Loading

 

อัร-ร็อด (การส่งคืนส่วนแบ่งให้ทายาท)

อัร-ร็อด (การส่งคืนส่วนแบ่งให้ทายาท)

 

อัร-ร็อด  คือ  การนำส่วนที่เหลือจากฐานปัญหาให้แก่ผู้มีสิทธิ์รับมรดกแบบส่วนกำหนด

 

สาเหตุของการร็อด   คือ  ลดส่วนแบ่งของกองมรดกและเพิ่มส่วนแบ่งของทายาท ซึ่งตรงข้ามกับการเอาลฺ

 

ผลจากการร็อด  คือ เป็นการเพิ่มส่วนแบ่งให้กับทายาท

 

ผู้ที่ได้รับสิทธิ์จากการร็อด

ผู้มีสิทธิ์รับมรดกแบบส่วนกำหนดทุกคนได้สิทธิ์อัรร็อด (ยกเว้นสามี, ภรรยา, บิดาและปู่)

มีทั้งสิ้นแปดคน คือ ลูกสาว, ลูกสาวของลูกชาย, พี่น้องสาวร่วมบิดามารดา, พี่น้องสาวร่วมบิดา, มารดา, ย่าหรือยาย ,พี่น้องชายร่วมมารดา และพี่น้องสาวร่วมมารดา

 

เงื่อนไขในการร็อด

เงื่อนไขการร็อดมีสามประการ

1.     

ผู้มีสิทธิ์รับมรดกแบบส่วนกำหนดต้องไม่ได้รับมรดกจนหมดสิ้นจากมรดกทั้งหมด เพราะหากมรดกหมดแล้ว ก็จะไม่มีอะไรจะร็อด (ส่งกลับ) ไปให้ผู้อื่นอีก

2.     

ต้องไม่มีผู้มีสิทธิ์รับมรดกแบบส่วนเหลือ(อะเศาะบะฮฺ) เพราะผู้มีสิทธิ์รับมรดกแบบส่วนเหลือจะได้รับส่วนที่เหลือทั้งหมด ดังนั้นก็จะไม่มีอะไรร็อด (ส่งกลับ) ไปให้ผู้อื่นอีก

3.     

ต้องมีผู้มีสิทธิ์รับมรดกแบบส่วนกำหนด

 

ลักษณะปฏิบัติในการร็อด

ผู้มีสิทธิ์รับร็อดนั้น กรณีที่หนึ่ง มีผู้รับมรดกเป็นสามีหรือภรรยาร่วมอยู่ด้วย  และกรณีที่สอง ไม่ได้มีสามีหรือภรรยาร่วมอยู่ด้วย

1.       

หากในปัญหาไม่ได้มีสามีหรือภรรยาร่วมอยู่ด้วย  มีสามลักษณะ

หนึ่ง   มีผู้มีสิทธิ์รับร็อดอยู่ด้วยอย่างน้อยหนึ่งคน   เช่น  ลูกสาว หรือพี่น้องสาวร่วมบิดามารดา, พวกนางก็จะได้รับทรัพย์สมบัติทั้งหมดโดยส่วนกำหนดและด้วยการร็อด

สอง   มีผู้มีสิทธิ์รับร็อดเพียงจำพวกเดียว  เช่น  ลูกสาวหลายคน หรือพี่น้องสาวร่วมบิดามารดาหลายคน พวกนางก็จะได้รับสิทธิ์ทุกคนเท่าๆ กัน เช่น หากผู้ตายทิ้ง  ลูกสาวสามคน   ค่าฐานปัญหาก็คือแบ่งให้กับสามคนเท่าๆ กัน

สาม  มีผู้มีสิทธิ์รับร็อดมากกว่าหนึ่งลักษณะ หากเป็นเช่นนี้  เราก็จะให้สิทธิ์แก่ผู้มีสิทธิ์รับมรดกแบบส่วนกำหนดในสิทธิ์ของเขา และทำให้ปัญหาเหมือนไม่ใช่การร็อด ปัญหาของการร็อดทั้งหมดจะเป็นหกแล้วเราก็รวมค่าฐานปัญหา  เช่น  ผู้ตายทิ้ง ลูกสาวและลูกสาวของลูกชาย ฐานปัญหาคือ (6) แต่จะถูกส่งกลับแบบร็อดเป็น (4)  ลูกสาวมีสิทธิ์หนึ่งส่วนสอง (3)  ลูกสาวของลูกชายมีสิทธิ์หนึ่งส่วนหก (1) และจะมีส่วนที่เหลือ (2) เราก็จะทำให้ค่าฐานปัญหาเปลี่ยนจาก (6) เป็น (4)    ดังนั้นลูกสาวจะได้ (3)โดยส่วนกำหนดและร็อด และลูกสาวของลูกชายได้จะได้ (1) แบบส่วนกำหนดและร็อด

 

2.       

หากในปัญหามีสามีหรือภรรยาร่วมอยู่ด้วย   

สามีหรือภรรยาก็จะได้รับมรดกเท่ากับสิทธิ์ฟัรฎูเดิมเท่านั้น(ไม่มากกว่าหรือน้อยกว่าสิทธิ์ของเขา) และส่วนที่เหลือก็จะถูกแบ่งให้กับผู้มีสิทธิ์รับมรดกแบบส่วนกำหนดอื่นเท่ากับจำนวนของพวกเขา ไม่ว่าพวกเขาจะมีลักษณะเดียว เช่น ลูกสาว หรือหลายคน เช่น ลูกสาวหลายคน หรือมากกว่าหนึ่งลักษณะ  เช่น  มารดาและลูกสาว

 

.......................................................

 

 

แปลโดย : ซอบิร อับดุลกอดิร อูมา

ตรวจทานโดย : ฟัยซอล อับดุลฮาดี

คัดลอกจาก : http://IslamHouse.com/370875

 

 

 

 

Maintained by: e-Daiyah Group (1429 H - 2008).