? ?????? ??? ???? ?? ??????? ??? ?????? ???? ?? ????????? ??? ??????»


ความว่า ท่านนบีได้กล่าวว่า อัลลอฮฺได้ตรัสว่า พวกเจ้าทั้งหลายจงใช้ให้มีการทำความดีและจงห้ามปราการทำความชั่ว ก่อนที่พวกเจ้าจะขอดุอาต่อข้าแล้วข้าก็จะไม่ตอบรับ ก่อนที่พวกเจ้าจะร้องขอสิ่งใดสิ่งหนึ่งจากข้าแล้วข้าก็จะปฏิเสธ และก่อนที่พวกเจ้าจะให้ข้าช่วยเหลือพวกเจ้าแล้วข้าก็จะไม่ช่วย

ท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน
จึงไม่เป็นที่สงสัยเลยว่าเหตุใดดุอาของเราอัลลอฮฺไม่ทรงตอบรับ และเหตุใดพระองค์ไม่ทรงประทานความช่วยเหลือให้แก่เรา เป็นไปได้ว่าเรายังมิได้ทำหน้าที่ดังกล่าวดีพอ
ดังนั้นพี่น้องครับ มาช่วยกันคนละไม้คนละมือ ในการที่จะสร้างสรรค์สังคมของเราให้เป็นสังคมที่น่าอยู่ สังคมที่มีแต่ความสงบสุข ได้โปรดอย่านิ่งเฉยเป็นอันขาด ใครมีความสามารถทำได้แค่ไหนก็ทำแค่นั้น เท่าที่สามารถที่จะทำได้ แล้วในที่สุดเราก็จะได้รับในสิ่งที่อัลลอฮฺได้สัญญาไว้ให้กับเรานั่นก็คือพระองค์จะทรงช่วยเหลือพวกเราและจะตอบรับคำดุอาของพวกเรา ตราบใดที่พวกเราทุกคนต่างเชิญชวนให้มีการทำความดีและห้ามปรามการทำความชั่ว.

 

???? ???? ?? ???? ?? ?????? ?????? ?????? ?????? ??? ??? ?? ?????? ?????? ?????? ????? ??? ????? ?????? ??? ?? ?????? ??????.

 


ชุด คุฏบะฮฺญุมอัต ณ มัสยิดวิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี โดย อัสมัน แตอาลี อาจารย์ประจำภาควิชาอิสลามศึกษา วอศ. มอ.ปัตตานี


Maintained by: e-Daiyah Group (1429 H - 2008).