Loading

 

อะญัล(อายุขัย)และริสกี(โชคลาภหรือปัจจัยยังชีพ)

อะญัล(อายุขัย)และริสกี(โชคลาภหรือปัจจัยยังชีพ)

 

มวลการสรรเสริญเป็นเอกสิทธิของอัลลอฮฺ ขอการประทานพรและความสันติมีแด่ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ข้าขอปฏิญานว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ และมุฮัมหมัดนั้นเป็นบ่าวและศาสนทูตของพระองค์

            รายงานจากท่าน อับดุลลอฮฺ บิน มัสอูด เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่าแท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ซึ่งท่านเป็นผู้สัจจริงและผู้ถูกยอมรับว่าสัจจริง ได้กล่าวว่า

« إِنَّ أَحَدَكُمْ يُجْمَعُ خَلْقُهُ فِى بَطْنِ أُمِّهِ أَرْبَعِينَ يَوْمًا، ثُمَّ يَكُونُ مِثْلَ ذَلِكَ عَلَقَةً، ثُمَّ يَكُونُ مِثْلَ ذَلِكَ مُضْغَةً، ثُمَّ يُرْسَلُ الْمَلَكُ فَيَنْفُخُ فِيهِ الرُّوحَ، وَيُؤْمَرُ بِأَرْبَعِ كَلِمَاتٍ : بِكَتْبِ رِزْقِهِ، وَأَجَلِهِ، وَعَمَلِهِ، وَشَقِىٌّ أَوْ سَعِيدٌ» [البخاري برقم 7454، ومسلم برقم 2631]

ความว่า “แท้จริงแต่ละคนในหมู่พวกท่าน จะถูกรวมใน(ช่วงแรกเริ่ม)การกำเนิดของเขาในครรภ์มารดาเป็นระยะเวลา 40 วัน  หลังจากนั้น มันก็กลายเป็นก้อนเลือด(ในระยะเวลา)เช่นเดียวกัน(คือ 40 วัน)   หลังจากนั้นมันกลายเป็นก้อนเนื้อ(ในระยะเวลา) เช่นเดียวกัน(คือ 40วัน)   แล้ว มะลาอิกะฮฺก็จะถูกส่งมาเพื่อทำการเป่าวิญญาณใส่เข้าไป และถูกบัญชาให้บันทึก 4 ประการ  คือบันทึก(จำนวน)ปัจจัยยังชีพ(ริสกี)ของเขา  อายุขัย(ระยะเวลาการมีชีวิต)ของเขา การงานของเขา และบันทึกว่าเขาเป็นคนโชคร้ายหรือโชคดี“ (อัล-บุคอรีย์ เล่มที่ 4 หน้าที่ 396 หะดีษหมายเลข 7454 และมุสลิม เล่มที่ 4 หน้าที่ 2036 หะดีษหมายเลข 2631)

 

ในหะดีษบทนี้มีเรื่องที่เร้นลับสี่อย่างที่วาญิบจำเป็นจะต้องศรัทธาและเชื่อมั่นในความเป็นจริงของมัน ในที่นี้จะขอกล่าวเพียงสองอย่างนั้นคือ อายุขัยและริสกี

            หลักฐานจากอัลกุรอานและสุนนะฮฺได้บ่งบอกว่าอัลลออฮฺได้กำหนดอะญัล(อายุขัย)และริสกี(ปัจจัยยังชีพ)ไว้แล้ว ดังนั้น ความพยายามของผู้ที่พยายามจึงไม่อาจจะเพิ่มทั้งสองสิ่งนี้ได้ และความรังเกียจของผู้ที่รังเกียจก็ไม่อาจจะปฏิเสธมันได้

            รายงานจากท่าน อับดุลลอฮฺ บิน อัมร์ บิน อัล-อาศ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ว่าแท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

«كَتَبَ اللَّهُ مَقَادِيرَ الْخَلاَئِقِ قَبْلَ أَنْ يَخْلُقَ السَّمَوَاتِ وَالأَرْضَ بِخَمْسِينَ أَلْفَ سَنَةٍ - قَالَ - وَعَرْشُهُ عَلَى الْمَاءِ» [مسلم برقم 2652]

ความว่า “อัลลอฮฺได้เขียนกำหนดการต่างๆ ให้แก่สรรพสิ่งต่างๆ ก่อนที่จะทรงสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดินถึงห้าหมื่นปี” แล้วท่านนบีกล่าวต่อความว่า “และบัลลังค์ของอัลลอฮฺนั้นอยู่เหนือน้ำ“ (มุสลิม เล่มที่ 4 หน้าที่ 2044 หะดีษหมายเลข 2652)

           

แท้จริง อัลลอฮฺได้เน้นย้ำความจริงนี้ในหลายๆ อายะฮฺในคัมภีร์ของพระองค์ อัลลอฮฺตรัสว่า

﴿ وَمَا كَانَ لِنَفۡسٍ أَن تَمُوتَ إِلَّا بِإِذۡنِ ٱللَّهِ كِتَٰبٗا مُّؤَجَّلٗاۗ وَمَن يُرِدۡ ثَوَابَ ٱلدُّنۡيَا نُؤۡتِهِۦ مِنۡهَا وَمَن يُرِدۡ ثَوَابَ ٱلۡأٓخِرَةِ نُؤۡتِهِۦ مِنۡهَاۚ وَسَنَجۡزِي ٱلشَّٰكِرِينَ ١٤٥ ﴾ [آل عمران: ١٤٥]

ความว่า “และชีวิตหนึ่งชีวิตใดย่อมจะไม่ตายนอกจากด้วยอนุมัติของอัลลอฮฺเท่านั้น ทั้งนี้เป็นลิขิตที่ถูกกำหนดไว้แล้ว และผู้ใดต้องการผลตอบแทนในโลกนี้ เราก็จะให้แก่เขาจากโลกนี้ และผู้ใดต้องการผลตอบแทนในปรโลก เราก็จะให้แก่เขาจากปรโลกและจะตอบแทนแก่ผู้กตัญญูทั้งหลาย“ (สูเราะฮฺ อาล อิมรอน 145)  

 

และอัลลอฮฺตรัสว่า

﴿ وَلِكُلِّ أُمَّةٍ أَجَلٞۖ فَإِذَا جَآءَ أَجَلُهُمۡ لَا يَسۡتَأۡخِرُونَ سَاعَةٗ وَلَا يَسۡتَقۡدِمُونَ ٣٤ ﴾ [الأعراف: ٣٤] 

ความว่า “และสำหรับแต่ละประชาชาตินั้นมีกำหนดเวลาหนึ่ง ครั้นเมื่อกำหนดเวลาของพวกเขามาถึงแล้ว พวกเขาไม่อาจจะขอให้ล่าช้าไปสักชั่วโมงหนึ่งได้ และพวกเขาไม่อาจจะขอให้เร็วขึ้น(สักหนึ่งชั่วโมง)ได้“ (สูเราะฮฺ อัล-อะอฺรอฟ 34 )

           

พวกมุนาฟิกีนบางส่วนคิดไปว่าการที่เขาไม่เข้าร่วมสู้รบในหนทางของอัลลอฮฺ และความขลาดของพวกเขาในการเผชิญหน้ากับสัตรู จะเป็นเกราะป้องกันพวกเขาจากความตาย อัลลอฮฺได้ตัดความหวังที่เป็นเท็จนั้น ด้วยการตรัสว่า

﴿يَقُولُونَ لَوۡ كَانَ لَنَا مِنَ ٱلۡأَمۡرِ شَيۡءٞ مَّا قُتِلۡنَا هَٰهُنَاۗ قُل لَّوۡ كُنتُمۡ فِي بُيُوتِكُمۡ لَبَرَزَ ٱلَّذِينَ كُتِبَ عَلَيۡهِمُ ٱلۡقَتۡلُ إِلَىٰ مَضَاجِعِهِمۡۖ وَلِيَبۡتَلِيَ ٱللَّهُ مَا فِي صُدُورِكُمۡ وَلِيُمَحِّصَ مَا فِي قُلُوبِكُمۡۚ وَٱللَّهُ عَلِيمُۢ بِذَاتِ ٱلصُّدُورِ ١٥٤ ﴾ [آل عمران: ١٥٤] 

ความว่า “พวกเขากล่าวว่า หากปรากฏว่ามีสิ่งหนึ่งสิ่งใดจากกิจการนั้นเป็นสิทธิของเราแล้วไซร้ พวกเราก็จะไม่ถูกฆ่าตายที่นี่  จงกล่าวเถิด (มุหัมมัด) ว่า แม้ว่าพวกท่านจะอยู่ในบ้านของพวกท่านก็ตาม แน่นอนบรรดาผู้ที่การฆ่าได้ถูกกำหนดให้แก่พวกเขา ก็จะออกไปฆ่าถึงที่นอนของพวกเขา และเพื่อที่อัลลอฮฺจะทรงทดสอบสิ่งที่อยู่ในหัวอกของพวกเจ้า และอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงรอบรู้สิ่งที่อยู่ในหัวอกทั้งหลาย“ (สูเราะฮฺ อาลอิมรอน 154) 

 

ด้วยเหตุนี้ ข้อเท็จจริงที่เราเห็นก็คือว่า ในสงครามต่างๆ นั้นผู้ที่ถูกฆ่าตายขณะที่หนีทัพนั้นมีมากกว่าผู้ที่ตายขณะที่มุ่งหน้าเข้าประจัญบานกับศัตรูหลายเท่าทีเดียว นักกวีกล่าวความว่า

            “เมื่อฉันถอยในการเผชิญชีวิต ฉันพบว่าไม่มีชีวิต(ที่ดี)สำหรับฉันเท่ากับการที่ฉันเดินหน้า”

 

เช่นเดียวกันกับเรื่องริสกีหรือปัจจัยยังชีพ เพราะสิ่งที่ถูกกำหนดให้กับบ่าวนั้น เขาจะได้รับมันอย่างปฏิเสธไม่ได้ อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

﴿ ۞وَمَا مِن دَآبَّةٖ فِي ٱلۡأَرۡضِ إِلَّا عَلَى ٱللَّهِ رِزۡقُهَا وَيَعۡلَمُ ُسۡتَقَرَّهَا وَمُسۡتَوۡدَعَهَاۚ كُلّٞ فِي كِتَٰبٖ مُّبِينٖ ٦ ﴾ [هود: ٦] 

ความว่า “และไม่ว่าสัตว์ตัวใดที่เหยียบย่ำอยู่ในแผ่นดิน เว้นแต่เครื่องยังชีพของมันเป็นหน้าที่ของอัลลอฮฺ(ที่จะทรงกำหนดให้) และพระองค์ทรงรู้ที่พำนักของมันและที่พักชั่วคราวของมัน ทุกสิ่งอยู่ในบันทึกอันชัดแจ้ง“ (สูเราะฮฺ ฮูด 6)

 

และอัลลอฮฺได้ตรัสว่า

﴿ وَفِي ٱلسَّمَآءِ رِزۡقُكُمۡ وَمَا تُوعَدُونَ ٢٢ فَوَرَبِّ ٱلسَّمَآءِ وَٱلۡأَرۡضِ إِنَّهُۥ لَحَقّٞ مِّثۡلَ مَآ أَنَّكُمۡ تَنطِقُونَ ٢٣ ﴾ [الذاريات: ٢٢،  ٢٣] 

ความว่า “และในฟากฟ้านั้นมีปัจจัยยังชีพของพวกเจ้า และสิ่งที่พวกเจ้าถูกสัญญาไว้  ดังนั้น จึงขอสาบานต่อพระเจ้าแห่งชั้นฟ้าและแผ่นดินนี้ว่า แท้จริง (สิ่งที่ถูกสัญญาไว้นั้น) เป็นความจริงอย่างแน่นอน เสมือนกับที่พวกเจ้าสนทนากัน“ (สูเราะฮฺ อัซ-ซาริยาต 22-23)

 

มีรายงานจากท่าน อบู อุมามะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่าแท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

«إِنَّ رُوْحَ القُدُسِ نَفَثَ فِيْ رُوْعِيْ أَنَّ نَفْسًا لَنْ تَمُوْتَ حَتَّى تَسْتَكْمِلَ أَجَلَهَا، وَتَسْتَوْعِبَ رِزْقَهَا، فَاتَّقُوا اللهَ وَأَجْمِلُوْا فِيْ الطَّلَبِ، وَلَا يَحْمِلَنَّ أَحَدَكُمْ اسْتِبْطَاءُ الرِّزْقِ أَنْ يَطْلُبَهُ بِمَعْصِيَةِ اللهَ، فَإِنَّ اللهَ تَعَالَى لَا يُنَالُ مَا عِنْدَهُ إِلَّا بِطَاعَتِهِ» [حلية الأولياء 10/28، وصححه الألباني في صحيح الجامع الصغير برقم 2085]

ความว่า “แท้จริง วิญญาณบริสุทธิ์(ญิบรีล)ได้ใส่วะหฺยูมายังฉันว่า แท้จริงชีวิต(คนๆ)หนึ่งจะไม่ตายจนกว่าจะครบอายุขัยที่ถูกกำหนดให้แก่เขา(อะญัล) และใช้ริสกีที่ถูกกำหนดให้จนหมด ดังนั้น พวกท่านจงเกรงกลัวอัลลอฮฺ และจงหามา(ริสกี)ด้วยวิธีที่ดี(ถูกหลักศาสนา) อย่าให้การล่าช้าในการได้ริสกี ทำให้คนใดในหมู่พวกท่านหามันมาด้วยวิธีที่บาป เพราะแท้จริง อัลลอฮฺตะอาลานั้น ไม่มีใครที่สมควรได้สิ่งที่อยู่ ณ พระองค์ยกเว้นด้วยการภักดีต่อพระองค์เท่านั้น” (หิลยะตุลเอาลิยาอ์ 10/28 เชค อัล-อัลบานีย์วินิจฉัยว่าเศาะฮีหฺในเศาะฮีหฺ อัล-ญามิอฺ อัศ-เศาะฆีรฺ 1/420 หมายเลข 2085)

 

ดังนั้น สิ่งที่ถูกกำหนดสำหรับบ่าวเกี่ยวกับริสกีและอายุขัยนั้น เขาจะได้ใช้มันจนหมดก่อนที่เขาจะสิ้นชีวิตลง รายงานจากท่าน ญาบิรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่า แท้จริงท่านบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

«لَوْ أَنَّ ابْنَ آدَمَ فَرَّ مِنْ رِزْقِهِ كَمَا يَفِرُّ مِنَ الْمَوْتِ لَأَدْرَكَهُ رِزْقُهُ كَمَا يُدْرِكُهُ الْمَوْتُ» [حلية الأولياء 7/90، وصححه الألباني كما في السلسلة الصحيحة برقم 752]

ความว่า “หากลูกหลานอาดัม(มนุษย์)วิ่งหนีจากริสกีของเขาเหมือนกับที่เขาวิ่งหนีความตาย แน่แท้ว่า ริสกีของเขาก็จะมาถึงตัวเขาเหมือนเช่นความตายที่ย่อมจะมาถึงตัวเขาแน่นอน” (หิลยะตุลเอาลิยาอ์ 7/90 เชค อัล-อัลบานีย์ตัดสินว่าเศาะฮีหฺในอัส-สิลสิละฮฺ อัศ-เศาะฮีหะฮฺ 1/672 หมายเลข 752)

 

จงพิจารณาหะดีษที่เกี่ยวข้องกับมารยาทการขอดุอาอ์บทนี้ซึ่งมาสนับสนุนข้อเท็จจริงดังกล่าวว่า

รายงานจากท่านหญิง อุมมุ หะบีบะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ว่า นางได้กล่าว(ดุอาอ์)ว่า “โอ้อัลลอฮฺขอให้ฉันได้มีความสุข(นานๆ)กับสามีของฉัน ท่านเราะสูลุลลอฮฺ พ่อของฉัน อบู สุฟยาน และพี่ชายของฉัน มุอาวิยะฮฺ” ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวแก่นางว่า

«لَقَدْ سَأَلْتِ اللَّهَ لآجَالٍ مَضْرُوبَةٍ، وَآثَارٍ مَوْطُوءَةٍ، وَأَرْزَاقٍ مَقْسُومَةٍ، لاَ يُعَجِّلُ شَيْئًا مِنْهَا قَبْلَ حِلِّهِ، وَلاَ يُؤَخِّرُ مِنْهَا شَيْئًا بَعْدَ حِلِّهِ، وَلَوْ سَأَلْتِ اللَّهَ أَنْ يُعَافِيَكِ مِنْ عَذَابٍ فِى النَّارِ وَعَذَابٍ فِى الْقَبْرِ لَكَانَ خَيْرًا لَكِ» [مسلم برقم 2663]

ความว่า “แท้จริง เธอได้ขอจากอัลลอฮฺในอายุขัยที่ถูกกำหนดไว้แล้ว รอยเท้าที่ถูกย่ำเดินแล้ว(เดินตามสิ่งถูกกำหนดไว้แล้ว) และริสกีที่ถูกแบ่งปันเรียบร้อยแล้ว ไม่อาจจะรีบเร่งสิ่งใดก่อนถึงเวลาของมัน และไม่อาจทำให้สิ่งใดล่าช้าลงหลังจากที่ถึงเวลาของมัน ถ้าหากว่าเธอขอให้ปลอดภัยจากการลงโทษในไฟนรก และการลงโทษในสุสาน นั่นย่อมดีจะกว่าสำหรับเธอเสียอีก“ (เศาะฮีหฺ มุสลิม เล่มที่ 4 หน้าที่ 2051 หะดีษหมายเลข 2663)

 

จากสิ่งที่ผ่านมาประจักษ์ชัดซึ่งสิ่งต่อไปนี้

 

สิ่งแรก การศรัทธามั่นว่าอายุขัยและริสกีนั้นถูกจัดสรรแบ่งปันเรียบร้อยและเป็นที่รู้แจ้งแล้ว ไม่อาจเร่งรีบโดยผู้ที่ต้องการเร่งรีบ และไม่อาจปฏิเสธทั้งสองโดยความเกลียดชังของผู้ที่เกลียดชังได้

 

สิ่งที่สอง ข้อเท็จจริงข้างต้นนี้ไม่ได้ปิดกั้นหรือปฏิเสธการทำตามมูลเหตุ(อัสบาบ) ที่อัลลอฮฺได้บัญญัติให้ยึดถือปฏิบัติ อัลลอฮฺตะอาลาได้ตรัสว่า

﴿ وَأَنفِقُواْ فِي سَبِيلِ ٱللَّهِ وَلَا تُلۡقُواْ بِأَيۡدِيكُمۡ إِلَى ٱلتَّهۡلُكَةِ وَأَحۡسِنُوٓاْۚ إِنَّ ٱللَّهَ يُحِبُّ ٱلۡمُحۡسِنِينَ ١٩٥ ﴾ [البقرة: ١٩٥] 

ความว่า “และพวกเจ้าจงบริจาคในทางของอัลลอฮฺและจงอย่าโยนตัวของพวกเจ้าสู่ความพินาศ และจงทำดีเถิด แท้จริงอัลลอฮฺนั้นทรงชอบผู้กระทำดีทั้งหลาย” (สูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ 195)

 

สิ่งที่สาม จากหะดีษ อบู อุมามะฮฺ ที่ผ่านมาส่งสัญญาณถึงสองประการคือ

ประการแรก บ่าวจะต้องดำเนินการหาปัจจัยยังชีพที่หะลาล และหลีกเลี่ยงปัจจัยยังชีพที่หะรอม และมูลเหตุหรืออัสบาบที่นำสู่สิ่งที่หะรอม

ประการที่สอง ต้องไม่ขวนขวายหาปัจจัยยังชีพด้วยความตะกละและละโมบ พึงรำลึกถึงคำพูดของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ที่ว่า

«مَنْ كَانَتْ الْآخِرَةُ هَمَّهُ؛ جَعَلَ اللَّهُ غِنَاهُ فِي قَلْبِهِ، وَجَمَعَ لَهُ شَمْلَهُ وَأَتَتْهُ الدُّنْيَا وَهِيَ رَاغِمَةٌ، وَمَنْ كَانَتْ الدُّنْيَا هَمَّهُ؛ جَعَلَ اللَّهُ فَقْرَهُ بَيْنَ عَيْنَيْهِ، وَفَرَّقَ عَلَيْهِ شَمْلَهُ، وَلَمْ يَأْتِهِ مِنْ الدُّنْيَا إِلَّا مَا قُدِّرَ لَهُ» [الترمذي برقم 2465، وصححه الألباني كما في صحيح الجامع الصغير برقم 6516]

ความว่า “ผู้ใดที่อาคิเราะฮฺ คือสิ่งที่เขาปรารถนาและมุ่งมั่นง่วนอยู่กับมัน อัลลอฮฺจะให้ความร่ำรวยอยู่ในใจของเขา ทรงรวบรวมสำหรับเขาซึ่งงานต่างๆ(คือให้เกิดความสะดวกและง่ายสำหรับเขา) และดุนยา(สิ่งต่างๆ)จะมาหาเขาโดยที่มันถูกบังคับให้มาหา(คือได้มาด้วยความง่าย)  และผู้ใดที่ดุนยาคือสิ่งที่เขาปรารถนาและมุ่งมั่นขวนขวายง่วนอยู่กับมัน อัลลอฮฺจะให้ความยากจนอยู่ต่อหน้าเขา ทรงให้สิ่งที่รวมอยู่แยกกระจัดกระจายจากเขา(คือทำให้ยุ่งยาก) เขาจะไม่ได้รับดุนยายกเว้นเท่าที่ถูกกำหนดให้เขาไว้แล้วเท่านั้น“ (สุนัน อัต-ติรมิซีย์ 4/642  หมายเลข 2465 เชค อัล-อัลบานีย์ตัดสินว่าเศาะฮีหฺในเศาะฮีหฺ อัล-ญามิอฺ อัศ-เศาะฆีรฺ 2/1111 หมายเลข 6516)

 

สิ่งที่สี่  อัสบาบหรือปัจจัยมูลเหตุที่จะนำมาซึ่งริสกีและใช้ปกป้องสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ต่างๆ นั้นมีอยู่มากมายนี้คือส่วนหนึ่ง

1- อัต ตะวักกุล (การมอบหมายตนต่ออัลลอฮฺ) รายงานจากท่าน อุมัร บิน อัล-ค๊อฏฏอบ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่าแท้จริงท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม  ได้กล่าวว่า

«لَوْ أَنَّكُمْ تَتَوَكَّلُونَ عَلَى اللَّهِ حَقَّ تَوَكُّلِهِ، لَرَزَقَكُمْ كَمَا يُرْزَقُ الطَّيْرُ، تَغْدُو خِمَاصًا وَتَرُوحُ بِطَانًا» [مسند أحمد 1/30]

ความว่า “หากพวกท่านมอบหมายตนต่ออัลลอฮฺอย่างแท้จริงแล้ว แน่นอนพวกท่านจะถูกให้ริสกี(ปัจจัยยังชีพ)เช่นเดียวกับนกที่ถูกให้ริสกี โดยที่มันบินออกไปในตอนเช้าในสภาพที่ท้องว่างและกลับมาในตอนเย็นในสภาพที่ท้องอิ่ม” (มุสนัดอิมาม อะหฺมัด 1/30)

 

2- ธำรงมั่นอยู่บนศาสนาของอัลลอฮฺ อัซซะวะญัลลา อัลลอฮฺตรัสว่า

﴿ وَأَلَّوِ ٱسۡتَقَٰمُواْ عَلَى ٱلطَّرِيقَةِ لَأَسۡقَيۡنَٰهُم مَّآءً غَدَقٗا ١٦ ﴾ [الجن: ١٦] 

ความว่า “และหากพวกเขาธำรงมั่นอยู่บนแนวทางที่เที่ยงธรรม แน่นอนเราก็จะให้พวกเขามีริสกีกว้างขวาง“ (สูเราะฮฺ อัล-ญิน 16)

 

﴿وَمَن يَتَّقِ ٱللَّهَ يَجۡعَل لَّهُۥ مَخۡرَجٗا ٢ وَيَرۡزُقۡهُ مِنۡ حَيۡثُ لَا يَحۡتَسِبُۚ ﴾ [الطلاق: ٢- ٣] 

ความว่า “และผู้ใดยำเกรงอัลลอฮฺ พระองค์ก็จะทรงหาทางออกให้แก่เขา และจะทรงประทานปัจจัยยังชีพแก่เขาจากที่ที่เขามิได้คาดคิด“ (สูเราะฮฺ อัฏ-เฏาะลาก 2-3)

﴿ وَلَوۡ أَنَّ أَهۡلَ ٱلۡقُرَىٰٓ ءَامَنُواْ وَٱتَّقَوۡاْ لَفَتَحۡنَا عَلَيۡهِم بَرَكَٰتٖ مِّنَ ٱلسَّمَآءِ وَٱلۡأَرۡضِ﴾ [الأعراف: ٩٦] 

ความว่า “และหากว่าชาวเมืองนั้นได้ศรัทธากันและมีความยำเกรงแล้วไซร้ แน่นอนเราก็จะเปิดให้แก่พวกเขา ซึ่งบรรดาความเพิ่มพูนจากฟากฟ้าและแผ่นดิน“ (สูเราะฮฺ อัล-อะอฺรอฟ 96)

 

            3- รักษาการขออภัยโทษ(อิสติฆฟารฺ)และการขอลุแก่โทษ(เตาบะฮฺ)อย่างสม่ำเสมอเป็นนิจสิน อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

﴿ فَقُلۡتُ ٱسۡتَغۡفِرُواْ رَبَّكُمۡ إِنَّهُۥ كَانَ غَفَّارٗا ١٠ يُرۡسِلِ ٱلسَّمَآءَ عَلَيۡكُم مِّدۡرَارٗا ١١ وَيُمۡدِدۡكُم بِأَمۡوَٰلٖ وَبَنِينَ وَيَجۡعَل لَّكُمۡ جَنَّٰتٖ وَيَجۡعَل لَّكُمۡ أَنۡهَٰرٗا ١٢ ﴾ [نوح: ١٠-١٢] 

ความว่า “ข้าพระองค์(นบีนูหฺ)ได้กล่าวว่า พวกท่านจงขออภัยโทษต่อพระเจ้าของพวกท่านเถิด เพราะแท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงอภัยโทษอย่างแท้จริง พระองค์จะทรงหลั่งน้ำฝนอย่างมากมายแก่พวกท่าน และพระองค์จะทรงเพิ่มพูนทรัพย์สินและลูกหลานแก่พวกท่าน และจะทรงทำให้มีสวนมากหลายแก่พวกท่าน และจะทรงทำให้มีลำน้ำมากหลายแก่พวกท่าน“ (สูเราะฮฺ นูหฺ 10-12)

4- เชื่อมสัมพันธ์เครือญาติ  รายงานจากท่าน อะนัส บิน มาลิก เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่าแท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม  ได้กล่าวว่า

«مَنْ أَحَبَّ أَنْ يُبْسَطَ لَهُ فِى رِزْقِهِ وَيُنْسَأَ لَهُ فِى أَثَرِهِ؛ فَلْيَصِلْ رَحِمَهُ» [مسلم برقم 2557]

ความว่า “ผู้ใดที่ประสงค์จะให้เกิดความสะดวกในปัจจัยยังชีพและมีอายุยืน เขาก็จงผูกสัมพันธไมตรีกับเครือญาติของเขา“ (บันทึกโดยมุสลิม 4/1982 หมายเลขหะดีษ 2557)

 

 

 

..........................................................................

 

แปลโดย : อิสมาน จารง

ตรวจทานโดย : ซุฟอัม อุษมาน

คัดลอกจาก : http://IslamHouse.com/380242

 

 

 

Maintained by: e-Daiyah Group (1429 H - 2008).