Loading

 

ตาชั่ง

ตาชั่ง

มวลการสรรเสริญทั้งหลายเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ ขอความศานติและความจำเริญจงประสบแด่ท่านเราะสูลุลลอฮฺข้าพเจ้าขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺองค์เดียวเท่านั้น ไม่มีภาคีใด ๆ สำหรับพระองค์ และข้าพเจ้าขอปฏิญาณว่ามุหัมมัดเป็นบ่าวและเราะสูลของพระองค์

ส่วนหนึ่งจากหลักศรัทธาที่ถูกต้องของอะฮฺลุสสุนนะฮฺ วัลญะมาอะฮฺ คือ การศรัทธาต่อตาชั่ง คำว่าตาชั่งในที่นี้หมายถึง ตาชั่งที่จะใช้ชั่งน้ำหนักการงานที่ดีและชั่วของบ่าวในวันกิยามะฮฺ อัลลอฮฺตะอาลา ตรัสว่า

﴿ وَنَضَعُ ٱلۡمَوَٰزِينَ ٱلۡقِسۡطَ لِيَوۡمِ ٱلۡقِيَٰمَةِ فَلَا تُظۡلَمُ نَفۡسٞ شَيۡ‍ٔٗاۖ وَإِن كَانَ مِثۡقَالَ حَبَّةٖ مِّنۡ خَرۡدَلٍ أَتَيۡنَا بِهَاۗ وَكَفَىٰ بِنَا حَٰسِبِينَ ٤٧ ﴾ [الأنبياء: ٤٧]   

ความว่า “และเราตั้งตาชั่งที่เที่ยงธรรมสำหรับวันกิยามะฮฺ ดังนั้นจะไม่มีชีวิตใดถูกอธรรมเลย และแม้ว่ามันเป็นเพียงน้ำหนักเท่าเมล็ดพืชเล็ก ๆ เราก็จะนำมันมาแสดง และเป็นการพอเพียงแล้วสำหรับเราที่เป็นผู้ชำระสอบสวน” (อัลอันบิยาอ์: 47)

และพระองค์ตรัสอีกว่า

﴿ فَمَن ثَقُلَتۡ مَوَٰزِينُهُۥ فَأُوْلَٰٓئِكَ هُمُ ٱلۡمُفۡلِحُونَ ١٠٢ وَمَنۡ خَفَّتۡ مَوَٰزِينُهُۥ فَأُوْلَٰٓئِكَ ٱلَّذِينَ خَسِرُوٓاْ أَنفُسَهُمۡ فِي جَهَنَّمَ خَٰلِدُونَ ١٠٣ ﴾ [المؤمنون : ١٠٢-  ١٠٣] 

ความว่า “ดังนั้นผู้ใดตาชั่งของเขาหนัก ชนเหล่านั้นก็เป็นผู้ประสบชัยชนะ และผู้ใดตาชั่งของเขาเบา ชนเหล่านั้นคือบรรดาผู้ที่ทำให้ตัวของพวกเขาขาดทุน พวกเขาจะพำนักอยู่ในนรกตลอดกาล” (อัลมุอ์มินูน: 102-103)

มีบันทึกของอัล-บุคอรีย์และมุสลิม รายงานจากอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ ว่า ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

« كَلِمَتَانِ حَبِيْبَتَانِ إِلى الرَّحْمَنِ، خَفِيْفَتَانِ عَلَى اللِّسَانِ، ثَقِيْلَتَانِ فِي الْمِيْزَانِ: سُبْحَانَ اللهِ وَبِحَمْدِهِ، سُبْحَانَ اللهِ الْعَظِيْمِ » [رواه البخاري برقم 7563 ومسلم برقم 2694] 

ความว่า “คำสองคำที่เป็นที่รัก ณ พระผู้ทรงเมตตา น้ำหนักเบาสำหรับลิ้น แต่หนักสำหรับตาชั่ง นั้นคือ ‘สุบหานัลลอฮฺ วะบิหัมดิฮี สุบหานัลลอฮิลอะซีม’ (มหาบริสุทธิ์แด่พระองค์อัลลอฮฺ และมวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ มหาบริสุทธิ์แด่พระองค์อัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งใหญ่)" (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หะดีษเลขที่ 7563 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 2694)

อุละมาอ์กล่าวไว้ว่า ภายหลังเสร็จสิ้นจากการสอบสวนแล้ว จะมีการชั่งน้ำหนักการงาน เนื่องจากการชั่งนั้นมีขึ้นเพื่อจะให้การตอบแทน ดังนั้นจึงจะต้องเกิดขึ้นหลังจากการสอบสวน การสอบสวนนั้นมีขึ้นเพื่อรายงานการงาน และการชั่งนั้นมีขึ้นเพื่อแจ้งจำนวนการงานเหล่านั้น ทั้งนี้เพื่อจะให้การตอบแทนตามจำนวนการงานนั้นเอง ดังที่มีหะดีษกล่าวถึงตาชั่งว่า มีลักษณะเป็นจานสองจานที่สามารถจับต้องและมองเห็นได้

มีบันทึกของอิมามอะหฺมัด รายงานจากอับดุลลอฮฺ อิบนฺ อัมรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

« إِنَّ اللهَ تَعَالَى يَسْتَخْلِصُ رَجُلًا مِنْ أُمَّتِيْ عَلَى رُؤُوْسِ الخَلَائِقِ يَوْمَ الْقِيَامَةِ، فَيَنْشُرُ عَلَيْهِ تِسْعَةً وَتِسْعِيْنَ سِجِلًّا، كُلُّ سِجِلٍّ مَدُّ الْبَصَرِ، ثُمَّ يَقُوْلُ لَهُ : أَتُنْكِرُ مِنْ هَذَا شَيْئاً؟ أَظَلَمَكَ كَتَبَتِي الْحاَفِظُوْنَ؟ قَالَ : لَا يَارَبِّ. فَيَقُوْلُ : أَلَكَ عُذْرٌ أَوْ حَسَنَةٌ؟ فَيُبْهَتُ الرَّجُلُ، فَيَقُوْلُ : لَا يَارَبِّ فَيَقُوْلُ : بَلَى إِنَّ لَكَ عِنْدَنَا حَسَنَةً وَاحِدَةً، لَا ظُلْمَ الْيَوْمَ عَلَيْكَ، فَتُخْرَجُ لَهُ بِطَاقَةٌ، فِيْهَا : أَشْهَدُ أَنْ لَا إِلَهَ إِلَّا اللهُ وَأَنَّ مُحَمَّدًا عَبْدُهُ وَرَسُوْلُهُ؛ فَيَقُوْلُ : أَحْضِرُوْهُ، فَيَقُوْلُ : يَارَبِّ مَا هَذِهِ الْبِطَاقَةُ مَعَ هَذِهِ السِّجِلَّاتِ؟! فَيُقَالُ : إِنَّكَ لَا تُظْلَمُ، قَالَ : فَتُوْضَعُ السِّجِلَّاتُ فِي كِفَّةٍ، قَالَ : فَطَاشَتِ السِّجِلَّاتُ، وَثَقُلَتِ الْبِطَاقَةُ، وَلَا يَثْقُلُ شَيْءٌ بِسْمِ اللهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيْمِ » [مسند الإمام أحمد برقم 6994]

ความว่า “ในวันกิยามะฮฺ อัลลอฮฺตะอาลาจะทรงแยกชายคนหนึ่งจากประชาชาติของฉันมาอยู่ต่อหน้ามวลมนุษยชาติทั้งหมด และเขาก็จะได้รับบันทึกจำนวนเก้าสิบเก้าฉบับ แต่ละฉบับยาวสุดสายตา จากนั้นพระองค์ก็จะตรัสแก่เขาว่า “เจ้ามีข้อโต้แย้งใด ๆ หรือไม่? ผู้บันทึกของข้าได้อธรรมต่อเจ้าหรือไม่?” เขาจึงตอบว่า “ไม่เลย โอ้พระผู้เป็นเจ้าของฉัน” พระองค์จึงตรัสแก่เขาว่า “เจ้ามีข้อแก้ต่างหรือความดีใด ๆ หรือไม่?” ชายคนนั้นจึงกล่าวอย่างผิดหวังว่า “ไม่มีเลย โอ้พระผู้เป็นเจ้าของฉัน” พระองค์จึงตรัสว่า “หามิได้ แท้จริงแล้วเจ้ามีอยู่หนี่งความดี ณ ที่เรานี้ และจะไม่มีการอธรรมใด ๆ แก่เจ้าในวันนี้” จากนั้นจึงมีแผ่นหนังแผ่นหนึ่งบันทึกว่า “อัชฮะดุอันลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ วะอัชฮะดุอันนะมุหัมมะดันอับดุฮูวะเราะสูลุฮฺ” (ข้าพเจ้าขอปฏิญานตนว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ และข้าพเจ้าขอปฏิญานตนว่ามุหัมมัดเป็นบ่าวและเราะสูลของพระองค์) แล้วพระองค์จึงสั่งแก่บรรดามลาอิกะฮฺว่า “เจ้าทั้งหลายจงนำตัวชายคนนี้มา" และชายผู้นั้นก็กล่าวแก่พระองค์ว่า “โอ้พระผู้อภิบาลของฉัน แผ่นหนังเพียงหนึ่งนี้หาเปรียบกับบันทึกอันมากมายเหล่านี้ได้ไม่?!” ทันใดนั้นจะมีผู้กล่าวแก่ชายคนนั้นว่า “แท้จริงเจ้าจะไม่ถูกอธรรม” จากนั้นบันทึกทั้งหมดก็จะถูกวางลงในจานของตาชั่งข้างหนึ่ง และบันทึกเหล่านั้นก็ลอยขึ้นจากน้ำหนักของแผ่นหนังแผ่นนั้น และไม่มีสิ่งใดที่จะมีน้ำหนักมากกว่าพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงกรุณา ผู้ทรงเมตตา“ (มุสนัด อิมาม อะหฺมัด หะดีษเลขที่ 6994)

ผู้ที่เอาอารมณ์เป็นที่ตั้งอาจจะกล่าวว่า “การงานนั้นเป็นนามธรรม ไม่สามารถชั่งน้ำหนักได้ สิ่งที่จะชั่งน้ำหนักได้จะต้องมีรูปร่างจับต้องได้”

คำตอบสำหรับคำกล่าวนั้นคือ “อัลลอฮฺจะทรงทำให้การงานมีรูปร่าง ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับพระปรีชาสามารถของพระองค์ ดังมีตัวอย่างเช่น การที่พระองค์ทำให้ความตายมาในรูปของแกะที่นำมาเชือดระหว่างสวรรค์และนรก ซึ่งความตายก็เป็นนามธรรมและไม่มีรูปร่างเช่นเดียวกัน

ดังมีบันทึกของอัล-บุคอรีย์และมุสลิม จากรายงานของ อบูสะอี๊ด อัลคุดรีย์ เราะฎิยัลลอฮอันฮฺ ว่า ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

« يُجَاءُ بِالْمَوْتِ يَوْمَ الْقِيَامَةِ كَأَنَّهُ كَبْشٌ أَمْلَحُ (زَادَ أَبُوْ كُرَيْبٍ : «فَيُوْقَفُ بَيْنَ الْجَنَّةِ وَالنَّارِ»، وَاتَّفَقَا فِيْ بَاقِي الْحَدِيْثِ) فَيُقَالُ : يَا أَهْلَ الْجَنَّةِ! هَلْ تَعْرِفُوْنَ هَذَا؟ قَالَ : فَيَشْرَئِبُّوْنَ وَيَنْظُرُوْنَ وَيَقُوْلُوْنَ : نَعَمْ، هَذَا الْمَوْتُ، قَالَ فَيُؤْمَرُ بِهِ فَيُذْبَحُ، قَالَ : ثُمَّ قَالَ : يَا أَهْلَ الْجَنَّةِ! خُلُوْدٌ فَلَا مَوْتَ، وَيَا أَهْلَ النَّارِ! خُلُوْدٌ فَلَا مَوْتَ » قَالَ : ثُمَّ قَرَأَ رَسُوْلُ اللهِ صَلَّى اللهُُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : ﴿ وَأَنذِرۡهُمۡ يَوۡمَ ٱلۡحَسۡرَةِ إِذۡ قُضِيَ ٱلۡأَمۡرُ وَهُمۡ فِي غَفۡلَةٖ وَهُمۡ لَا يُؤۡمِنُونَ ٣٩ ﴾ [مريم: ٣٩] وَأَشَارَ بِيَدِهِ إِلَى الدُّنْيَا. [رواه البخاري برقم 3336 ومسلم برقم 2638]

ความว่า “ในวันกิยามะฮฺ ความตายจะถูกนำมาในรูปของแกะสีขาวผสมดำ (อบูกุร็อยบฺกล่าวรายงานเสริมว่า “มันจะถูกนำมายืนอยู่ระหว่างสวรรค์และนรก” ส่วนอื่นของหะดีษนั้นมีรายบันทึกตรงกันทั้งอัล-บุคอรีย์และมุสลิม) จากนั้นก็จะมีเสียงกล่าวว่า “โอ้บรรดาชาวสวรรค์ เจ้าทั้งหลายรู้จักสิ่งนี้หรือไม่?” พวกเขาก็ชะโงกศีรษะมองดูสิ่งนั้น แล้วกล่าวว่า “รู้จักครับ สิ่งนั้นคือความตาย” จากนั้นก็จะมีเสียงกล่าวว่า “โอ้บรรดาชาวนรก เจ้าทั้งหลายรู้จักสิ่งนี้หรือไม่?” พวกเขาก็ชะโงกศีรษะมองดูสิ่งนั้น แล้วกล่าวว่า “รู้จักครับ สิ่งนั้นคือความตาย” จากนั้นจึงมีคำสั่งให้นำมันไปเชือด แล้วมันก็ถูกเชือด และมีเสียงกล่าวว่า “โอ้บรรดาชาวสวรรค์ ความเป็นนิรันดรซึ่งไม่มีความตายอีกต่อไป โอ้บรรดาชาวนรก ความเป็นนิรันดรซึ่งไม่มีความตายอีกต่อไป” จากนั้นท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็อ่านอายะฮฺดังนี้ “และเจ้าจงเตือนสำทับพวกเขาถึงวันแห่งความเสียใจเมื่อกิจการนั้นถูกตัดสิน ในขณะที่พวกเขาอยู่ในความหลงลืม และพวกเขาไม่ศรัทธา” (มัรยัม: 39) จากนั้นท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็ใช้มือของท่านชี้ไปที่ดุนยา” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หะดีษเลขที่ 3336 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 2638)

อาจมีคนกล่าวถามว่า แล้วตาชั่งจะมีประโยชน์อะไร ในเมื่ออัลลอฮฺทรงรอบรู้การงานของบ่าวทั้งดีและชั่วอยู่แล้ว?

ท่าน อิบนุ อบิลอิซ อัลหะนะฟียฺได้กล่าวตอบไว้ว่า “หากแม้ว่าไม่มีหิกมะฮฺอื่นใดสำหรับการชั่งการงานนอกจากการแสดงความเที่ยงธรรมของพระองค์อัลลอฮฺ สุบหานะฮูวะตะอาลา ต่อบ่าวของพระองค์ก็เป็นการเพียงพอแล้ว ทั้งนี้ พระองค์ทรงเลือกที่จะแสดงหลักฐานต่าง ๆ ให้ชัดเจนเพื่อที่จะได้ไม่มีข้ออ้างหรือข้อแก้ตัวใด ๆ และไม่มีผู้ใดชอบที่จะให้อภัยมากไปกว่าพระองค์ ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงส่งบรรดาเราะสูลเพื่อเป็นผู้กล่าวชักชวนและตักเตือน ซึ่งในความเป็นจริงแล้วยังมีหิกมะฮฺอื่น ๆ อีกมากมายที่เราไม่สามารถล่วงรู้ได้” (คำอธิบาย อัลอะกีดะฮฺ อัฏเฏาะหาวิยะฮฺ หน้า 475)

ท่านกุรฏุบียฺกล่าวว่า บ่อน้ำนั้นอยู่ก่อนตาชั่ง และสะพาน (อัศศิรอฏ) นั้นอยู่หลังตาชั่ง (คำอธิบาย อัลอะกีดะฮฺ อัฏเฏาะหาวิยะฮฺ หน้า 475)

ดังกล่าวนี้คือลำดับเหตุการณ์ต่าง ๆ ในวันกิยามะฮฺ

 

......................................................................................

 

แปลโดย : ฟารีด พุกมะหะหมัด

ตรวจทานโดย : อัสรัน นิยมเดชา

คัดลอกจาก : http://IslamHouse.com/741691

 

 

 

 

 

 

Maintained by: e-Daiyah Group (1429 H - 2008).