Loading

 

สิ่งที่ทำให้การงานที่ดีต่างๆ เป็นโมฆะ

สิ่งที่ทำให้การงานที่ดีต่างๆ เป็นโมฆะ

 

มวลการสรรเสริญเป็นเอกสิทธิของอัลลอฮฺ ขอการเจริญพรและความสันติมีแด่ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ข้าขอปฏิญานว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ และมุฮัมหมัดนั้นเป็นบ่าวและศาสนทูตของพระองค์

อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

﴿ إِنَّ ٱلَّذِينَ هُم مِّنۡ خَشۡيَةِ رَبِّهِم مُّشۡفِقُونَ ٥٧ وَٱلَّذِينَ هُم بِ‍َٔايَٰتِ رَبِّهِمۡ يُؤۡمِنُونَ ٥٨ وَٱلَّذِينَ هُم بِرَبِّهِمۡ لَا يُشۡرِكُونَ ٥٩ وَٱلَّذِينَ يُؤۡتُونَ مَآ ءَاتَواْ وَّقُلُوبُهُمۡ وَجِلَةٌ أَنَّهُمۡ إِلَىٰ رَبِّهِمۡ رَٰجِعُونَ ٦٠ أُوْلَٰٓئِكَ يُسَٰرِعُونَ فِي ٱلۡخَيۡرَٰتِ وَهُمۡ لَهَا سَٰبِقُونَ ٦١ ﴾ [المؤمنون: ٥٧-٦١] 

ความว่า “แท้จริง บรรดาผู้ที่พวกเขาเป็นผู้มีจิตใจยำเกรงเนื่องจากความกลัวต่อพระเจ้าของพวกเขา  และบรรดาผู้ที่พวกเขาศรัทธาต่อสัญญาณต่างๆ แห่งพระเจ้าของพวกเขา และบรรดาผู้ที่พวกเขาไม่ตั้งภาคีต่อพระเจ้าของพวกเขา  และบรรดาผู้ที่บริจาคสิ่งที่พวกเขาได้มาโดยที่จิตใจของเขาเปี่ยมได้ด้วยความหวั่นเกรงว่าแท้จริงพวกเขาต้องกลับไปหาพระเจ้าของพวกเขา ชนเหล่านั้น พวกเขารีบเร่งในการประกอบความดีทั้งหลาย และพวกเขาเป็นผู้รุดหน้าไปก่อนในการทำความดีเสมอ”(สูเราะฮฺ อัล-มุอ์มินูน 57-61)

.

รายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา กล่าวว่าแท้จริงฉันได้ถามท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เกี่ยวกับอายะฮฺดังกล่าวข้างต้น “และบรรดาผู้ที่บริจาคสิ่งที่พวกเขาได้มาโดยที่จิตใจของเขาเปี่ยมได้ด้วยความหวั่นเกรง” (อัล-มุอ์มินูน 60) ท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวถามว่า พวกเขาคือผู้ที่ดื่มเหล้า และลักขโมยใช่ไหม? ท่าน นบีตอบว่า

«لَا يَا بِنْتَ الصِّدِّيقِ، وَلَكِنَّهُمْ الَّذِينَ يَصُومُونَ وَيُصَلُّونَ وَيَتَصَدَّقُونَ، وَهُمْ يَخَافُونَ أَنْ لَا يُقْبَلَ مِنْهُمْ، أُولَئِكَ الَّذِينَ يُسَارِعُونَ فِي الْخَيْرَاتِ» [الترمذي برقم 3175]

ความว่า “ไม่ใช่อย่างนั้น โอ้ลูกสาวท่านศิดดีกเอ๋ย  แต่พวกเขาคือผู้ที่ถือศีลอด ละหมาด และจ่ายซะกาต แล้วกลัวว่าการงานเหล่านั้นจะไม่ถูกตอบรับ พวกเขาคือผู้ที่เร่งรีบกันทำความดี” (สุนัน อัต-ติรมิซีย์ 5/327-328 หมายเลข 3175)  

 

บรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านนบีนั้นพร้อมกับๆ ความพยายามอย่างสูงในการทำความดีของพวกเขา แล้ว พวกเขายังมีความกลัวว่าการงานที่ดีต่างๆ ของพวกเขาจะสูญเปล่าและไม่ถูกตอบรับจากอัลลอฮฺ ทั้งนี้ก็เพราะความรอบรู้และความศรัทธามั่นของพวกเขานั่นเอง  ท่านอบู อัด-ดัรดาอ์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าวว่า “หากฉันรู้ว่าอัลลอฮฺตอบรับการละหมาดสองร็อกอัตของฉัน แน่นอนมันเป็นสิ่งที่ฉันชอบยิ่งการกว่าโลกนี้และสิ่งที่อยู่ภายในทั้งหมดเพราะอัลลอฮฺกล่าวว่า.

﴿ إِنَّمَا يَتَقَبَّلُ ٱللَّهُ مِنَ ٱلۡمُتَّقِينَ ٢٧ ﴾ [المائ‍دة: ٢٧] 

ความว่า “แท้จริงอัลลอฮฺจะทรงรับจากหมู่ชนผู้มีความยำเกรงเท่านั้น” (อัล-มาอิดะฮฺ 27)

 

ท่านอับดุลลอฮฺ บิน อบี มุลัยกะฮฺ กล่าวว่า “ฉันได้ทันพบกับเศาะหาบะฮฺของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม สามสิบท่าน ทุกท่านต่างกลัวการกลับกลอก(การเป็นมุนาฟิก)จะเกิดกับตัวเอง ไม่มีใครสักคนที่กล่าวว่า อีมานของฉันเหมือนอีมานของญิบรีลและมีกาอีล อะลัยฮิมัสสะลาม”

สิ่งที่ทำลายการงานที่ดีนั้นมีมากมาย บางส่วนทำลายการงานทั้งหมด เช่น ชิริก(ตั้งภาคี) ริดดะฮฺ (ตกจากศาสนา)  นิฟากอักบัรฺ (การกลับกลอกแบบใหญ่) บางส่วนทำลายเฉพาะการงานนั้นๆ เช่นการลำเลิกในการบริจาค  ในที่นี้เราจะขอกล่าวเพียงห้าสิ่งเท่านั้นเผื่อว่ามันจะเป็นตัวอย่างสู่สิ่งอื่นๆ ได้ด้วยดังนี้

สิ่งแรก  ชิริก (การตั้งภาคี) เป็นตัวทำลายการงานทั้งหมด อัลลอฮฺได้กล่าวแก่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม

﴿ وَلَقَدۡ أُوحِيَ إِلَيۡكَ وَإِلَى ٱلَّذِينَ مِن قَبۡلِكَ لَئِنۡ أَشۡرَكۡتَ لَيَحۡبَطَنَّ عَمَلُكَ وَلَتَكُونَنَّ مِنَ ٱلۡخَٰسِرِينَ ٦٥ ﴾ [الزمر: ٦٥] 

ความว่า “และโดยแน่นอน ได้มีวะฮียฺ(วิวรณ์)มายังเจ้า (มุหัมมัด) และมายังบรรดาคนก่อนหน้าเจ้า ว่าหากเจ้าตั้งภาคี (กับอัลลอฮฺ) แน่นอนการงานของเจ้าก็จะไร้ผล และแน่นอนเจ้าจะอยู่ในหมู่ผู้ขาดทุน” (สูเราะฮฺ อัซ-ซุมัรฺ 65)

 

และอัลลอฮฺได้ตรัสว่า

﴿ وَقَدِمۡنَآ إِلَىٰ مَا عَمِلُواْ مِنۡ عَمَلٖ فَجَعَلۡنَٰهُ هَبَآءٗ مَّنثُورًا ٢٣ ﴾ [الفرقان: ٢٢] 

ความว่า “และเรามุ่งสู่ส่วนหนึ่งของการงานที่พวกเขา(บรรดาผู้ตั้งภาคี)ได้ปฏิบัติไป แล้วเราจะทำให้มันไร้คุณค่ากลายเป็นละอองฝุ่นที่ปลิวว่อน” (สูเราะฮฺ อัล-ฟุรกอน 23) 

 

รายงานจากท่านอบี สะอัด บิน อบี ฟะฎอละฮฺ อัล-อันศอรีย์ ซึ่งเป็นเศาะหาบะฮฺท่านหนึ่งกล่าวว่า ฉันได้ยินท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

«إِذَا جَمَعَ اللَّهُ النَّاسَ يَوْمَ الْقِيَامَةِ لِيَوْمٍ لَا رَيْبَ فِيهِ، نَادَى مُنَادٍ : مَنْ كَانَ أَشْرَكَ فِي عَمَلٍ عَمِلَهُ لِلَّهِ أَحَدًا، فَلْيَطْلُبْ ثَوَابَهُ مِنْ عِنْدِ غَيْرِ اللَّهِ، فَإِنَّ اللَّهَ أَغْنَى الشُّرَكَاءِ عَنْ الشِّرْكِ» [الترمذي برقم 3154]

ความว่า “เมื่ออัลลอฮฺได้รวบรวมมนุษย์ในวันกิยามะฮฺ วันที่ไม่มีการสงสัยใดๆ (ต้องเกิดอย่างแน่นอน) จะมีผู้เรียก เรียกขึ้นว่า “ใครที่เคยตั้งภาคีในการงานหนึ่งที่ทำเพื่ออัลลอฮฺ เขาจงขอผลบุญของมันจากสิ่งอื่นจากอัลลอฮฺ เพราะอัลลอฮฺนั้นทรงมั่งมีเหนือความต้องการต่อภาคีใดๆ ทั้งสิ้น” (สุนัน อัต-ติรมิซีย์ 5/312 หมายเลข 3154)   

 

สิ่งที่สอง ริยาอ์ (การทำดีให้เพื่อผู้อื่นเห็น) ซึ่งมีสองประเภทคือ

ประเภทแรก การมีเจตนาในการทำงานเพื่อสิ่งอื่นจากอัลลอฮฺ นี่คือชิริกใหญ่ที่ทำลายการงานทั้งหมด นักวิชาการบางท่านเรียกว่า การมีภาคีในเจตนา หรือความต้องการ และจุดหมาย อัลลอฮฺตรัสว่า

﴿ مَن كَانَ يُرِيدُ ٱلۡحَيَوٰةَ ٱلدُّنۡيَا وَزِينَتَهَا نُوَفِّ إِلَيۡهِمۡ أَعۡمَٰلَهُمۡ فِيهَا وَهُمۡ فِيهَا لَا يُبۡخَسُونَ ١٥ أُوْلَٰٓئِكَ ٱلَّذِينَ لَيۡسَ لَهُمۡ فِي ٱلۡأٓخِرَةِ إِلَّا ٱلنَّارُۖ وَحَبِطَ مَا صَنَعُواْ فِيهَا وَبَٰطِلٞ مَّا كَانُواْ يَعۡمَلُونَ ١٦ ﴾ [هود: ١٥،  ١٦] 

ความว่า “ผู้ใดปรารถนาการมีชีวิตอยู่ในโลกนี้และความเพริศแพร้วของมัน เราก็จะตอบแทนให้พวกเขาอย่างครบถ้วนซึ่งการงานของพวกเขาในโลกนี้เท่านั้น และพวกเขาจะไม่ถูกริดรอนในการงานนั้นแต่อย่างใด ชนเหล่านั้น พวกเขาจะไม่ได้รับการตอบแทนอันใดในโลกอาคิเราะฮฺอีก นอกจากไฟนรกเท่านั้น และสิ่งที่พวกเขาได้ปฏิบัติไว้ในโลกดุนยาก็จะไร้ผลและสิ่งที่พวกเขาได้กระทำไว้ก็จะสูญเสียไป” (สูเราะฮฺ ฮูด 15-16)

 

ท่านอิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า “คนริยาอ์จะได้รับความดีของเขาในโลกดุนยา นั่นคือเขาจะไม่ถูกอธรรมด้วยการริดรอนใดๆ เลย”  ท่านกล่าวว่า “ใครที่ทำความดีเพื่อหวังโลกดุนยา ไม่ว่าจะเป็นการถือศีลอด การละหมาด และการตะฮัจยุดในยามค่ำคืน เขาทำการงานนั้นไม่ได้หวังสิ่งอื่นใดนอกจากทำเพื่อดุนยา อัลลอฮฺก็จะกล่าวว่า ข้าจะตอบแทนเขาที่เขาทำความดีเพื่อดุนยาด้วยการตอบแทนที่ดี และการงานของเขาที่หวังดุนยาจะเป็นโมฆะ แล้วในวันอาคิเราะฮฺเขาจะเป็นผู้ที่ขาดทุน” (ตัฟซีร อิบนุ กะษีรฺ 439/2)

ประเภทที่สอง คือการที่บุคคลทำเพื่ออัลลอฮฺแล้วระหว่างที่ทำก็เกิดริยาอ์ขึ้น นี่คือชิริกเล็ก

รายงานจากท่านมะหฺมูด บิน ละบีด เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่า แท้จริงท่านเราะสูลุลลอฮฺได้กล่าวว่า

«إِنَّ أَخْوَفَ مَا أَخَافُ عَلَيْكُمْ الشِّرْكُ الْأَصْغَرُ»، قَالُوا: وَمَا الشِّرْكُ الْأَصْغَرُ؟ قَالَ: «الرِّيَاءُ، يَقُولُ اللَّهُ تعالى يَوْمَ الْقِيَامَةِ إِذَا جَازَى النَّاسَ بِأَعْمَالِهِمْ : اذْهَبُوا إِلَى الَّذِينَ كُنْتُمْ تُرَاءُونَ فِي الدُّنْيَا، فَانْظُرُوا هَلْ تَجِدُونَ عِنْدَهُمْ جَزَاءً» [مسند الإمام أحمد 5/428]

ความว่า “สิ่งที่ฉันกลัวที่สุดสำหรับพวกท่านคือชิริกเล็ก” บรรดาเศาะหาบะฮฺถามว่า อะไรคือชิริกเล็ก? ท่านนบีตอบว่า “มันคือการริยาอ์ อัลลอฮฺกล่าวในวันกิยามะฮฺเมื่อจะทรงตอบแทนการงานว่า “พวกเจ้าจงไปหาคนที่พวกเจ้าอยากจะให้เขาเห็นตอนที่อยู่ในดุนยา แล้วดูสิว่าเจ้าจะพบอะไรเป็นการตอบแทน ณ ที่เขาบ้าง”  (มุสนัด อะหฺมัด 5/428)

 

และท่านอบู สะอีด อัล-คุดรียฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้รายงานว่า แท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

«أَلَا أُخْبِرُكُمْ بِمَا هُوَ أَخْوَفُ عَلَيْكُمْ مِنْ الْمَسِيحِ الدَّجَّالِ؟؛ الشِّرْكُ الْخَفِيُّ، أَنْ يَقُومَ الرَّجُلُ فَيُصَلِّي فَيُزَيِّنُ صَلَاتَهُ لِمَا يَرَى مِنْ نَظَرِ رَجُلٍ» [مسند الإمام أحمد 3/30]

ความว่า “จะให้ฉันบอกพวกท่านไหม ในสิ่งที่ฉันกลัวสำหรับพวกท่านมากกว่าดัจญาล? มันคือชิริกเล็ก โดยการที่ชายคนหนึ่งลุกขึ้นมาละหมาดแล้วทำละหมาดของเขาให้สวยงาม(สมบูรณ์แบบ) เนื่องจากเห็นชายคนหนึ่งกำลังดูเขาละหมาดอยู่” (มุสนัด อะหฺมัด 3/30)  

 

อาจมีบุคคลบางส่วนที่มองชิริกประเภทนี้ว่าเป็นสิ่งที่เล็กน้อยเพราะเห็นชื่อว่าเป็นชิริกเล็ก แท้จริงที่เรียกว่าเล็กเพราะมีสิ่งที่ใหญ่กว่า ทั้งๆ ที่มันใหญ่กว่าบาปใหญ่ต่างๆ ด้วยซ้ำ ด้วยเหตุนี้อุละมาอ์จึงกล่าวว่า 

1- แท้จริงชิริกเล็กหากเข้าไปในการงานใดแล้วมันจะทำลายการงานนั้นและทำให้เป็นโมฆะ

2- ชิริกเล็กผู้ที่ทำจะไม่มีการอภัยเลยและไม่ได้อยู่ภายใต้ความประสงค์ของอัลลอฮฺที่จะให้อภัยเหมือนเช่นผู้ที่ทำบาปใหญ่ต่างๆ หากแต่จะถูกลงโทษตามระดับของมัน อัลลอฮฺกล่าวว่า

﴿ إِنَّ ٱللَّهَ لَا يَغۡفِرُ أَن يُشۡرَكَ بِهِۦ وَيَغۡفِرُ مَا دُونَ ذَٰلِكَ لِمَن يَشَآءُۚ ﴾ [النساء: ١١٦] 

ความว่า “แท้จริง อัลลอฮฺจะไม่ทรงอภัยโทษให้แก่การที่สิ่งหนึ่งจะถูกให้เป็นภาคีกับพระองค์ แต่พระองค์จะทรงอภัยโทษให้ซึ่งสิ่งอื่นจากนั้น สำหรับผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์” (สูเราะฮฺ อัน-นิสาอ์ 116) 

 

ดังนั้น วาญิบเหนือมุอ์มินผู้ศรัทธาที่จะต้องระมัดระวังจากชิริกทุกประเภท และต้องกลัวการชิริก แท้จริง นบีอิบรอฮีม อะลัยฮิสสลาม ยังกลัวการชิริก ขณะที่ท่านเป็นถึงผู้นำของบรรดาผู้ให้ความเอกะแก่อัลลอฮฺ ท่านกล่าวขอดุอาอ์ต่ออัลลอฮฺว่า

﴿ وَٱجۡنُبۡنِي وَبَنِيَّ أَن نَّعۡبُدَ ٱلۡأَصۡنَامَ ٣٥ ﴾ [ابراهيم: ٣٥] 

ความว่า “และทรงให้ข้าพระองค์และลูกหลานของข้าพระองค์พ้นจากการบูชาเจว็ดด้วยเถิด” สูเราะฮฺ อิบรอฮีม 35) 

 

ท่านอิบรอฮีม อัต-ตัยมียฺ กล่าวว่า “แล้วจะมีใครที่คิดว่าตัวเองจะปลอดภัยเหนือไปกว่าท่านนบีอิบรอฮีมอีกเล่า?” (ฟัตหุลมะญีด 74)

 

 

'สิ่งที่สาม คือ การลำเลิกและการก่อความเดือดร้อน 

อัลลอฮฺตรัสว่า

﴿ يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ لَا تُبۡطِلُواْ صَدَقَٰتِكُم بِٱلۡمَنِّ وَٱلۡأَذَىٰ﴾ [البقرة: ٢٦٤] 

ความว่า “บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย ! จงอย่าให้บรรดาทานของพวกเจ้าไร้ผล ด้วยการลำเลิก และการก่อความเดือดร้อน(แก่ผู้ที่ท่านบริจาคทานให้)” (สูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ 264) 

 

และอัลลอฮฺตรัสว่า

﴿ ٱلَّذِينَ يُنفِقُونَ أَمۡوَٰلَهُمۡ فِي سَبِيلِ ٱللَّهِ ثُمَّ لَا يُتۡبِعُونَ مَآ أَنفَقُواْ مَنّٗا وَلَآ أَذٗى﴾ [البقرة: ٢٦٢] 

ความว่า “บรรดาผู้บริจาคทรัพย์ของพวกเขาในหนทางของอัลลอฮฺ แล้วพวกเขามิได้ติดตามการที่พวกเขาบริจาคไป ด้วยการลำเลิกบุญคุณและการก่อความเดือดร้อนใดๆ” (สูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ 262)   

 

 

นักกวีกล่าวความว่า

“ถูกทำลายด้วยการลำเลิกซึ่งความดีที่ได้ปฏิบัติ

หาใช่ผู้ใจบุญหากทำดีแล้วกลับมาลำเลิกกัน”

 

รายงานจากท่านอบู ซัรรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่าแท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

«ثَلاَثَةٌ لاَ يُكَلِّمُهُمُ اللَّهُ يَوْمَ الْقِيَامَةِ وَلاَ يَنْظُرُ إِلَيْهِمْ وَلاَ يُزَكِّيهِمْ وَلَهُمْ عَذَابٌ أَلِيمٌ» قَالَ: فَقَرَأَهَا رَسُولُ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- ثَلاَثَ مِرَارٍ. قَالَ أَبُو ذَرٍّ : خَابُوا وَخَسِرُوا مَنْ هُمْ يَا رَسُولَ اللَّهِ؟ قَالَ: «الْمُسْبِلُ وَالْمَنَّانُ وَالْمُنَفِّقُ سِلْعَتَهُ بِالْحَلِفِ الْكَاذِبِ» [مسلم برقم 106]

ความว่า “บุคคลสามประเภทที่อัลลอฮฺจะไม่ทรงตรัสกับเขา จะไม่มองเขา และจะไม่กล่าวชมเชยเขาในวันกิยามะฮฺ และสำหรับเขา จะได้รับการลงโทษที่แสนเจ็บปวด” เขา(อบู ซัรรฺ) กล่าวว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวเช่นนั้นสามครั้ง  อบู ซัรรฺ กล่าวว่า พวกช่างเขาล้มเหลวและขาดทุน พวกเขาเป็นใครกัน โอ้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ?” ท่านกล่าวว่า “ผู้สวมผ้ายาวเลยตาตุ่ม ผู้ลำเลิก  และผู้ที่จ่าย(ขาย)สินค้าของเขาไปด้วยการสาบานที่เป็นเท็จ” (เศาะฮีหฺ มุสลิม 1/102  หมายเลข 106)

 

สิ่งที่สี่  การละทิ้งละหมาดอัศร์

อัลลอฮฺตรัสว่า

﴿ حَٰفِظُواْ عَلَى ٱلصَّلَوَٰتِ وَٱلصَّلَوٰةِ ٱلۡوُسۡطَىٰ﴾ [البقرة: ٢٣٨] 

ความว่า “พวกเจ้าจงรักษาบรรดาละหมาดไว้ และละหมาดที่อยู่กึ่งกลาง” (สูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ 238)

 

มีรายงานจากท่านบุร็อยดะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

«مَنْ تَرَكَ صَلَاةَ الْعَصْرِ حَبِطَ عَمَلُهُ» [البخاري برقم 594]

ความว่า “ใครที่ละทิ้งละหมาดอัศร์ การงานของเขานั้นจะไร้ผล” (เศาะฮีหฺ อัล-บุคอรีย์ 1/200 หมายเลข  594) 

 

สิ่งที่ห้า คือ รีบร้อนเหนืออัลลอฮฺ

รายงานจากท่าน ฎ็อมฎ็อม บิน เญาสิน อัล-ยะมามีย์ กล่าวว่า “ฉันได้เข้าไปในมัสยิดมะดีนะฮฺแล้วมีคนชราคนหนึ่ง ร้องเรียกฉันว่า “โอ้ ยะมามีย์จงมาที่นี่”  ฉันไม่ได้รู้จักเขา ชายชราคนนั้นกล่าวว่า “ท่านอย่ากล่าวแก่ผู้อื่นว่า ขอสาบานด้วยอัลลอฮฺ อัลลอฮฺจะไม่ให้อภัยท่านอีกแล้ว (หรือ) อัลลอฮฺจะไม่ให้ท่านเขาสวรรค์เด็ดขาด” ฉันก็กล่าวว่า “ท่านเป็นใคร ขออัลลอฮฺโปรดเมตตาท่านเถิด?” ชายชราคนนั้นตอบว่า “ฉันคือ อบู ฮุร็อยเราะฮฺ” ท่านฎ็อมฎ็อมกล่าวว่า “แท้จริง คำพูดเช่นนี้ พวกเรามักจะกล่าวแก่คนในครอบครัวหรือภรรยาเมื่อมีการโกรธกัน” เขา(อบูฮุร็อยเราะฮฺ)กล่าวว่า “แท้จริง ฉันได้ยินท่าน เราะสูลลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

«كَانَ رَجُلَانِ فِي بَنِي إِسْرَائِيلَ مُتَحَابَّيْنِ، أَحَدُهُمَا مُجْتَهِدٌ فِي الْعِبَادَةِ، وَالْآخَرُ كَأَنَّهُ يَقُوْلُ مُذْنِبٌ،  فَجَعَلَ يَقُولُ : أَقْصِرْ أَقْصِرْ عَمَّا أَنْتَ فِيْهِ. فَيَقُوْلُ: خَلِّنِي وَرَبِّي، قال: حَتَّى وَجَدَهُ يَوْمًا عَلَى ذَنْبٍ اسْتَعْظَمَهُ، فقال: أَقْصِرْ.  فَقَالَ: خَلِّنِي وَرَبِّي، أَبُعِثْتَ عَلَينَا رَقِيبًا، فَقَالَ: وَاللَّهِ! لَا يَغْفِرُ اللَّهُ لَكَ أَبَدًا، وَلَا يُدْخِلُكَ اللَّهُ الْجَنَّةَ أَبَدًا. قَالَ فَبَعَثَ اللَّهُ إِلَيْهِمَا مَلَكًا فَقَبَضَ أَرْوَاحَهُمَا فَاجْتَمَعَا عِنْدَهُ، فَقَالَ لِلْمُذْنِب : ادْخُلْ الْجَنَّةَ بِرَحْمَتِي، وَقَالَ لِلْآخَرِ : أَتَسْتَطِيْعُ أَنْ تَحْظُرَ عَلَى عَبْدِيْ رَحْمَتِيْ؟ فَقَالَ : لَا يَا رَبّ. قَالّ: اذْهَبُوا بِهِ إِلَى النَّارِ» [شرح السنة : 14، 384، 385،  وصححه الألباني في صحيح وضعيف سنن أبي داود : 4901]

ความว่า “ชายสองคนในหมู่บนี อิสรออีลมีความรักใคร่สนิทสนมกัน คนหนึ่งเป็นคนที่ขยันทำอิบาดะฮฺ ส่วนอีกคนหนึ่งนั้นคล้ายๆ ว่าท่าน(นบี)จะกล่าวว่า เป็นคนทำบาป คนแรกมักจะกล่าวแก่คนที่สองว่า “จงละทิ้ง จงละทิ้ง บาปที่ท่านทำอยู่” ท่านกล่าวว่า แล้วอีกคนก็จะตอบว่า “ปล่อยฉันกับพระเจ้าของฉัน(เถิด)” ท่านเล่าต่อว่า “จนกระทั่งวันหนึ่งชายคนแรกพบว่าเพื่อนของเขากำลังทำบาปหนึ่งซึ่งเขาถือว่าเป็นบาปใหญ่” เขา(ชายที่ดี)ก็กล่าวว่า “จงละทิ้งมันเสีย” เขา(ชายที่ทำบาป)ก็ตอบว่า “ปล่อยฉัน และพระเจ้าของฉัน เขาส่งท่านมาเป็นผู้สอดส่องหรือ?” เขา(ชายที่ดี)ก็กล่าวว่า “ขอสาบานด้วยอัลลอฮฺ อัลลอฮฺจะไม่ให้อภัยท่านอีกแล้ว อัลลอฮฺจะไม่ให้ท่านเขาสวรรค์อีกแล้ว” ท่านนบีกล่าวว่า “แล้วอัลลอฮฺได้ส่งมะลาอิกะฮฺท่านหนึ่งมาหาพวกเขาแล้วปลิดวิญญานของเขาทั้งสอง แล้วทั้งสองก็อยู่ร่วมกัน ณ อัลลอฮฺ อัลลอฮฺก็กล่าวแก่คนทำบาปว่า “ท่านจงเข้าสวรรค์ด้วยความเมตตาของฉัน” แล้วพระองค์กล่าวกับอีกคนว่า “ท่านสามารถขัดขวาง(ห้าม)บ่าวของฉันจากความเมตตาของฉันได้หรือ? เขากล่าวว่า “ไม่ โอ้พระเจ้าของฉัน” อัลลอฮฺกล่าว(แก่บรรดามะลาอิกะฮฺ)ว่า “พวกท่านจงนำเขาไปยังไฟนรก” อบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า “ขอสาบานด้วยผู้ที่ชีวิตฉันอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ เขาได้กล่าวคำที่ทำลายทั้งดุนยาและอาคีเราะฮฺของเขา” (ดู ชัรฮุ อัส-สุนนะฮฺ หน้า 14, 384, 385)

 

 

.............................................................

 

แปลโดย : อิสมาน จารง

ตรวจทานโดย : ซุฟอัม อุษมาน

คัดลอกจาก : http://IslamHouse.com/379415

 

 

 

Maintained by: e-Daiyah Group (1429 H - 2008).